กฎประตูทีมเยือน

กฎกีฬาเพื่อตัดสินหาผู้ชนะเมื่อมีแต้มเสมอ
(เปลี่ยนทางจาก กฏประตูทีมเยือน)

กฎการยิงประตูทีมเยือน (อังกฤษ: Away goals rule) เริ่มใช้ครั้งแรกในฟุตบอลคัพ วินเนอร์ คัพ ฤดูกาล 1965-1966 เนื่องจากทางยูฟ่าเห็นว่าทีมที่เล่นเป็นทีมเยือนเอาแต่อุดประตูไม่ยอมบุกยิงประตูฝ่ายตรงข้าม กฎนี้จึงบัญญัติขึ้นเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ทีมเยือนเป็นฝ่ายบุกบ้างไม่ใช่เอาแต่ตั้งรับอย่างเดียว กฎนี้มีอยู่ในการแข่งฟุตบอลที่แบ่งเป็นสองเลกที่มีทั้งนัดเหย้าและนัดเยือน และจะถูกนำมาใช้เมื่อผลการแข่งรวมทั้งสองนัดมีผลเสมอกัน ถ้าทีมไหนยิงในบ้านอีกฝ่ายได้เยอะกว่าจะเป็นผู้ชนะ

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2021 ยูฟ่าอนุมัติให้ยกเลิกกฎประตูทีมเยือนในการแข่งขันระดับสโมสรของยูฟ่าทั้งหมดตั้งแต่ฤดูกาล 2021–2022[1]

ตัวอย่าง แก้

รอบรองชนะเลิศ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2002-2003 นัดแรก มิลาน เสมอ อินเตอร์ ในเกมที่มิลานได้สิทธิ์เป็นเจ้าบ้าน 0-0 นัดสองสิทธิ์ในการเป็นเจ้าบ้านคือ อินเตอร์ คู่นี้จบด้วยผลเสมอ 1-1 รวมผลสองนัดเสมอ 1-1 แต่มิลานได้เข้ารอบเพราะยิงได้ในเกมที่อินเตอร์ได้สิทธิ์เป็นเจ้าบ้าน ถึงแม้จะเล่นที่ซาน ซีโร่ เหมือนกันก็เถอะ

อีกตัวอย่าง รอบ 8 ทีม ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2009-2010 นัดแรก บาเยิร์น มิวนิก ชนะ แมนยู ที่เยอรมัน 2-1 นัดสอง บาเยิร์น มิวนิก แพ้ แมนยู ที่อังกฤษ 2-3 รวมผลสองนัดเสมอ 4-4 แต่บาเยิร์นได้เข้ารอบเพราะยิงแมนยูได้ที่อังกฤษ 2 ลูก แต่แมนยูยิงที่เยอรมันได้แค่ลูกเดียว

สรุป แก้

สรุปรูปแบบต่าง ๆ และตัวอย่างการแข่งขันปัจจุบันที่ใช้กฎประตูทีมเยือนสำหรับการเสมอกันสองเลก ในตัวอย่างส่วนใหญ่ในตารางด้านล่าง การดวลลูกโทษใช้เพื่อตัดสินผู้ชนะหากเกณฑ์ทั้งหมดที่ใช้ยังคงเสมอกัน

การใช้กฎประตูทีมเยือนเมื่อคะแนนรวมของเลกที่สอง
ใช้กฎประตูทีมเยือนหลังหมดเวลา? เล่นช่วงต่อเวลาพิเศษ? ใช้กฎประตูทีมเยือนหลังต่อเวลาพิเศษ? ตัวอย่างการใช้งาน
ใช่ ใช่ ใช่ ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
ใช่ ใช่ ไม่ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และ เอเอฟซีคัพ
ใช่ ไม่ ซีเอเอฟแชมเปียนส์ลีก และ ซีเอเอฟคอนเฟเดอเรชันคัพ
คอนคาแคฟแชมเปียนส์ลีก

อ้างอิง แก้

  1. "Abolition of the away goals rule in all UEFA club competitions". UEFA.com. 24 June 2021.