ปลาซิวข้างขวานใหญ่

(เปลี่ยนทางจาก Trigonostigma heteromorpha)

ปลาซิวข้างขวานใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Trigonostigma heteromorpha) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่งจำพวกปลาซิว อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)[2] มีลักษณะลำตัวแบนข้างกว่าปลาซิวทั่วไป หัวและตาโต ปากเล็กและไม่มีหนวด ลำตัวสีส้มแดงเหลือบชมพูหรือม่วง ลำตัวช่วงกลางจนถึงโคนหางมีแต้มสีดำรูปสามเหลี่ยม ครีบใสมีแถบสีชมพูเรื่อหรือแต้มสีส้ม ครีบหลังอยู่กึ่งกลางลำตัว ครีบหางเว้าลึก มีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร

ปลาซิวข้างขวานใหญ่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลาตะเพียน
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
วงศ์ย่อย: Danioninae
สกุล: ปลาซิวข้างขวาน
(Duncker, 1904)
สปีชีส์: Trigonostigma heteromorpha
ชื่อทวินาม
Trigonostigma heteromorpha
(Duncker, 1904)
ชื่อพ้อง
  • Rasbora heteromorpha Duncker, 1904

พบอาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ไม่ต่ำกว่า 100 ตัว ในประเทศไทยพบเฉพาะแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณภาคใต้แถบจังหวัดตรัง และที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส เท่านั้น มีพฤติกรรมผสมพันธุ์เป็นฝูง โดยวางไข่ติดอยู่กับใต้ใบไม้ของพืชน้ำ ครั้งละ 90–100 ฟอง

นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "มะลิเลื้อย" เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ยังมีปลาซิวอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ ปลาซิวข้างขวานเล็ก (T. espei)

Trigonostigma truncata (Tan, 2020)[3] แก้

 
ซิวข้างขวานใหญ่ในสปีชีส์Trigonostigma truncata (Tan, 2020) มีสีแตกต่างจากสปีชีส์ Trigonostigma heteromorpha พบบริเวณป่าพรุที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยนายแพทย์วรกานต์ รุ่งประเสริฐ

การศึกษาในปี 2020 ได้แบ่งซิวข้างขวานออกเป็นสองชนิด โดยได้ให้ชนิดที่พบในจังหวัดนราธิวาส และรัฐตรังกานู ลุ่มน้ำที่ไหลลงอ่าวไทยกลายเป็นชนิดใหม่ชื่อ Trigonostigma truncata ส่วนชื่อเก่า Trigonostigma heteromorpha เป็นประชากรที่อาศัยในลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลอันดามันและที่พบบนเกาะชวา โดยชนิด Trigonostigma truncata จะแตกต่างจากชนิด Trigonostigma heteromorpha ที่มีแถบสีฟ้าอยู่บนแนวหลัง และแถบสีดำจะสิ้นสุดก่อนถึงปลายหาง

 
ซิวข้างขวานใหญ่ในสปีชีส์Trigonostigma truncata (Tan, 2020) มีสีแตกต่างจากสปีชีส์ Trigonostigma heteromorpha พบบริเวณป่าพรุที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยนายแพทย์วรกานต์ รุ่งประเสริฐ

อ้างอิง แก้

  1. Vidthayanon, C. (2012). "Trigonostigma heteromorpha". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T188098A1853839. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T188098A1853839.en.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. "Trigonostigma heteromorpha". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 11 March 2006.
  3. Tan, Heok. (2020). Trigonostigma truncata, a new species of harlequin rasbora from Malay Peninsula (Teleostei: Danionidae). The Raffles Bulletin of Zoology. 68. 421-433. 10.26107/RBZ-2020-0058.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trigonostigma heteromorpha ที่วิกิสปีชีส์