TATA box หรือ Goldberg-Hogness box[1]เป็นโปรโมเตอร์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการทรานสคริบชันอยู่ห่างจากจุดเริ่มไปทาง 5’ 30 คู่เบส เป็นลำดับเบสที่ประกอบด้วยเบส A และเบส T มาก เกี่ยวข้องกับการนำเอนไซม์อาร์เอ็นเอ โพลีเมอเรสไปสู่จุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง พบในอาร์เคียแบคทีเรียและยูคาริโอต[2] ประมาณ 24% ของยีนในมนุษย์มี TATA box ภายในโปรโมเตอร์[3]

TATA box มีลำดับดีเอ็นเอหลัก 5'-TATAAA-3' หรือเปลี่ยนแปลงไปบ้างโดยมากตามด้วยอะดีนีนสามตัว ปกติมี 25 คู่เบสทางด้านอับสตรีมของบริเวณที่เกิดทรานสคริบชัน เชื่อว่าเป็นบริเวณอนุรักษนิยมของกระบวนการวิวัฒนาการตั้งแต่เริ่มมียูคาริโอต ปกติจะถูกจับด้วยTATA binding protein (TBP) ระหว่างเกิดทรานสคริบชัน ทำให้ดีเอ็นเอคลายเกลียว ซึ่งบริเวณที่มี A T มากจะคลายเกลียวได้ง่ายกว่าบริเวณที่มี G C มาก TBP จะจับกับร่องเล็กของดีเอ็นเอและจับแบบเบตาชีท

TATA box มักจะเป็นตำแหน่งที่เข้าจับของ RNA polymerase II และ TFIID ซึ่งเป็นทรานสคริบชันแฟกเตอร์เข้ามาจับกับ TATA box จากนั้น TFIIA จะเข้ามาจับด้านอับสตรีมของ TFIID ส่วนTFIIB เข้าจับกับด้านดาวน์สตรีมของ TFIID RNA polymerase II จะจดจำกลุ่มของโปรตีนนี้ได้และเข้ามาจับ เช่นเดียวกับทรานสคริบชันแฟกเตอร์อื่นๆ เช่น TFIIF TFIIE และ TFIIH ทรานสคริบชันจะเริ่ม RNA polymerase II เคลื่อนไปตามสายดีเอ็นเอโดยออกจาก TFIID และ TFIIA ที่ยังจับกับ TATA box และทำให้ RNA polymerase II โมเลกุลใหม่เข้ามาจับได้

ยีนที่ไม่มี TATA box จะใช้ downstream core promoter (DCE) การศึกษาจีโนมในมยุษย์ พบว่ามีโปรโมเตอร์ที่ขึ้นกับ ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับ TATA box ~ 10% [4] การศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่าประมาณ 1,000 ยีนพบโปรโมเตอร์มี TATA box อยู่ด้วย 32% [5]

อ้างอิง แก้

  1. Lifton RP, Goldberg ML, Karp RW, Hogness DS (1978). "The organization of the histone genes in Drosophila melanogaster: functional and evolutionary implications". Cold Spring Harb Symp Quant Biol. 42: 1047–1051. PMID 98262.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Smale, ST; Kadonaga, JT (2003). "The RNA polymerase II core promoter" (PDF). Annual review of biochemistry. 72: 449–79. doi:10.1146/annurev.biochem.72.121801.161520. PMID 12651739. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  3. Yang, C; Bolotin, E; Jiang, T; Sladek, FM; Martinez, E (2007). "Prevalence of the initiator over the TATA box in human and yeast genes and identification of DNA motifs enriched in human TATA-less core promoters". Gene. 389 (1): 52–65. doi:10.1016/j.gene.2006.09.029. PMC 1955227. PMID 17123746.
  4. Carninci P, Sandelin A, Lenhard B; และคณะ (June 2006). "Genome-wide analysis of mammalian promoter architecture and evolution". Nat. Genet. 38 (6): 626–35. doi:10.1038/ng1789. PMID 16645617.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Suzuki Y, Tsunoda T, Sese J; และคณะ (May 2001). "Identification and characterization of the potential promoter regions of 1031 kinds of human genes". Genome Res. 11 (5): 677–84. doi:10.1101/gr.164001. PMC 311086. PMID 11337467.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)