ฟอร์โมซาของสเปน

(เปลี่ยนทางจาก Spanish Formosa)

ฟอร์โมซาของสเปน (สเปน: Formosa española, Hermosa española) เป็นอาณานิคมขนาดเล็กของจักรวรรดิสเปนที่ก่อตั้งขึ้นทางตอนเหนือสุดของเกาะไต้หวัน หรือที่ชาวยุโรปในเวลานั้นรู้จักกันในชื่อ "ฟอร์โมซา" หรือในภาษาสเปนคือ "อิสลาเอร์โมซา" (Isla Hermosa) ตั้งแต่ ค.ศ. 1626 จนกระทั่งยกให้กับสาธารณรัฐดัตช์เมื่อ ค.ศ. 1642 ในช่วงสงครามแปดสิบปี

ฟอร์โมซาของสเปน

Gobernación de Hermosa española  (สเปน)
臺灣西班牙統治時期  (จีน)
ค.ศ. 1626–1642
ธงชาติฟอร์โมซา
ธงนิวสเปน
ตราแผ่นดินของฟอร์โมซา
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของฟอร์โมซาของสเปนเมื่อเทียบกับแผนที่ของเกาะในปัจจุบัน
  ดินแดนของสเปน
สถานะดินแดนของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของสเปน (อาณานิคม)
เมืองหลวงซานซัลบาดอร์ (จีหลง)
ภาษาราชการสเปน
ภาษาทั่วไปฟอร์โมซาตะวันออก ฮกเกี้ยน
ศาสนา
โรมันคาทอลิก
การปกครองอาณานิคม
ยุคประวัติศาสตร์ยุคแห่งการสำรวจ
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 1626
ค.ศ. 1642
สกุลเงินเหรียญสเปน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในไต้หวัน
ฟอร์โมซาของเนเธอร์แลนด์

โปรตุเกสเป็นยุโรปชาติแรกที่ไปถึงเกาะนี้จากชายฝั่งทางตอนใต้ของจีนใน ค.ศ. 1544 และตั้งชื่อให้กับเกาะนี้ว่า ฟอร์โมซา (ซึ่งแปลว่า "สวยงาม" ในภาษาโปรตุเกส) เนื่องด้วยภูมิทัศน์ที่สวยงามเมื่อมองจากทะเล[1] ต่อมาชาวสเปนได้แปลชื่อเป็นภาษาสเปนว่า เอร์โมซา และใช้ชื่อนี้เรื่อยมาในแผนที่และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับอาณานิคมของของสเปน[2]

สเปนได้ก่อตั้งอาณานิคมทางตอนเหนือของเกาะใน ค.ศ. 1626 โดยเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของสเปนที่อยู่ในมะนิลา ซึ่งอยู่ภายใต้อาณานิคมนิวสเปน (เม็กซิโก) ในฐานะอาณานิคมของสเปน ฟอร์โมซาเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการป้องกันการค้าระดับภูมิภาคของอาณานิคมสเปนในฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันเรือสำเภาจากจีนและญี่ปุ่นที่มุ่งหน้ามายังมะนิลาจากการแทรกแซงของบริษัทดัตช์ในฟอร์โมซาของเนเธอร์แลนด์ที่อยู่ทางใต้ของเกาะ อย่างไรก็ตาม อาณานิคมนี้ดำรงอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ เนื่องจากสูญเสียความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ประกอบกับรัฐบาลสเปนในมะนิลาก็ไม่ได้เต็มใจที่จะทุ่มทรัพยากรให้กับการป้องกันมากนัก ภายหลังสงครามสิบเจ็ดปี กองกำลังดัตช์เข้าปิดล้อมป้อมปราการสุดท้ายของสเปนได้สำเร็จ เป็นผลให้เกาะส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุมของเนเธอร์แลนด์[2]

อ้างอิง แก้

  1. Sujuan, Zhan. "Formosa". Encyclopedia of Taiwan. Council for Cultural Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  2. 2.0 2.1 Andrade, Tonio (2005). How Taiwan Became Chinese: Dutch, Spanish and Han Colonization in the Seventeenth Century. Columbia University Press – โดยทาง gutenberg-e.org.

บรรณานุกรม แก้