เปเปอร์แมน (อังกฤษ: Paperman) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นภาพขาวดำของวอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส กำกับโดยจอห์น คาห์ส ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม ครั้งที่ 85[3] และรางวัลแอนนี สาขา Best Animated Short Subject ครั้งที่ 40[4] Paperman เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นเรื่องแรกของดิสนีย์ที่ได้รับรางวัลออสการ์ นับตั้งแต่เรื่อง It's Tough to Be a Bird เมื่อปี ค.ศ. 1970[5]

เปเปอร์แมน
ใบปิดภาพยนตร์โดย เจฟฟ์ เทอร์ลีย์
กำกับจอห์น คาห์ส
ผลิตคริสตินา รีด
เขียนเรื่อง
  • คลิโอ เชียง
  • เคนเดลล์ โฮเยอร์
ให้เสียงพากย์
ดนตรีคริสตอฟ เบ็ก[1]
แอนิเมชันแพทริก ออสบอร์น
(ผู้ควบคุมฝ่ายแอนิเมชัน)
สตูดิโอ
จัดจำหน่ายวอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์
เผยแพร่2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012
(สหรัฐอเมริกา; ออกพร้อม ราล์ฟ วายร้ายหัวใจฮีโร่)
กระบวนการสีขาว-ดำ, สี
ความยาว6 นาที 33 วินาที[2]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ

เรื่องย่อ แก้

ภาพยนตร์เปิดเรื่องด้วยฉากในนครนิวยอร์ก ทศวรรษที่ 1940[6] จอร์จ นักการบัญชีหนุ่มกำลังยืนถือเอกสารรอรถไฟอยู่ เขาพบกระดาษลอยมาติดที่แขนแล้วมีหญิงสาวนามว่า เม็ก วิ่งตามมา ต่อมาเอกสารที่จอร์จถืออยู่ถูกลมพัดจนลอยไปติดหน้าเม็ก ทำให้เอกสารมีรอยลิปสติก จอร์จหัวเราะกับสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก่อนที่เขาจะได้คุยกับเม็ก เธอก็ขึ้นรถไฟไปเสียก่อน

จอร์จมาทำงานด้วยใจห่อเหี่ยว แต่ต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าเม็กทำงานอยู่ที่ตึกตรงข้ามเขา หลังพยายามโบกมือให้เธอเห็นไม่สำเร็จ จอร์จพับเครื่องบินกระดาษและพยายามปาไปหาเธอจนเหลือกระดาษแผ่นสุดท้ายคือใบที่มีรอยลิปสติก ซึ่งถูกลมพัดร่วงลงไปก่อนที่จอร์จจะทันได้ปา เมื่อเห็นเม็กออกจากตึก จอร์จรีบตามเธอไปแต่ไม่ทัน เขาหยิบเครื่องบินกระดาษใบที่มีรอยลิปสติกมาปาทิ้งด้วยความหงุดหงิด

เครื่องบินกระดาษลอยไปตกตรอกใกล้ ๆ และถูกลมพัด ทำให้เครื่องบินกระดาษหลายลำที่จอร์จพับไว้หมุนวนไปรอบตัวเขาแล้วพาเขาไปที่สถานีรถไฟ ในขณะเดียวกัน เครื่องบินกระดาษลำที่มีรอยลิปสติกลอยไปตกใกล้ ๆ เม็ก ก่อนจะลอยต่อไปที่สถานีรถไฟโดยมีเม็กวิ่งตาม ทำให้ทั้งสองได้พบกันอีกครั้ง ภาพยนตร์จบลงเมื่อจอร์จและเม็กคุยกันในร้านอาหาร โดยมีเครื่องบินกระดาษที่มีรอยลิปสติกวางอยู่

การผลิต แก้

แอนิเมชันเรื่องนี้เป็นการ์ตูนเกือบขาวดำทั้งหมด ผลิตด้วยการวาดมือและคอมพิวเตอร์ เคลื่อนไหวทั้งแบบแอนิเมชันดั้งเดิมและคอมพิวเตอร์กราฟิก ใช้เทคนิกคลาสสิคของดิสนีย์ด้วยการวาดลายเส้นแบบ 2D มาผสมกับงานคอมพิวเตอร์กราฟิก 3D

อ้างอิง แก้

  1. Burlingame, Jon (ตุลาคม 25, 2011). "Christophe Beck's green phase". Variety. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 15, 2012. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 8, 2012.
  2. "SNOW WHITE AND THE SEVEN DWARFS". Film Society of Lincoln Center. สืบค้นเมื่อ September 26, 2012.
  3. "List of winners at the 85th annual Academy Awards". USA Today. February 26, 2013. สืบค้นเมื่อ December 27, 2013.
  4. Beck, Jerry (February 2, 2013). "Annie Award Winners". Cartoon Brew. สืบค้นเมื่อ February 3, 2013.
  5. "42nd Academy Awards Winners - Oscar Legacy - Academy of Motion Picture Arts and Sciences". Oscars.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2011. สืบค้นเมื่อ October 2, 2014.
  6. Clark, Noelene (January 30, 2013). "'Paperman': Oscar-nominated Disney short takes a page from classics". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ March 18, 2017.