Negri bodies เป็น inclusion bodies (คือการรวมกลุ่มของสารที่เสถียรเช่นโปรตีนภายในนิวเคลียสหรือในไซโทพลาซึมของเซลล์ ปกติเป็นบริเวณขยายพันธุ์ของไวรัส) ซึ่งชอบอีโอซิโนฟิล (eosinophilic) มีขอบเขตที่ชัดเจน เป็นตัวบ่งโรคโดยเฉพาะ (pathognomonic) ของเซลล์ประสาทบางอย่างที่ติดไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะเซลล์พีระมิด[1]ภายใน Ammon's horn ของฮิปโปแคมปัส และบ่อยครั้งก็บพบด้วยในเซลล์เพอร์คินจี[1]ของสมองน้อยด้วยเมื่อตรวจตัวอย่างสมองจากผู้เสียชีวิตเพราะโรคพิษสุนัขบ้า เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยโปรตีน ribonuclear ที่ไวรัสผลิตขึ้น[2] มีชื่อตามนักพยาธิวิทยาชาวอิตาลีอะเด็ลชี นีกรี (Adelchi Negri)[3]

ภาพจุลทรรศน์ (micrograph) แสดงอนุภาคไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าจำนวนมาก (สีเทาเข้มรูปแท่ง) และ Negri bodies ซึ่งเป็น inclusion bodies ในเซลล์เนื่องกับการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะโรค
ภาพจุลทรรศน์ของความเปลี่ยนแปลงทางจุลพยาธิวิทยาเนื่องกับสมองอักเสบเหตุโรคพิษสุนัขบ้า (แต้มสี H&E) ให้สังเกต Negri bodies ซึ่งเป็น inclusion bodies ในเซลล์ที่พบบ่อยที่สุดในเซลล์พีระมิดของ Ammon's horn ซึ่งเป็นส่วนของฮิปโปแคมปัส และในเซลล์เพอร์คินจีของสมองน้อย แต่ก็พบด้วยในเซลล์ของก้านสมองส่วนท้าย (medulla oblongata) และของปมประสาท (ganglia) ต่าง ๆ

ประวัติและการใช้เพื่อวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้า แก้

อะเด็ลชี นีกรี ซึ่งตอนนั้นเป็นนักพยาธิวิทยาผู้ช่วยในศูนย์ปฏิบัติการของผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวอิตาลี คามิลโล กอลจี (Camillo Golgi) ได้สังเกตเห็น inclusion bodies เช่นนี้ในกระต่ายและสุนัขที่ติดโรคพิษสุนัขบ้า แล้วต่อมาจึงนำเสนอในงานประชุม Società Medico-Chirurgica ปี 1903 ที่เมืองปาวีอา แม้นักพยาธิวิทยาชาวอเมริกัน แอนนา เวสเซิลส์ วิลเลียมส์ (Anna Wessels Williams) จะได้ค้นพบสิ่งเดียวกัน[4] แต่เพราะนีกรีตีพิมพ์ผลงานก่อน[5] ก็เลยตั้งชื่อตามเขา

นีกรีเชื่อว่า inclusion bodies ดังว่าเป็นโพรโทซัวปรสิตและเป็นตัวกระทำที่เป็นสมุฏฐานของโรคพิษสุนัขบ้า แต่ในปีเดียวกันแพทย์นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส (Paul Remlinger) และเพื่อนร่วมงาน (Rifat-Bey Frasheri) ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล และนักวิทยาศาสตร์ในกรุงเนเปิลส์ ก็ได้แสดงว่า สมุฏฐานของโรคเป็นไวรัสที่มีขนาดผ่านตัวกรองแบคทีเรียได้ แม้นีกรีจะได้พยายามจนถึงปี 1909 เพื่อพิสูจน์ว่า inclusion bodies ดังที่ว่า เป็นส่วนในวัฏจักรพัฒนาการของโพรโทซัว

แม้จะเป็นสมมติฐานทางสมุฏฐานที่ไม่ถูกต้อง การค้นพบของนีกรีทำให้สามารถวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างรวดเร็ว และวิธีการตรวจ Negri bodies ที่แอนนา วิลเลียมส์ พัฒนาขึ้นก็เป็นหลักการตรวจโรคต่อมาอีกถึง 30 ปี[6]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Sketchy Group, LLC. "2.3 Rhabdovirus". www.sketchymedical.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-13. สืบค้นเมื่อ 2017-04-12.
  2. Lahaye, Xavier; Vidy, Aurore; Pomier, Carole; Obiang, Linda; Harper, Francis; Gaudin, Yves; Blondel, Danielle (2009-08-15). "Functional Characterization of Negri Bodies (NBs) in Rabies Virus-Infected Cells: Evidence that NBs Are Sites of Viral Transcription and Replication". Journal of Virology (ภาษาอังกฤษ). 83 (16): 7948–7958. doi:10.1128/JVI.00554-09. ISSN 0022-538X. PMC 2715764. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-16. สืบค้นเมื่อ 2018-12-18.
  3. synd/2491 ใน Who Named It?
  4. "Changing the Face of Medicine". NCBI.
  5. Negri, Adelchi (1904). "Contributo allo studio dell'eziologia della rabbia". Bollettino della Società medico-chirurgica di Pavia. 2: 88–115.
  6. Henry, Ronnie; Murphy, Frederick R. (2017). "Etymologia: Negri Bodies". Emerg Infect Dis. 23 (9): 1461. doi:10.3201/eid2309.ET2309. สืบค้นเมื่อ 2017-09-12. citing public domain text from the CDC

แหล่งข้อมูลอื่น แก้