สนามกีฬาจาลันเบอซาร์

(เปลี่ยนทางจาก Jalan Besar Stadium)

สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ (มลายู: Stadium Jalan Besar; อังกฤษ: Jalan Besar Stadium; จีน: 惹兰勿刹体育场; ทมิฬ: ஜாலான் புசார் ஸ்டேடியம்) เป็นสนามฟุตบอลความจุ 6,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในกัลลัง ประเทศสิงคโปร์ โดยสนามแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กีฬาและนันทนาการจาลันเบอซาร์ ซึ่งรวมไปถึงสนามกีฬาและสนามว่ายน้ำ โดยปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของยังไลออนส์และฮูกังยูไนเต็ด

สนามกีฬาจาลันเบอซาร์
แผนที่
ที่ตั้งกัลลัง ประเทศสิงคโปร์
พิกัด1°18′36″N 103°51′37″E / 1.310016°N 103.860347°E / 1.310016; 103.860347
เจ้าของการกีฬาสิงคโปร์
ผู้ดำเนินการการกีฬาสิงคโปร์
ความจุ6,000 ที่นั่ง
พื้นผิวหญ้าเทียม
ป้ายแสดงคะแนนมี
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนามพ.ศ. 2475
ปรับปรุงพ.ศ. 2542–2546
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์ (พ.ศ. 2475–)
ยังไลออนส์ (พ.ศ. 2546–)
ฮูกังยูไนเต็ด (พ.ศ. 2562–)
ไลออนส์ทเวลฟ์ (พ.ศ. 2554–2558)

สนามนี้เคยใช้เป็นสนามเหย้าหลักของทีมชาติสิงคโปร์ ในขณะที่สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ กำลังก่อสร้าง และอาจจะใช้สนามนี้เป็นสนามแข่งขันในบางนัดด้วย

สนามกีฬาจาลันเบอซาร์ตั้งอยู่บนถนนทีริต (Tyrwhitt) ใกล้กับถนนจาลันเบอซาร์ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสนาม

ประวัติ แก้

สนามเปิดครั้งแรกในวันเปิดกล่องของขวัญ เมื่อ พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929)[1] และคาดว่าจึงเป็นที่มาของสันสถาปนาฟุตบอลสิงคโปร์ โดยการแข่งขันมาลายาคัพ ได้จัดที่สนามแห่งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2509 และการแข่งขันมาเลเซียคัพตั้งแต่ พ.ศ. 2510 จนถึง พ.ศ. 2516

ช่วงระหว่างการยึดครองดินแดนสิงคโปร์จากญี่ปุ่น สนามนี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์การสังหารหมู่ซู่ชิง โดยระหว่างสงคราม สนามแห่งนี้ใช้เป็นศูนย์ภาษาเพื่อสอนภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย

ใน พ.ศ. 2507 มีการชุมนุมที่สนามนี้เพื่อไว้อาลัยการเสียชีวิตของจาวาฮาร์ลาล เนรู นายกรัฐมนตรีของอินเดีย

สนามแห่งนี้เป็นสนามที่เคยจัดการแข่งขันมากมายในประวัติศาสตร์สิงคโปร์ เช่น เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานเทศกาลเยาวชนสิงคโปร์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2498, งานกองทัพบกสิงคโปร์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 และขบวนพาเหรดวันชาติสิงคโปร์ใน พ.ศ. 2524

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 สนามได้ทำการปิดปรับปรุง และเปิดอีกครั้งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ด้วยความจุ 6,000 ที่นั่ง โดยตำแหน่งของสนามแข่งขันยังอยู่ที่เดิมเหมือนในยุคก่อนปรับปรุง

ใน พ.ศ. 2549 ภายใต้แผนของฟีฟ่า สนามแห่งนี้ได้ปูหญ้าเทียมด้วยมาตรฐานฟีฟ่า 1 ดาว โดยค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งได้รับทุนจากฟีฟ่าโกล และแผนการช่วยเหลือทางการเงินของฟีฟ่า ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ได้มีการปูหญ้าใหม่ โดยมีค่าใช้จ่าย 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยหญ้ามาตรฐานฟีฟ่า 2 ดาว ซึ่งเป็นหญ้าเทียมที่มีคุณภาพดีกว่า โดยได้รับทุนจากฟีฟ่า[2]

ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เบิร์นลีย์ ได้แข่งขันกับทีมรวมดาราสิงคโปร์ ในการแข่งขันเอฟไอเอสเอเชียนชาเลนจ์คัพ โดยสิงคโปร์แพ้ 0–1[3][4]

ระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2010 ที่จัดขึ้นที่สิงคโปร์ สนามนี้เป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันฟุตบอลชายและหญิงของการแข่งขันนี้

ในระหว่งที่ไลออนส์ทเวลฟ์มีผู้สนับสนุนเป็นคิงส์เมน ได้มีการสร้างอัฒจันทร์คิงจอรส์ขึ้นใน พ.ศ. 2555 โดยเป็นอัฒจันทร์ชั่วคราว ทำให้สามารถจุผู้ชมได้เพิ่มเป็น 8,000 คน

ในวันที่ 30 ตุลาตม พ.ศ. 2555 ได้มีการติดตั้งจอแสดงผลคะแนนแบบแอลอีดีใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม โดยสามารถแสดงภาพย้อนหลังระหว่างเกมในสนามได้[5] ซึ่งมีการติดตั้งจอทั้งหมด 2 จอ บนอัฒจันทร์หลักฝั่งทิศเหนือและทิศใต้

ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 อัตเลติโกเดมาดริดได้ลงเล่นในสนามนี้กับทีมรวมดาราสิงคโปร์ ในการแข่งขันถ้วยการกุศลของปีเตอร์ ลิม โดยสิงคโปร์แพ้ 0–2.[6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • Sharon Seow, "Exploring Jalan Besar", Voices@Central Singapore Issue No. 35, Jul/Aug 2007.
  1. "Opening of the Jalan Besar Stadium". Malayan Saturday Post, 4 January 1930, Page 6.
  2. "MILLION-DOLLAR MAKEOVER". Asiaone.
  3. "Asian Games preparations right on track for Singapore U-23 football team". redsports. 26 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Singapore Selection side edged out 1-0 by Burnley". redsports. 25 กรกฎาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. http://www.goal.com/en-sg/news/3880/singapore/2012/10/31/3490589/high-definition-led-video-wall-launched-at-jalan-besar
  6. "Singapore Selection vs Atletico Madrid Preview". goal.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้