JIT ระบบทันเวลาพอดี ย่อมาจากคำว่า just-in-time ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นระบบการส่งมอบ วัตถุดิบ สินค้า หรือบริการ มาถึงผู้ใช้ในเวลาที่ต้องการ และจำนวนที่ต้องการใช้เท่านั้น ระบบทันเวลาพอดี อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น ระบบสินค้าคงคลังเท่ากับศูนย์ (zero inventory) หรือ ระบบการผลิตที่ไม่มีสินค้าคงคลัง (stockless production) หรือ ระบบสั่งวัสดุเมื่อต้องการ (material as needed) โดยส่วนใหญ่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผลิตรถยนต์

คุณสมบัติของระบบ JIT แก้

  • ช่วยลดสินค้าคงคลัง ทำให้ลดขนาดพื้นที่ในการเก็บ
  • สามารถกำหนดเวลาในการรับของได้
  • ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าคงคลัง การหยิบ การยกขน
  • ลดเวลาในการจัดเรียง การจัดเก็บสินค้า

ลักษณะของระบบ JIT แก้

  • การไหลของวัสดุ เป็นแบบดึง (ภาษาอังกฤษ:Pull Method) หมายถึง การผลิตสินค้าเมื่อมีความต้องการ ทำให้มีจำนวนสินค้าคงคลังต่ำ เหมาะกับการผลิตที่มีลักษณะสินค้าเหมือนๆกัน เนื่องจากสามารถควบคุมสินค้าคงคลังได้ง่าย
  • สั่งซื้อวัสดุจำนวนน้อยในแต่ละครั้ง (ภาษาอังกฤษ:Small Lot Size Ordering) หมายถึง การกำหนดการสั่งซื้อเท่ากับปริมาณที่จะใช้ในการผลิต ทำให้มีสินค้าคงคลังต่ำ แต่ก็มีข้อเสียเช่น หากเป็นการผลิตที่ไม่ใช้วัสดุนั้นเป็oประจำจะทำให้การสั่งซื้อมีปริมาณน้อย เป็นการสั่งซื้อย่อย ย่อมมีต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มในวัสดุนั้น หากเป็นการผลิตที่ต้องมีการปรับตั้งเครื่องจักรบ่อยๆครั้ง ก็อาจทำให้เสียเวลามากขึ้น เป็นต้น
  • การผลิตแบบอัตโนมัติ (ภาษาอังกฤษ:Automated Production) การผลิตแบบอัตโนมัติมีความสัมพันธ์กับการจัดส่งแบบทันเวลาพอดีอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน ดังนั้นการกำหนดแผนงาน เวลา ปริมาณการใช้วัสดุต้องสัมพันธ์กัน
  • การทำงานคงที่ (ภาษาอังกฤษ:Workstation Stability) การวางแผนการทำงานที่ดี ทำให้จุดการทำงานหรือสถานีการทำงานได้รับงานในลักษณะคงที่ในแต่ละวัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
  • มีความสัมพันธ์กับผู้จัดส่งที่ดี (ภาษาอังกฤษ:Good Relation) โดยส่วนใหญ่การจัดส่งแบบทันเวลาพอดี มักไม่เปลี่ยนตัวคู่ค้า หรือผู้จัดส่งบ่อยๆ เพื่อให้การจัดส่งเป็นไปอย่างราบรื่น และไว้ใจได้

Pues aqui estamos hasta este dia, yo no se como se lee esto.

อ้างอิง แก้