นิวกินีของเยอรมนี

(เปลี่ยนทางจาก German New Guinea)

นิวกินีของเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsch-Neuguinea) เป็นอาณานิคมแห่งแรกของจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน ประกอบด้วยพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะนิวกินีและหมู่เกาะใกล้เคียง อาณานิคมส่วนแผ่นดินใหญ่ที่ชื่อว่า "ไคเซอร์-วิลเฮ็ลมส์ลันท์" (Kaiser-Wilhelmsland) มีสถานะเป็นรัฐในอารักขาตั้งแต่ ค.ศ. 1884 แล้วจึงมีการผนวกรวมหมู่เกาะอื่นตามมาภายหลัง โดยใน ค.ศ. 1885 กลุ่มเกาะบิสมาร์ก (นิวบริเตน นิวไอร์แลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กจำนวนมาก) และหมู่เกาะโซโลมอนเหนือได้ประกาศจัดตั้งเป็นรัฐในอารักขาของเยอรมนี ต่อมาใน ค.ศ. 1899 เยอรมนีได้ซื้อหมู่เกาะแคโรไลน์ ปาเลา และหมู่เกาะมาเรียนา (ยกเว้นกวม) จากสเปน หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1906 นิวกินีของเยอรมนีจึงได้รวมรัฐในอารักขาหมู่เกาะมาร์แชลล์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งจากที่ก่อนหน้านี้แยกขาดจากกัน ซึ่งรวมถึงนาอูรูด้วย ส่วนซามัวของเยอรมนีที่แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน แต่ก็มิใช่ส่วนหนึ่งของนิวกินีของเยอรมนีแต่อย่างใด

นิวกินีของเยอรมนี

Deutsch-Neuguinea  (เยอรมัน)
ค.ศ. 1884–1920
ธงชาตินิวกินีของเยอรมนี
ธงนิวกินีของเยอรมนี
ธงรัฐบาลอาณานิคม
ตราแผ่นดินของจักรวรรดิเยอรมันของนิวกินีของเยอรมนี
ตราแผ่นดินของจักรวรรดิเยอรมัน
นิวกินีของเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
นิวกินีของเยอรมนีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สถานะอาณานิคม
เมืองหลวงฟินช์ฮาเฟิน
(ค.ศ. 1884–1891)
มาดัง
(ค.ศ. 1891–1899)
แฮร์แบทซ์เฮอเออ
(ค.ศ. 1899–1910)
ซิมพ์ซ็อนฮาเฟิน
(ค.ศ. 1910–1914)
ภาษาราชการเยอรมัน
ภาษาทั่วไปอุนเซอร์ด็อยทช์ ปาปัว ออสโตรนีเซียน
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 1884–1888
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 1
• ค.ศ. 1888
จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3
• ค.ศ. 1888–1918
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2
ผู้ว่าราชการ 
• ค.ศ. 1884–1887
กุสทัฟ ฟ็อน เอิร์ทเซิน
• ค.ศ. 1901–1914
อัลแบร์ท ฮาล
ยุคประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคมของเยอรมันในมหาสมุทรแปซิฟิก
3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1884
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1899
17 กันยายน ค.ศ. 1914
28 มิถุนายน ค.ศ. 1919
17 ธันวาคม ค.ศ. 1920
พื้นที่
ราว ค.ศ. 1912249,500 ตารางกิโลเมตร (96,300 ตารางไมล์)
ประชากร
• ราว ค.ศ. 1912
600,000
สกุลเงินมาร์คนิวกินี
ก่อนหน้า
ถัดไป
หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของสเปน
แปซิฟิกใต้ในอาณัติ
หมู่เกาะโซโลมอนของบริเตน
นาอูรูในอาณัติ
ดินแดนนิวกินี
หนังสือเดินทางนิวกินี ค.ศ. 1907 ที่ลงนามโดยอัลแบร์ท ฮาล ผู้ว่าราชการนิวกินีของเยอรมนี

หลังการอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1914 กองทัพออสเตรเลียเข้ายึดครองไคเซอร์-วิลเฮ็ลมส์ลันท์และหมู่เกาะข้างเคียง ขณะที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ของเยอรมนีในแปซิฟิก โดยในปัจจุบัน นิวกินีของเยอรมนีแผ่นดินใหญ่ (Kaiser-Wilhelmsland), กลุ่มเกาะบิสมาร์ก, และหมู่เกาะโซโลมอนเหนือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปาปัวนิวกินี ส่วนหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนากลายเป็นดินแดนที่มิได้ปกครองโดยระบบเทศบาลของสหรัฐ และหมู่เกาะแคโรไลน์ (ในฐานะสหพันธรัฐไมโครนีเชีย) หมู่เกาะมาร์แชลล์ นาอูรู และปาเลา กลายเป็นประเทศเอกราช

ในช่วงอาณานิคม หมู่เกาะทางตะวันออกของไคเซอร์-วิลเฮ็ลมส์ลันท์ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มเกาะบิสมาร์ก (เดิมชื่อ "กลุ่มเกาะนิวบริแทนเนีย") และสองหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "น็อยพ็อมเมิร์น" (Neupommern; 'พอเมอเรเนียใหม่' ปัจจุบันคือนิวบริเตน) และ "น็อยเมคเลินบวร์ค" (Neumecklenburg; 'เมคเลินบวร์คใหม่' ปัจจุบันคือเกาะนิวไอร์แลนด์)[1] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเข้าถึงทางน้ำ เกาะรอบนอกเหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจมากที่สุดและปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนี้อยู่

มีการก่อตั้ง "รัฐในอารักขาแปซิฟิกของจักรวรรดิเยอรมัน" ในหมู่เกาะของเยอรมนีในแปซิฟิกตะวันตก (ยกเว้นซามัวของเยอรมนี) ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของนิวกินีของเยอรมนี เช่นเดียวกับกลุ่มเกาะบิสมาร์ก (นิวบริเตน นิวไอร์แลนด์ และหมู่เกาะขนาดเล็กจำนวนมาก), หมู่เกาะโซโลมอนเหนือ (บูกา บูเกนวิลล์ และหมู่เกาะขนาดเล็กจำนวนมาก), หมู่เกาะแคโรไลน์, ปาเลา, หมู่เกาะมาเรียนา (ยกเว้นกวม), หมู่เกาะมาร์แชลล์, และนาอูรู ทำให้นิวกินีของเยอรมนีครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 249,500 ตารางกิโลเมตร (96,300 ตารางไมล์)[2]

อาณาเขต

แก้
อาณาเขต ช่วงเวลา พื้นที่ (โดยประมาณ) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
ไคเซอร์-วิลเฮ็ลมส์ลันท์ 1884–1919 181,650 ตารางกิโลเมตร[3]   ปาปัวนิวกินี
กลุ่มเกาะบิสมาร์ก 1899–1919 49,700 ตารางกิโลเมตร   ปาปัวนิวกินี
เกาะบูกา 1899–1919 492 ตารางกิโลเมตร[4]   ปาปัวนิวกินี
เกาะบูเกนวิลล์ 1899–1919 9,318 ตารางกิโลเมตร   ปาปัวนิวกินี
ปาเลา 1899–1919 466 ตารางกิโลเมตร[3]   ปาเลา
หมู่เกาะแคโรไลน์ 1899–1919 2150 ตารางกิโลเมตร[5]   ไมโครนีเชีย
  ปาเลา
นาอูรู 1906–1919 21 ตารางกิโลเมตร   นาอูรู
หมู่เกาะมาเรียนา 1899–1919 461 ตารางกิโลเมตร   หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
หมู่เกาะมาร์แชลล์ 1906–1919 181 ตารางกิโลเมตร   หมู่เกาะมาร์แชลล์

อ้างอิง

แก้
  1. William Churchill, 'Germany's Lost Pacific Empire' (1920) Geographical Review 10 (2) pp. 84–90 at p. 84
  2. "Deutsche Südsee-Schutzgebiete: Deutsch-Neuguinea, Marianen, Karolinen und Marshall-Inseln" [German South Seas Protectorates: German New Guinea, Mariana Islands, Caroline Islands and Marshall Islands]. Deutsche Schutzgebiete (ภาษาเยอรมัน). 12 November 2017.
  3. 3.0 3.1 "Rank Order – Area". CIA World Fact Book. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2014. สืบค้นเมื่อ 12 April 2008.
  4. "Encyclopædia Britannica: Buka Island". สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.
  5. "The Pacific War Online Encyclopedia". สืบค้นเมื่อ 22 September 2016.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แก้
  • Peter Biskup: Hahl at Herbertshoehe, 1896–1898: The Genesis of German Native Administration in New Guinea, in: K. S. Inglis (ed.): History of Melanesia, Canberaa – Port Moresby 1969, 2nd ed. 1971, 77–99.
  • Firth, Stewart: Albert Hahl: Governor of German New Guinea. In: Griffin, James, Editor: Papua New Guinea Portraits: The Expatriate Experience. Canberra: Australian National University Press; 1978: 28–47.
  • Firth, S. G.: The New Guinea Company, 1885–1899: A Case of Unprofitable Imperialism. in: Historical Studies. 1972; 15: 361–377.
  • Firth, Stewart G.: Arbeiterpolitik in Deutsch-Neuguinea vor 1914. In: Hütter, Joachim; Meyers, Reinhard; Papenfuss, Dietrich, Editors: Tradition und Neubeginn: Internationale Forschungen zur deutschen Geschichte im 20. Jahrhundert. Köln: Carl Heymanns Verlag KG; 1975: 481–489.
  • Noel Gash – June Whittaker: A pictorial history of New Guinea, Jacaranda Press: Milton, Queensland 1975, 312 p., ISBN 1862730253.
  • Whittaker, J L; Gash, N. G.; Hookey, J. F.; and Lacey R. J. (eds.) : Documents and Readings in New Guinea History: Prehistory to 1889, Jacaranda Press: Brisbane 1975/1982
  • Firth, Stewart (1973). "German Firms in the Western Pacific Islands". Journal of Pacific History. 8 (1): 10–28. doi:10.1080/00223347308572220.
  • Firth, Stewart G.: German Firms in the Pacific Islands, 1857–1914. In: Moses, John A.; Kennedy, Paul M., Editors. Germany in the Pacific and Far East, 1870–1914. St. Lucia: University of Queensland Press; 1977: 3–25
  • Firth, Stewart (1985). "German New Guinea: The Archival Perspective". Journal of Pacific History. 20 (2): 94–103. doi:10.1080/00223348508572510.
  • Firth, Stewart: The Germans in New Guinea. In: May, R. J.; Nelson, Hank, Editors: Melanesia: Beyond Diversity. Canberra: Australian National University, Research School of Pacific Studies; 1982: 151–156.
  • Firth, Stewart (1976). "The Transformation of the Labour Trade in German New Guinea, 1899–1914". Journal of Pacific History. 11 (1): 51–65. doi:10.1080/00223347608572290.
  • Firth, Stewart. Labour in German New Guinea. In: Latukefu, Sione, Editor. Papua New Guinea: A Century of Colonial Impact 1884–1984. Port Moresby: The National Research Institute and the University of Papua New Guinea in association with the PNG Centennmial Committee; 1989: 179–202.
  • Moses, John, and Kennedy, Paul, Germany in the Pacific and Far East 1870–1914, St Lucia Qld: Queensland University Press, 1977. ISBN 978-0702213304
  • Sack, Peter, ed., German New Guinea: A Bibliography, Canberra ACT: Australian National University Press, 1980, ISBN 978-0909596477
  • Firth, Stewart: New Guinea Under the Germans, Melbourne University Press : International Scholarly Book Services: Carlton, Vic. 1983, ISBN 978-0522842203, reprinted by WEB Books: Port Moresby 1986, ISBN 9980570105.
  • Foster, Robert J. (1987). "Komine and Tanga: A Note on Writing the History of German New Guinea". Journal of Pacific History. 22 (1): 56–64. doi:10.1080/00223348708572551.
  • Mary Taylor Huber: The Bishops’ Progress. A Historical Ethnography of Catholic Missionary Experience of Catholic Missionary Experience on the Sepik Frontier, Smithsonian Institution Press: Washington and London 1988, 264 pp., ISBN 0-87474-544-6.
  • Mary Taylor Huber: The Bishops’ Progress: Representations of Missionary Experience on the Sepik Frontier, in: Nancy Lutkehaus (ed.): Sepik Heritage. Tradition and Change in Papua New Guinea, Crawford House Press: Bathurst, NSW (Australia) 1990, 663 pp. + 3 maps, ISBN 1-86333-014-3., pp. 197–211.
  • Keck, Verena. "Representing New Guineans in German Colonial Literature," Paideuma: Mitteilungen zur Kulturkunde (2008), Vol. 54, pp 59–83.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

4°12′S 152°11′E / 4.200°S 152.183°E / -4.200; 152.183