โดตา 2

(เปลี่ยนทางจาก Dota 2)

โดตา 2 (อังกฤษ: Dota 2) เป็นวิดีโอเกมแนวโมบา ที่พัฒนาโดยวาล์วคอร์ปอเรชัน เป็นภาคต่อที่ไม่ขึ้นกับแผนที่วอร์คราฟต์ 3 ที่ได้รับความนิยม คือ ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ ชื่อเกมมีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ผ่านเว็บไซต์เกมอินฟอร์เมอร์[2] ปัจจุบันตัวเกมมีแผนจะเปิดรุ่นทดลองในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ซึ่งจะทำให้เป็นเกมที่สองของวาล์วในปีนี้ ตามหลังพอร์ทอล 2[3] ผู้นำออกแบบเกมคือ ผู้พัฒนาคนที่ทำหน้าที่นานที่สุดและคนปัจจุบันของดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ ที่รู้จักกันในชื่อ "ไอซ์ฟร็อก" ผู้ซึ่งยังปิดบังชื่อต่อสาธารณะ ขณะที่เป็นผู้นำทีมพัฒนาที่วาล์ว[2] ตัวเกมจะเปิดตัวทั้งผ่านการค้าปลีกและสตีม สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และแมคโอเอสเทน โดตา 2[2] เป็นเกมแฟนตาซีเกมแรกของวาล์ว เช่นเดียวกับเกมแนวโมบา

โดตา 2
โลโก้ โดตา 2
ผู้พัฒนาวาล์วคอร์ปอเรชัน
ผู้จัดจำหน่ายวาล์วคอร์ปอเรชัน
กำกับอีริก จอห์นสัน
ออกแบบไอซ์ฟร็อก
แต่งเพลงJason Hayes
Tim Larkin[1]
เอนจินซอร์ส 2
เครื่องเล่นลินุกซ์, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอสเทน
วางจำหน่าย
  • วินโดวส์
  • 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
  • ลินุกซ์, แมคโอเอสเทน
  • 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
แนวโมบา
รูปแบบผู้เล่นหลายคน

การเล่น แก้

คล้ายกับเกมดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์เดิม โดตา 2 รวมเอารูปแบบวางแผนเรียลไทม์และรวมเอาระบบการเพิ่มเลเวลและไอเท็มของเกมสวมบทบาท ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นยูนิตที่ถูกจัดให้เป็น "ฮีโร" ที่ได้รับเลเวลเพิ่มขึ้นจากการต่อสู้ โดยมีเลเวลสูงสุดที่ 30 ฉากหลักพื้นฐานของ โดตา 2 เป็นที่มั่นสองฝั่งที่มี "Ancient" อยู่ที่ปลายสุดทั้งสองฝั่งของแผนที่ที่สมดุล โดยมีส่วนเชื่อมต่อกันหลายจุดที่ถูกเรียกว่า "เลน" ซึ่งยูนิตฝ่ายตรงข้ามเดินตัดผ่าน ขณะที่ต่อสู้กับหอคอยป้องกันอันทรงพลังไปตลอดทาง ผู้เล่นถูกแบ่งออกเป็นสองทีม ซึ่งตามหลักการแล้วจะเป็นรูปแบบห้าต่อห้า ชิงชัยกันโดยเป็นผู้ป้องกันหลักของแอนเชียนของทีมตน

เป้าหมายจากการโจมตีได้หากหอคอยที่อยู่ชั้นนอกยังไม่ถูกทำลาย กลุ่มยูนิตที่อ่อนแอกว่าที่เรียกกว่า "ครีป" จะถูกปล่อยมาเป็นช่วง ๆ ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปตามเลนของพวกตนจนกระทั่งไปถึงยูนิตหรือสิ่งก่อสร้างของศัตรู แล้วครีปเหล่านี้จะโจมตี

การกำจัดยูนิตฝ่ายตรงข้ามจะทำให้ทีมผู้เล่นได้รับเงินจำนวนหนึ่ง โดยผู้เล่นที่โจมตีฝ่ายตรงข้ามเป็นครั้งสุดท้ายจะได้รับส่วนแบ่งมากที่สุด ขณะที่ได้รับเงินนั้น ผู้เล่นจะได้รับค่าประสบการณ์ด้วย โดยเมื่อสะสมค่าประสบการณ์ไประดับหนึ่งจะทำให้เลเวลขึ้น เงินและค่าประสบการณ์ที่มากที่สุดได้จากการกำจัดฮีโรหรือหอคอยฝั่งตรงข้าม

โดตา 2 จะใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์สตีมของวาล์วเพื่อจัดเตรียมฟังก์ชันสังคมและชุมชนของเกม บัญชีสตีมจะบันทึกไฟล์และการตั้งค่าส่วนตัวบนบัญชีออนไลน์โดยใช้สตีมคลาวด์ โดตา 2 ยังจะมีคุณลักษณะผู้ชมสดมุมกล้องเสรี ซึ่งเป็นลักษณะของวาล์ว แม่ข่ายเกมจะมีตัวเลือกเปิดช่องผู้เล่นด้วยบอตปัญญาประดิษฐ์ ส่วนอีกตัวเลือกหนึ่งจะให้แม่ข่ายพิจารณาว่าจะให้บอตปัญญาประดิษฐ์หรือผู้เล่นมนุษย์คนอื่นเข้าแทนที่ผู้เล่นที่ขาดการเชื่อมต่อออกไป วาล์วยังมีระบบฝึกสอนซึ่งเปิดให้ผู้เล่นที่มีประสบการณ์มากกว่าฝึกสอนผู้เล่นใหม่ ตัวเกมยังจะมีคุณสมบัติช่วงฝึกเล่นเพื่อช่วยเหลือผู้เล่นก่อนที่จะเล่นแบบแข่งขันกัน[2]

โดตา 2 จะยังคงมาจากรากฐานกิจกรรมหลายผู้เล่นอย่างต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์ โดยตัวเกมจะไม่มีโหมดผู้เล่นคนเดียว แต่จะยังมีเรื่องราวที่ผูกขึ้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับเกมการเล่นด้วย รวมทั้งภูมิหลังของฮีโรแต่ละตัวและการสื่อสารที่ใช้เสียงในเกม[4]

ทุกวันนี้เกมส์โดต้า 2 ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลกจนเป็นหนึ่งในการแข่งขัน E-sport ที่มีเงินรางวัลสูงที่สุดในโลกอีกด้วย

การพัฒนา แก้

การเอ่ยถึงการพัฒนา โดตา 2 ต่อสาธารณะเริ่มต้นด้วยการประกาศอย่างไม่เป็นทางการโดยผู้พัฒนา โดตาไอซ์ฟร็อก ผู้กล่าวว่าเขาจะนำทีมพัฒนาที่วาล์ว[5] เขาว่า ความร่วมมือระหว่างเขากับวาล์วนั้นเริ่มต้นขึ้นจากจดหมายที่ทางสตูดิโอส่งมา และถามว่าเขาต้องการเยี่ยมชมสถานที่ทำงานของพวกเขาหรือไม่[6] ผู้จัดการโครงการของวาล์วและผู้อำนวยการ โดตา 2 อีริก จอห์นสัน ต่อมาได้ยืนยันที่ไอซ์ฟร็อกว่า และอ้างว่าได้ "ว่าจ้าง [ไอซ์ฟร็อก] ตรงนั้นเลย"[4] มีข่าวไม่เป็นทางการอีกหลายข่าว รวมทั้งโพสต์ทวิตเตอร์จากนักแสดงพากษ์เสียงนุก ดูเคม จอน เซนต์จอห์น เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวว่า[7] ไม่นานหลังจากไอซ์ฟร็อกบรรยายว่าเขาถูกว่าจ้างโดยวาล์ว บริษัทได้ทำการอ้างสิทธิ์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553[8] และไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการจนกระทั่งเปิดเผยในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เมื่อเกมอินฟอร์เมอร์ประกาศรายละเอียดเฉพาะเกี่ยวกับเกมและการพัฒนา ซึ่งทำให้การเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นจนเกือบจะทำให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม[9] ในวันเดียวกัน วาล์วได้ออกข่าวแจกอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับตัวเกม[10] อีริก จอห์นสันพูดถึงความสับสนเกี่ยวกับรูปแบบการเขียนของเครื่องหมายการค้า โดยกล่าวถึงมันอย่างชัดเจนว่า "โดตา" (Dota) มิใช่ "ดอตเอ" (DotA) เนื่องจากบริบทที่เพิ่มขึ้นในแง่ของคำ มากกว่าที่เป็นตัวย่อของ "ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์"[4]

เนื่องจากเป็นภาคต่อของดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ วัฏจักรการพัฒนาของ โดตา 2 โดยพื้นฐานแล้วจึงมุ่งเน้นไปยังการส่งต่อลักษณะของ DotA ไปยังซอร์สเอนจิน เช่นเดียวกับการพัฒนารูปแบบการเล่นหลัก ในหน้าถาม-ตอบเปิดตัว ไอซ์ฟร็อกว่า Dota 2 จะเป็นการต่อเนื่องระยะยาวของเกม โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นดั้งเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบการเล่นหลักมากนัก ซึ่งอาจเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับจากเกม[4] ไอซ์ฟร็อกว่า เพื่อที่จะเน้นย้ำหลักฐานที่ว่า โดตา 2 เป็นเกมต่อเนื่องจาก DotA การร่วมมือจะยังคงสอดคล้องกับแหล่งที่มานอกทีมพัฒนาหลัก[11] เพื่อปรับให้เข้ากับ โดตา 2 วาล์วได้ทำงานเพื่ออัปเกรดซอร์สเอนจินเพื่อให้รวมไปถึงการจำลองเสื้อผ้าอย่างดี เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบแสง และการพัฒนาสตีมวอร์กส ซึ่งรวมไปถึงการต่อขยายอรรถประโยชน์ให้กว้างขวางขึ้น อย่างเช่น ระบบแนะนำผู้เล่นและระบบฝึกสอน[2]

ประเด็นเครื่องหมายการค้า แก้

มีความไม่เห็นด้วยมากพอสมควรจากอดีตผู้พัฒนา DotA เช่นเดียวกับลูกจ้างของบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้จัดเตรียมผู้พัฒนาด้วยโปรแกรมวอร์คราฟต์ 3 เวิลด์เอดิเตอร์ ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่การพัฒนาม็อด สตีฟ "กึนโซ" ฟีก ผู้พัฒนาคนแรกของ DotA Allstars และสตีฟ "เพนดรากอน" เมสคอน ผู้สร้าง dota-allstars.com และผู้อำนวยการชุมชนสัมพันธ์ของไรเอิตเกม แสดงความกังวลออกมาว่า วาล์วไม่ควรกำหนดชื่อ DotA เป็นเครื่องหมายการค้า เพราะพวกเขามองว่ามันเป็นสมบัติของชุมชน[12] ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เมสคอนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "DOTA" ในนามของ DotA-Allstars, LLC เพื่อป้องกันวาล์วจากการดำเนินการกับแบรนด์ DotA และได้รับสิทธิ์ความเป็นเจ้าของฉากวอร์คราฟต์ 3 จากไอซ์ฟร็อก[13] ร็อบ พาร์โด รองประธานฝ่ายบริหารของบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ได้แสดงความกังวลแบบเดียวกัน โดยอธิบายว่าชื่อ DotA ควรจะคงอยู่ภายในชุมชนวอร์คราฟต์ 3[14] ขณะที่ไม่นานหลังจากนั้น คริส ซิกาตี ผู้นำผู้ผลิตสตาร์คราฟต์ 2 กล่าวว่าข้อพิพาทด้านเครื่องหมายการค้าไม่ใช่ประเด็น โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างบลิซซาร์ดและวาล์ว[15]

อ้างอิง แก้

  1. Napolitano, Jayson (2011-08-23). "Composer Jason Hayes joins audio team at Valve". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-10. สืบค้นเมื่อ 2011-12-04.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Biessener, Adam (2010-10-13). "Valve's New Game Announced, Detailed: Dota 2". Game Informer. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
  3. de Matos, Xav (2010-11-18). "Portal 2 Delayed to 'The Week of April 18'". Shacknews. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Onyett, Charles (2011-01-08). "Valve's Next Game". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-10. สืบค้นเมื่อ 2011-01-07.
  5. IceFrog (2009-10-05). "Great News For DotA Fans". PlayDotA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-03. สืบค้นเมื่อ 2010-07-26.
  6. "Q&A Session #4". PlayDotA.com. April 30, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-29. สืบค้นเมื่อ October 13, 2010.
  7. Wong, Terrence. "The voice of DotA 2". GosuGamers.net. สืบค้นเมื่อ October 13, 2010.
  8. "Latest Status Info". United States Patent and Trademark Office. 2010-08-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  9. "Game Informer Show 43: Dota 2, Medal of Honor". Game Informer. October 14, 2010. สืบค้นเมื่อ February 25, 2011.
  10. "Valve Announces Dota 2". Valve Corporation. October 13, 2010. สืบค้นเมื่อ October 13, 2010.
  11. IceFrog (2010-11-01). "Dota 2 Q&A". Dota2.com. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  12. Sliwinski, Alexander (2010-08-16). "DotA developers voice concern over Valve's 'DOTA' trademark". Joystiq.com. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
  13. "Latest Status Info". United States Patent and Trademark Office. 2010-08-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
  14. Welsh, Oli (2010-10-23). "Valve shouldn't trademark DOTA - Blizzard". Eurogamer.net. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
  15. Leahy, Brian (2010-10-25). "StarCraft 2 BlizzCon 2010 Interview: Lead Producer Chris Sigaty". ShackNews.com. สืบค้นเมื่อ 2011-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้