Ch เป็นทวิอักษรที่พบได้ในหลาย ๆ ภาษา ในบางภาษาจะจัดใช้ ch เป็นอักษรเดี่ยว โดยในพจนานุกรมก็จะไม่ได้รวมอยู่ในหมวดเดียวกับอักษร c แต่จะแยกออกไปต่างหาก อักษร ch ใช้แทนเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษา

Ch

เสียงผสมเสียดแทรก ปุ่มเหงือกกับเพดานแข็ง ไม่ก้อง แก้

ภาษา ตัวอย่างคำ สัทอักษรสากล ความหมาย หมายเหตุ
ภาษากาตาลา ภาษากาตาลา fletxa [ˈfɫett͡ɕə] 'ลูกศร'
ภาษาบาเลนเซีย xec [ˈt͡ɕek] 'ตรวจสอบ'
ภาษาจีน ภาษาจีนกลาง 北京/Běijīng   [peɪ˨˩ t͡ɕiŋ˥] 'ปักกิ่ง'
ภาษาเดนมาร์ก tjener [ˈt͡ɕenɐ] 'คนรับใช้'
ภาษาญี่ปุ่น 知人/chijin [t͡ɕid͡ʑĩɴ] 'คนรู้จัก'
ภาษาเกาหลี /jal [t͡ɕal] 'ดี'
ภาษาโปแลนด์ ćma   [t͡ɕma] 'ผีเสื้อกลางคืน'
ภาษารัสเซีย чуть [t͡ɕʉtʲ] 'อย่างหวุดหวิด'
ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย Ловћен/Lovćen [lǒʋt͡ɕen] 'โลฟเชน'
ภาษาสวีเดน ภาษาฟินแลนด์ kjol [t͡ɕuːl] 'กระโปรง'
ภาษาเวียดนาม cha [t͡ɕa] 'พ่อ'
ภาษาอี้ /ji [t͡ɕi˧] 'เปรี้ยว'

เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง ธนิต แก้

ชาวโรมันใช้อักษร ch ในการถอดอักษร χ ของกรีกเมื่อเขียนคำยืมจากภาษากรีก ซึ่งในภาษากรีกโบราณ อักษรดังกล่าวใช้แทนเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง ธนิต (/kʰ/)

ในภาษาซอร์เบียนบน อักษร ch ก็ใช้แทนเสียงนี้เช่นเดียวกัน

เสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง แก้

ในภาษาเบรอตาญ ฝรั่งเศส และโปรตุเกส รวมทั้งคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสในหลาย ๆ ภาษา อักษร ch จะใช้แทนเสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง (/ʃ/)

ในภาษาเบรอตาญยังมีอักษรที่คล้ายกัน คือ c'h ซึ่งใช้แทนเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง (/x/)

เสียงกักเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง แก้

เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง แก้

ในภาษาอิตาลี อักษร ch ใช้แสดงเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง (/k/) เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ e และ i ในภาษาอังกฤษ อักษร ch ก็ใช้แทนเสียงดังกล่าวเช่นกัน โดยเฉพาะคำยืมจากภาษากรีกที่ในภาษากรีกเขียนด้วยอักษรไค ในภาษาอินเทอร์ลิงกวา อักษร ch ใช้แทนเสียงเดียวกันในทุกกรณี ส่วนในภาษาเยอรมันจะใช้แทนเสียงนี้ก็ต่อเมื่ออยู่นำหน้าอักษร s และในคำยืมภาษาต่างประเทศเมื่ออยู่ในตำแหน่งหน้าสุดและออกเสียงตามสำเนียงท้องถิ่นของทางใต้

เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง แก้

เสียงเสียดแทรก เพดานแข็ง ไม่ก้อง แก้

ในภาษาเยอรมัน อักษร ch ใช้แสดงรูปย่อยหน่วยเสียง 2 รูป คือเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง (/x/) เมื่ออยู่ตามหลังสระหลัง (เหมือนในคำว่า Ach) และเสียงเสียดแทรก เพดานแข็ง ไม่ก้อง (/ç/) เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่น ๆ (เหมือนในคำว่า Ich)

เสียงกัก เพดานแข็ง ไม่ก้อง แก้

เสียงเดาะ ฟัน เพดานอ่อน ธนิต ไม่ก้อง แก้

ในภาษาซูลูและภาษาโคซา อักษร ch ใช้แทนเสียงเดาะ ฟัน เพดานอ่อน ธนิต ไม่ก้อง (/kǀʰ/)

เสียงกัก เส้นเสียง แก้

ในภาษาปาเลา อักษร ch ใช้แทนเสียงกัก เส้นเสียง (/ʔ/) เหมือนเสียง อ ในภาษาไทย

การถอดอักษรเป็นอักษรโรมัน แก้

ในหลาย ๆ ภาษาที่ไม่ใช้อักษรโรมันในระบบการเขียน ได้ใช้อักษร ch ในการถอดอักษรเป็นอักษรโรมัน ซึ่งใช้แทนหน่วยเสียงที่แตกต่างกัน

ภาษาไทย แก้

ตามระบบการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดให้ถอดอักษร จ ฉ ช และ ฌ ที่อยู่ในตำแหน่งพยัญชนะต้นเป็นอักษร ch[1] แม้ว่าอักษรแต่ละตัวจะใช้แทนเสียงที่ต่างกัน คืออักษร จ ใช้แทนเสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ไม่ก้อง สิถิล (/t͡ɕ/) ส่วนอักษร ฉ ช และ ฌ ใช้แทนเสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ไม่ก้อง ธนิต (/t͡ɕʰ/) ก็ตาม อักษรทั้ง 4 ตัวเมื่ออยู่ในตำแหน่งพยัญชนะสะกดให้ถอดเป็น t เหมือนกันหมดตามเสียงอ่านจริง

ภาษาเกาหลี แก้

ตามระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000ของสาธารณรัฐเกาหลี ได้ใช้อักษร ch แทนอักษร ㅊ[2] ซึ่งอักษรดังกล่าวใช้แทนเสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ไม่ก้อง ธนิต (/t͡ɕʰ/) ส่วนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ซึ่งใช้ระบบแมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์นั้น อักษร ch ใช้แทนอักษร ㅈ ส่วนอักษร ㅊ จะใช้อักษร ch' ในการถอด[3]

ภาษาจีน แก้

ตามระบบพินอินของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ใช้อักษร ch แทนเสียงกักเสียดแทรก ปลายลิ้นม้วน ไม่ก้อง ธนิต (/ʈ͡ʂʰ/) ซึ่งตรงกับอักษร ㄔ ในระบบจู้อิน[4] เช่น 茶 (/ʈ͡ʂʰɑ˧˥/) ถอดเป็น chá

ภาษาญี่ปุ่น แก้

ち チ ในภาษาญี่ปุ่น อยู่ในวรรค ท- นิยมถอดรูปเป็น chi รวมทั้งพยางค์ผสมก็จะใช้ ch- ซึ่งออกเสียงอย่าง ช หรือ จ (เหมือนภาษาไทย)

ภาษาที่ใช้อักษรซีริลลิก แก้

ภาษาที่ใช้อักษรอาหรับ แก้

ในหลาย ๆ ภาษาที่รับอักษรอาหรับไปใช้เขียนภาษาของตน ได้สร้างอักษรเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับเสียงในภาษา โดยหลาย ๆ ภาษา เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู ฯลฯ ได้เพิ่มอักษร ﭺ ซึ่งเป็นอักษรที่ไม่มีในภาษาอาหรับแต่เดิม อักษรดังกล่าวนิยมถอดเป็นอักษรโรมันด้วยอักษร ch

ในภาษามลายู แม้ว่าจะใช้อักษร ﭺ ก็ตาม แต่เมื่อถอดเป็นอักษรโรมันแล้วกลับใช้อักษร c

อ้างอิง แก้

  1. http://www.royin.go.th/upload/246/FileUpload/416_2157.pdf
  2. http://www.pinyin.info/romanization/compare/hanyu.html
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2009-07-21.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-04. สืบค้นเมื่อ 2009-07-21.