Certificate of Entitlement (COE) เป็นระบบจำกัดจำนวนยานยนต์ของรัฐบาลสิงคโปร์ เริ่มใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 ผู้ซื้อยานยนต์จะต้องประมูลซื้อ COE โดยที่ COE มีจำนวนจำกัดภายใต้การควบคุมของรัฐ ผู้ถือ COE มีสิทธิ์ครอบครองยานยนต์ได้เป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบเวลาดังกล่าวจะต้องทำลายยานยนต์หรือ ส่งออกยานยนต์ หรือต่ออายุ COE ไปอีกหนึ่งครั้งมีกำหนด 5 หรือ 10 ปี (ต่ออายุได้เพียงครั้งเดียว)

ด้วยระบบ COE ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่ส่งออกยานยนต์ใช้แล้วอันดับสองของโลกรองจากญี่ปุ่น นอกจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้ว ยานยนต์มือสองจากสิงคโปร์ส่งไปไกลถึงนิวซีแลนด์ ลิเบีย และทรินิแดด[1] โดยผู้ส่งออกรถยนต์ได้รับแรงจูงใจทางการเงินจาก Preferential Additional Registration Fee (PARF)

ประเภทของ COE แก้

  • ประเภทถ่ายโอนมิได้:
  • ประเภท A: รถยนต์ (1,600 ซีซีหรือต่ำกว่า) และแท๊กซี่
  • ประเภท B: รถยนต์ (ตั้งแต่ 1,601 ซีซี ขึ้นไป)
  • ประเภท D: จักรยานยนต์
  • ประเภทถ่ายโอนได้:
  • ประเภท C: รถขนส่งสินค้าและรถโดยสารขนาดใหญ่
  • ประเภท E: Open Category (ใช้กับยานยนต์ประเภทใดก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักนำไปใช้กับรถยนต์)

การประมูล COE เริ่มต้นในวันจันทร์แรกและวันจันทร์ที่สามของเดือน และมักจะดำเนินต่อไปถึงวันพุธ (อาจเลื่อนออกไปถ้าเป็นวันหยุดทำการ) ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 ถึง ค.ศ. 2011 การเติบโตของยานยนต์ถูกกำหนดไว้ที่ 1.5% ต่อปี สำหรับในครึ่งแรกของ ค.ศ. 2012 (ก.พ.-ก.ค.) จะคงอัตรานี้ต่อไปชั่วคราว และจากนี้ต่อไปถึง ค.ศ. 2014 จะลดอัตราการเติบโตเหลือเพียง 0.5% อย่างไรก็ดี การประมูล COE จะนำยอดยานยนต์ที่ถูกทำลายหรือส่งออกไปแล้วกลับมาให้ประมูลใหม่ด้วย

การวิพากษ์วิจารณ์ แก้

ระบบ COE เอื้อประโยชน์แก่ผู้มั่งมีโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นในการใช้ยานยนต์ คนจน ชนชั้นกลาง ตลอดจนธุรกิจขนส่งต่างได้รับผลกระทบจากความอ่อนไหวของราคา COE ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและถูกกำหนดโดยอุปสงค์ของกลุ่มผู้มั่งมี

อ้างอิง แก้

  1. Farah Abdul Rahim (2005-10-23). "100,000 used Singapore cars expected to be exported this year". Channel NewsAsia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-29. สืบค้นเมื่อ 2012-04-16.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้