Baumol's (cost) disease คือทฤษฎีที่กล่าวโดย William J. Baumol และ William G. Bowen ในช่วงปี 1960s ถึงการเปลี่ยนแปลงของฐานเงินเดือนของคนงานในธุรกิจหนึ่งโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในผลผลิต แต่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอีกธุรกิจหนึ่ง

ธุรกิจในกลุ่มแรก จะเกี่ยวข้องกับการให้บริการเช่น การศึกษา, ตำรวจ, และ พยาบาล เป็นต้น ซึ่งกลุ่มธุรกิจนี้จะมีผลการเติบโตน้อยมากด้วยเหตุผลที่ว่า มันยังต้องการใช้เวลาเท่าๆ กันทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น ครูยังต้องใช้เวลาเท่ากันในการอ่านรายงาน, พยาบาลต้องใช้เวลาเท่ากันในการทำแผล, ตำรวจต้องสอบปากคำ ซึ่งทั้งอดีตและปัจจุบัน

แต่ ธุรกิจในกลุ่มหลัง จะเกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น โรงงาน การเกษตร เป็นต้น ธุรกิจกลุ่มนี้จะง่ายต่อการประเมินผลประกอบการ และมีการพัฒนาในเทคโนโลยีซึ่งช่วยในการผลิต เช่น 40 ปีก่อน ชาวนาต้องเดินเก็บข้าวโพดเอง แต่ตอนนี้มีเครื่องจักร, โรงงานแทนที่คนงานด้วยเครื่องจักร เพื่อเพิ่มผลผลิต

Baumol's disease มักจะถูกใช้เพื่ออธิบายถึงการขาดการเติบโตในกลุ่มธุรกิจบริการดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งมีผลกระทบต่อ GDP ซึ่งในกลุ่มบริการนี้จะมีผลกับภาษีมากกว่า GDP

ควรศึกษาควบคู่กับเรื่อง New Growth Theory

อ้างอิง แก้

  1. Baumol's cost disease : http://en.wikipedia.org/wiki/Baumol%27s_cost_disease
  2. Is the Economy Immune to Baumol’s Disease? : http://blogs.wsj.com/economics/2007/08/13/is-the-economy-immune-to-baumols-disease/ เก็บถาวร 2011-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Baumol's Disease: Is There a Cure? : http://www.infomanagementcenter.com/enewsletter/200608/baumol.htm เก็บถาวร 2008-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน