ATM SafetyPIN software เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีกลไกให้ผู้ที่ถูกข่มขู่ให้ถอนเงินจากเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ สามารถแจ้งตำรวจได้โดยใส่รหัสประจำตัวย้อนหลัง[1] ระบบโปรแกรมประยุกต์นี้ได้คิดค้นและจดสิทธิบัตรโดยทนายรัฐอิลลินอย ชื่อ Joseph Zingher (U.S. Patent 5,731,575) แม้ว่าจะมีเรื่องหลอกลวงแพร่สะพัดว่าหากถูกข่มขู่ให้ถอนเงินแล้วก็ให้ใช้วิธีนี้เพื่อเรียกตำรวจมา แต่อันที่จริงแล้ว ระบบนี้ไม่ได้นำมาใช้งานจริงโดยเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติใดเลยในปัจจุบัน[2]

ประวัติ แก้

แนวคิดของระบบรหัสประจำตัวฉุกเฉิน หรือรหัสบ่งบอกการถูกข่มขู่สำหรับเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ เท่าที่ทราบได้มีการกล่าวถึงตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ซึ่งได้เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาที่เคยเป็นตำรวจมาก่อนชื่อ Mario Biaggi ข้อเสนอนี้ได้บันทึกไว้ในบันทึกคองเกรซ pp. 18232 et seq ต่อมา Biaggi ก็ได้เสนอมติสภาหมายเลข 785 (H.R. 785) ใน พ.ศ. 2530[3] ว่าให้สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกาสามารถติดตามปัญหาการลักพาตัวแบบด่วน (หมายถึงการลักพาตัวโดยที่ครอบครัวเหยื่อสามารถหาเงินมาจ่ายได้ง่าย รวมถึงกรณีการข่มขู่ให้กดเงินจากเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติด้วย) และให้ประเมินถึงการนำระบบรหัสประจำตัวฉุกเฉินมาใช้ อย่างไรก็ตาม มติสภานี้ได้จบลงโดยยังไม่ได้อภิปรายกันเลย

ถึงแม้ Joseph Zingher ซึ่งได้จดสิทธิบัตรเรื่องนี้ไว้จะไม่ประสบความสำเร็จในการขายระบบดังกล่าว[4] แต่ตำรวจในรัฐนิวยอร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐโอไฮโอ และรัฐอิลลินอยต่างสนับสนุนแนวคิดรหัสประจำตัวฉุกเฉินโดยการใส่รหัสย้อนหลัง[5][6][7][8] รัฐอิลลินอยเคยผ่านกฎหมายให้ธนาคารต้องออกแบบให้เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติรองรับความสามารถนี้ แต่ภายหลังออกกฎหมายเพิ่มเติมโดยแก้จาก "ต้องออกแบบเช่นนั้น" ไปเป็น "อาจจะออกแบบเช่นนั้น"[9][10][11][12]

ใน พ.ศ. 2549 มีเรื่องหลอกลวงในอีเมลลูกโซ่แพร่กระจายโดยกล่าวไว้ว่าระบบการกรอกรหัสประจำตัวย้อนหลังเพื่อแจ้งการถูกข่มขู่ได้ติดตั้งอยู่ในเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติทั่วโลก[2] หนังสือด้านธุรกิจชื่อ American Banker ได้รายงานในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2550 ว่าไม่มีการใช้ระบบที่กล่าวอ้างในจดหมายลูกโซ่ในเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติใดในขณะนั้นเลย

เรื่องหลอกลวงยังคงแพร่สะพัดต่อไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ที่ออสเตรเลีย โดยปรากฏข้อความว่า

If you should ever be forced by a robber to withdraw money from an ATM, you can notify the police by entering your PIN in reverse. For example if your PIN is 1234 then you would put in 4321. The ATM recognizes that your PIN is backwards from the ATM card you placed in the machine. The machine will still give you the money you requested, but unknown to the robber, the police will be immediately dispatched to help you. This information was recently broadcasted [sic] on TV and it states that it is seldom used because people don't know it exists. Please pass this along to everyone possible. Australian Federal Police. AFP Web site: http://www.afp.gov.au

ปัจจุบัน อีเมลลูกโซ่นี้ก็ยังคงแพร่สะพัดอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ถ้ามีการออกแบบให้เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติรองรับความสามารถในการรับรหัสผ่านย้อนหลังดังกล่าวนี้จริง รหัสผ่านที่เป็นเลขพาลินโดรม เช่น 5555 หรือ 2112 ก็จะไม่สามารถใช้ได้ เพราะจะทำให้การกดรหัสประจำตัวที่ถูกต้องกลายเป็นการกดรหัสฉุกเฉินไปด้วย นอกจากนี้ ผู้ใช้ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านที่เกือบจะเป็นเลขพาลินโดรม เช่น 5255 หรือ 1241 เพราะการกดรหัสประจำตัวตามปกติอาจพลาดไปเป็นการกดรหัสฉุกเฉินได้โดยอุบัติเหตุ

อ้างอิง แก้

  1. ZICUBED ATM SAFETYPIN ATM Safety PIN aka Reverse PIN Web Site.
  2. 2.0 2.1 Security Update - Reverse PIN Hoax เก็บถาวร 2013-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Diebold, Inc. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Diebold" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Bill Summary & Status 100th Congress (1987 - 1988) - H.R.785[ลิงก์เสีย]
  4. Why Great Ideas Get Shot Down CNNMoney.com, 01-27-2006
  5. Asbury Park Press, January 25th, 2006
  6. Are Local Banks Doing All They Can To Protect ATM Users? เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Jesse Jones, WLWT. March 3, 2004
  7. St.Louis Post Dispatch, March 27th, 2005
  8. "Wichita Eagle" April 19, 2001
  9. St. Louis Post Dispatch, March 27, 2005
  10. Public Act 093-0898 Illinois General Assembly
  11. FINANCIAL REGULATION (205 ILCS 616/) Electronic Fund Transfer Act Illinois General Assembly
  12. Banking on ATM Safety Forbes, 01-28-2004