9แก๊ก (อังกฤษ: 9GAG) เป็นเว็บไซต์ขำขันภาษาอังกฤษซึ่งดำเนินการโดยกลุ่ม Rollin' Egg โดยเป็นที่รู้จักเนื่องจากเว็บไซต์นี้มักนำอินเทอร์เน็ตมีมมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสร้างความบันเทิง

9แก๊ก
ประเภทเว็บไซต์ให้ความบันเทิง
ภาษาที่ใช้ได้ภาษาอังกฤษ
เจ้าของกลุ่ม Rollin' Egg
สร้างโดยเรย์ ชาน, เดเรค ชาน, คริส ชาน, ไบรอัน ยู[1]
ยูอาร์แอล9gag.com
ลงทะเบียนจำเป็นสำหรับการเพิ่มเนื้อหา

เนื้อหาและรูปแบบ แก้

เว็บไซต์ไนน์แก๊กมีการนำเสนอในรูปแบบคล้ายบล็อก โดยโพสต์แต่ละโพสต์จะเรียกว่า "แก๊ก" และในแต่ละหน้าจะแสดงแก๊กทั้งหมด 9 แก๊ก อันเป็นที่มาของชื่อเว็บไซต์ แก๊กต่าง ๆ เหล่านี้จะประกอบด้วยรูปภาพทั้งหมด (ในบางครั้งอาจพบเป็นวิดีโอยูทูบ) โดยอาจมีคำบรรยายภาพ พร้อมกับหัวเรื่องซึ่งอธิบายแก๊กต่าง ๆ เหล่านี้อย่างสั้น ๆ เนื้อหาของแก๊กต่าง ๆ มักจะเป็นการนำอินเทอร์เน็ตมีมที่มีอยู่แล้วมาใช้ซ้ำ เช่น การใช้ตัวละครการ์ตูนที่มีรูปหน้าโมโห (Rage comic) ลอลแคท (Lolcat; ภาพแมวพร้อมคำบรรยายภาพโดยเจตนาจะให้เกิดอารมณ์ขัน) ภาพสเก็ตซ์ชีวิตประจำวันในเชิงขำ ๆ แก๊กเกี่ยวกับสามัญทัศน์ของผู้ชาย ผู้หญิง นักการเมือง หรือประเด็นอื่น ๆ ข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อศิลปินและนักแสดง กับผลงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น ที่เกี่ยวกับจัสติน บีเบอร์หรือโรเบิร์ต แพททินสัน) ประเด็นเกี่ยวกับเกรียนบนอินเทอร์เน็ต (Trolling) ชีวิตมนุษย์ในแง่ขำขันหรือแง่โศกเศร้า การล้อเลียนหรือความเห็นต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน คำพูด เป็นต้น ในบางครั้งไนน์แก๊กยังมีการเรียกให้รวมใจเป็นหนึ่งเดียวด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย

เว็บไซต์ไนน์แก๊กไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน แต่ฟังก์ชันบางประการจำเป็นต้องลงทะเบียน เช่น การแสดงความเห็น การเข้าชมเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทางเพศหรือทางภาษา และการโพสต์แก๊ก โดยเมื่อผู้ใช้โพสต์แก๊กลงไปแล้ว แก๊กต่าง ๆ จะเข้าสู่กระบวนการโหวด หากมีจำนวนโหวดมากพอ แก๊กอาจเลื่อนไปสู่หมวดเทรนดิง (Trending) ซึ่งสามารถนำไปปรากฏที่หน้าหลักได้

การจัดอันดับเว็บไซต์ แก้

ด้วยลักษณะเนื้อหาของเว็บไซต์ ทำให้ไนน์แก๊กติดอันดับ 315 ของเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกตามการจัดอันดับของอเล็กซา[2] โดยเมื่อจำแนกตามประเทศ ไนน์แก๊กเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 20 ในโปรตุเกส ลำดับที่ 21 ในมาซิโดเนีย ลำดับที่ 33 ในเอสโตเนีย ลำดับที่ 302 ในไทย ลำดับที่ 339 ในเยอรมัน ลำดับที่ 557 ในสหราชอาณาจักร และลำดับที่ 817 ในสหรัฐอเมริกา

เคลย์ เชอร์กี ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ Cognitive Surplus: Creativity and Generosity in the Connected Age ว่าไนน์แก๊กเป็นผลิตผลของกระบวนการสร้างสรรค์เวลาว่างของมนุษย์[3]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์ แก้

การคุกคามทางไซเบอร์ แก้

เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 มีรายงานว่าสมาชิกไนน์แก๊กได้มีส่วนร่วมในการคุกคามหน้าเฟซบุ๊กซึ่งเป็นอนุสรณ์ของอแมนดา คัมมิงส์ อายุสิบห้าปีที่ก่ออัตวินิบาตกรรม โดยการโพสต์ข้อความและรูปภาพอันไม่เหมาะสมเชิงดูถูกและเย้ยหยันมรณกรรมของเธอ[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "About 9GAG". 9GAG. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-04. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "Statistics Summary for 9gag.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ January 22, 2012. เก็บถาวร 2016-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Shirky, Clay (2010). Cognitive surplus : creativity and generosity in a connected age (1. publ. ed.). New York: Penguin Press. p. 242. ISBN 9781594202537.[ลิงก์เสีย]
  4. 0,7811987.story? 'Activists Counter Cyber Attack Against Bully Victim Amanda Cummings'PIX11 News, 7 January 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้