2 พงศาวดาร 1 (อังกฤษ: 2 Chronicles 1) เป็นบทแรกของหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่ 2 ของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 1 ของ 2 พงศาวดารเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่รัชสมัยของซาโลมอน (2 พงศาวดาร 1 ถึง 9)[1] จุดเน้นของบทนี้คือความรุ่งเรืองและความมั่งคั่งของซาโลมอน[4]

2 พงศาวดาร 1
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์14

ต้นฉบับ แก้

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 17 วรรคในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ แต่แบ่งเป็น 18 วรรคในคัมภีร์ฮีบรู ดังการเปรียบเทียบเลขวรรคต่อไปนี้:[5]

การกำหนดเลขวรรคของ 2 พงศาวดาร 1 และ 2
ไทย/อังกฤษ ฮีบรู
1:1-17 1:1-17
2:1 1:18
2:2-18 2:1-17

บทความนี้อิงตามกำหนดเลขวรรคในคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยและภาษาอังกฤษของศาสนาคริสต์โดยทั่วไป

พยานต้นฉบับ แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5)[7][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม แก้

การถวายเครื่องบูชาและการอธิษฐานของซาโลมอนที่กิเบโอน (1:1–13) แก้

เนื้อหาในส่วนนี้บันทึกถึงการที่ซาโลมอนเริ่มรัชสมัยของพระองค์สืบทอดจากดาวิดในสหราชาธิปไตย โดยที่ดาวิดได้ทรงเตรียมการสนับสนุนราชกิจของซาโลมอนไว้ล่วงหน้าแล้ว (1 พงศาวดาร 2529)[12] ในวรรค 3–5 ผู้เขียนหนังสือพงศาวดารพยายามกล่าวรวมสถานที่และสิ่งของสักการะที่ถูกต้องทั้งหมด ได้แก่พลับพลาที่สร้างโดยโมเสสในถิ่นทุรกันดารซึ่งตั้งอยู่ในกิเอโบน (1 พงศาวดาร 16:39; 21:29) และหีบแห่งพันธสัญญาที่ตั้งอยู่ในเต็นท์โดยดาวิดในเยรูซาเล็ม[4] ผู้เขียนหนังสือพงศาวดารตั้งใจนำเสนอ 'ชนชาติใหญ่ ซึ่งไม่สามารถจะนับหรือคำนวณได้' (1 พงศ์กษัตริย์ 3:8) ให้เป็น 'ชนชาติที่มากมายเหมือนผงคลีของแผ่นดินโลก' (วรรค 9) หมายถึงพระสัญญาที่พระเจ้าทรงทำไว้กับยาโคบ (หรือ "อิสราเอล") ในปฐมกาล 28:14 [4] การอ้างถึงพระสัญญาที่จะสร้างราชวงศ์นิรันดร์แก่ดาวิด ('ขอให้พระสัญญาของพระองค์ ที่มีต่อดาวิดเสด็จพ่อของข้าพระองค์เป็นจริง ณ บัดนี้'; เปรียบเทียบกับ 1 พงศาวดาร 17:11-12) หมายถึงวรรค 1 ซึ่งซาโลมอนได้รับการแนะนำในฐานะพระราชโอรสและผู้สืบทอดโดยชอบธรรมของดาวิดโดยการทรงเลือกของพระเจ้า[4][12]

วรรค 3 แก้

แล้วซาโลมอนกับชุมนุมชนทั้งหมดที่อยู่กับพระองค์ขึ้นไปที่ปูชนียสถานสูง ซึ่งอยู่ที่กิเบโอนเพราะเต็นท์นัดพบของพระเจ้า ซึ่งโมเสสผู้รับใช้ของพระยาห์เวห์สร้างขึ้นในถิ่นทุรกันดารอยู่ที่นั่น[13]
  • "ปูชนียสถานสูง": หรือ "สถานนมัสการ"[14]

ความมั่งคั่งของซาโลมอน (1:14–17) แก้

บันทึกเกี่ยวกับความมั่งคั่งของซาโลมอนในส่วนนี้แทบจะเหมือนความในหนังสืออื่น (1 พงศ์กษัตริย์ 10:26-29)[4] ความนี้เป็นการแสดงตัวอย่างของผลสัมฤทธิ์แห่งพระสัญญาของพระเจ้าต่อซาโลมอนในกิเอโอน[15]

วรรค 17 แก้

พวกเขานำรถรบเข้ามาจากอียิปต์ราคาคันละเท่ากับเงิน 600 เชเขล และม้าตัวละ 150 เชเขล แล้วพวกเขาก็ส่งออกไปยังบรรดากษัตริย์ของคนฮิตไทต์ และบรรดากษัตริย์ของคนซีเรีย[16]
  • "เงิน 600 เชเขล": ประมาณ 15 ปอนด์หรือ 6.9 กิโลกรัม[17]
  • "เชเขล": ประมาณ 2/5 ออนซ์หรือ 11 กรัม[18]
  • "150 เชเขล": ประมาณ 3¾ ปอนด์หรือ 1.7 กิโลกรัม[19]

ดูเพิ่ม แก้

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ปฐมกาล 28, อพยพ 40, 1 พงศ์กษัตริย์ 3, 1 พงศ์กษัตริย์ 10, สดุดี 45, สดุดี 72, 1 พงศาวดาร 16, 1 พงศาวดาร 29
  • หมายเหตุ แก้

    1. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[8][9][10]

    อ้างอิง แก้

    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Mathys 2007, p. 284.
    5. หมายเหตุ [1] ของ 2 พงศาวดาร 2:1 ใน NET Bible
    6. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    7. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    8. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    9. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    10. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    11. 11.0 11.1 2 Chronicles 1 Berean Study Bible. Biblehub
    12. 12.0 12.1 Coogan 2007, p. 619 Hebrew Bible.
    13. 2 พงศาวดาร 1:3 THSV11
    14. หมายเหตุของ 2 พงศาวดาร 1:3 ใน NKJV
    15. Coogan 2007, p. 620 Hebrew Bible.
    16. 2 พงศาวดาร 1:17 THSV11
    17. หมายเหตุ [a] ของ 2 พงศาวดาร 1:17 ใน MEV
    18. หมายเหตุของ 2 พงศาวดาร 1:17 ใน ESV
    19. หมายเหตุ [b] ของ 2 พงศาวดาร 1:17 ใน MEV

    บรรณานุกรม แก้

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้