ไวยากรณ์ภาษาเบงกอล

ภาษาเบงกอลเป็นภาษาที่มีการผันคำตามการกเช่นเดียวกับภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่น ๆ แต่ไม่มีการผันคำตามเพศ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา

คำสรรพนาม แก้

คำสรรพนามแบ่งเป็นบุรุษที่ 1 2 และ 3 และแบ่งเป็นเอกพจน์กับพหูพจน์ ไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ มีการแบ่งสรรพนามบุรุษที่ 3 ตามความใกล้เคียงคือใช้กับผู้ที่อยู่ใกล้ อยู่ไกลออกไปและไม่อยู่ในสถานที่นั้น และยังแบ่งสรรพนามตามระดับความสนิทสนมและความสุภาพ

มีการผันสรรพนามตามการก การกประธานใช้กับสรรพนามที่เป็นประธานของประโยค การกกรรมใช้กับสรรพนามที่เป็นกรรมตรงหรือกรรมรองของประโยค ตารางต่อไปนี้เป็นการแสดงสรรพนามแทนบุคคลในการกประธานและการกกรรม

สรรพนามประธาน
ประธาน Proximity ความสุภาพ เอกพจน์ พหูพจน์
1 ami (I) amra (we)
2 สนิทมาก tui (you) tora (you)
สนิท tumi (you) tomra (you)
สุภาพ apni (you) apnara (you)
3 ที่นี่ สนิท e (he/she) era (they)
สุภาพ ini (he/she) ẽra (they)
ที่โน่น สนิท o (he/she) ora (they)
สุภาพ uni (he/she) őra (they)
ที่อื่น สนิท she (he/she) tara (they)
สุภาพ tini (he/she) tãra (they)
สรรพนามการกกรรม
ประธาน Proximity ความสุภาพ เอกพจน์ พหูพจน์
1 amake (me) amader (us)
2 สนิทมาก toke (you) toder (you)
สนิท tomake (you) tomader (you)
สุภาพ apnake (you) apnader (you)
3 ที่นี่ สนิท eke (him/her) eder (them)
สุภาพ ẽke (him/her) ẽder (them)
ที่โน่น สนิท oke (him/her) oder (them)
สุภาพ õke (him/her) őder (them)
ที่อื่น สนิท take (him/her) tader (them)
สุภาพ tãke (him/her) tãder (them)
สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ
ประธาน Proximity ความสุภาพ เอกพจน์ พหูพจน์
1 amar (my) amader (our)
2 สนิทมาก tor (your) toder (your)
สนิท tomar (your) tomader (your)
สุภาพ apnar (your) apnader (your)
3 ที่นี่ สนิท er (his/her) eder (their)
สุภาพ ẽr (his/her) ẽder (their)
ที่โน่น สนิท or (his/her) oder (their)
สุภาพ õr (his/her) őder (their)
ที่อื่น สนิท tar (his/her) tader (their)
สุภาพ tãr (his/her) tãder (their)


คำนาม แก้

การก แก้

คำนามมีการผันตามการกเช่นกันโดยการกสำหรับนามได้แก่ การกประธาน การกกรรม การกแสดงความเป็นเจ้าของ และการกสถานที่ การผันคำนามขึ้นกับการมีหรือไม่มีชีวิตของคำนามด้วย

การผันนามเอกพจน์
มีชีวิต ไม่มีชีวิต
ประธาน chhatro-ţa

the student

juta-ţa

the shoe

กรรม chhatro-ţa-ke

the student

juta-ţa

the shoe

ความเป็นเจ้าของ chhatro-ţa-r

the student's

juta-ţa-r

the shoe's

สถานที่ - juta-ţa- (t) e

on/in the shoe

การผันนามพหูพจน์
มีชีวิต ไม่มีชีวิต
ประธาน chhatro-ra

the students

juta-gula

the shoes

กรรม chhatro-der (ke)

the students

juta-gula

the shoes

ความเป็นเจ้าของ chhatro-der

the students'

juta-gula-r

the shoes'

สถานที่ - juta-gula-te

on/in the shoes

คำลักษณนาม แก้

ในการนับ ภาษาเบงกอลมีคำลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาในเอเชียอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาไทย คำลักษณนามอยู่ระหว่างตัวเลขและนาม นามทั่วไปมีคำลักษณนามรวมคือ ta แต่มีนามจำนวนมากที่มีคำลักษณนามจำเพาะ เช่น jon ใช้กับมนุษย์เท่านั้น

การละคำลักษณนามในประโยคถือว่าผิดไวยากรณ์ แต่การใช้ลักษณนามโดยละคำนามนั้นถือว่ายอมรับได้ เช่นใช้ jon แทนคำว่า loke (บุคคล) ในประโยคได้ เพราะ jon เป็นลักษณนามของ loke เท่านั้น

ปรบท แก้

ตรงกับคำบุพบทในภาษาไทย เพียงแต่วางไว้หลังคำนามการกกรรม การกความเป็นเจ้าของ หรือแสดงสถานที่ ตัวอย่างปรบทได้แก่ ปรบทสำหรับการกประธาน เช่น age (ก่อน) oi pare (ข้าม) jonno (สำหรับ) ปรบทสำหรับการกกรรม เช่น dhore (เป็นเวลา) porjonto (จนกระทั่ง) nie (รวม)

คำกริยา แก้

คำกริยาในภาษาเบงกอลประกอบด้วยรากศัพท์และคำลงท้าย การสร้างนามกริยาทำได้โดยการเติม –a เข้ากับรากศัพท์ เช่น rakha (การวาง) รากศัพท์อาจจะลงท้ายด้วยสระหรือพยัญชนะ คำริยาประกอบด้วยการผันตามกาลและบุคคลซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตรงส่วนท้ายคำ เสียงสระในคำอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับอิทธิพลจากสระอื่น เช่น รากศัพท์ lekh (เขียน) เป็น tomara lekho (พวกเธอเขียน) และ amara likhi (พวกเราเขียน)

บุคคลและรูปแบบ แก้

คำกริยาผันตามบุคคลและระดับความนับถือแต่ไม่ผันตามจำนวน รูปแบบของกริยามีสองแบบคือ แบบบ่งชี้ใช้กับการยืนยันข้อเท็จจริง และแบบบังคับใช้แสดงความเห็น

กาล แก้

ภาษาเบงกอลมีกาลธรรมดาสี่แบบ คือ ปัจจุบันธรรมดา อดีตกาลธรรมดา อดีตตามประเพณี และอนาคตกาล