ไทรเซราทอปส์

(เปลี่ยนทางจาก ไทรเซอราทอปส์)

ไทรเซราทอปส์ (อังกฤษ: triceratops) เป็นสกุลไดโนเสาร์กินพืชที่สูญพันธุ์แล้วที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปลาย Maastrichtian ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ประมาณ 68 ล้านปีก่อนในบริเวณที่ปัจจุบันคืออเมริกาเหนือ มันเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ตัวสุดท้ายในจำพวกไดโนเสาร์ไม่ใช่นก (non-avian dinosaur) และสูญพันธุ์ในเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีนเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ชื่อ triceratops ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า 'หน้าสามเขา' มาจากศัพท์ภาษากรีกโบราณว่า trí- (τρί-) หมายถึง 'สาม', kéras (κέρας) หมายถึง 'เขา' และ ṓps (ὤψ) หมายถึง 'หน้า'

ไทรเซราทอปส์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนปลาย (Maastrichtian), 68–66Ma
Triceratops horridus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
เคลด: ไดโนเสาร์
เคลด: ออร์นิทิสเกีย
อันดับย่อย: Ceratopsia
วงศ์: Ceratopsidae
วงศ์ย่อย: Chasmosaurinae
เผ่า: Triceratopsini
สกุล: Triceratops
Marsh, 1889
ชนิดต้นแบบ
Triceratops horridus
Marsh, 1889
Species
  • T. horridus (Marsh, 1889)
  • T. prorsus Marsh, 1890
ชื่อพ้อง
List

ไทรเซราทอปส์มีกระโหลกที่มีเขา 3 เขา แถบริมกระดูกขนาดใหญ่ และร่างกายขนาดใหญ่ที่เดินสี่ขา โดยเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีความยาวถึง 9 เมตร (29.5 ฟุต) และหนัก {{convert|12|MT|ST} ไทรเซราทอปส์มักแสดงร่วมกับหรือเป็นเหยื่อของไทแรนโนซอรัส ถึงแม้ว่ายังไม่มีความแน่ใจว่าทั้งสองตัวนี้เคยสู้กันเหมือนที่พิพิธภัณฑ์จัดแสดงหรือตามภาพยอดนิยมหรือไม่ก็ตาม การใช้งานของแถบริมกระดูกและเขาสามกันบนหัวยังคงเป็นที่ถกเถียง ในอดีต เขานี้ถูกมองเป็นอาวุธป้องกันนักล่า แต่ในช่วงล่าสุดได้ตีความว่าคุณสมบัตินี้มักใช้ในการระบุสปีชีส์ หาคู่ และแสดงความเป็นใหญ่ เหมือนกับเขากวางและกีบเท้าในปัจจุบัน

ไทรเซราทอปส์ เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์และเซราทอปซิด (ceratopsid) ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และมักถูกนำเสนอในภาพยนตร์, แสตมป์ และสื่ออื่น ๆ[1]

รายละเอียด แก้

ขนาด แก้

 
การเปรียบเทียบขนาดของ T. horridus ในสีน้ำเงินและ T. prorsus ในสีแดง

มีการประมาณการว่า ไทรเซราทอปส์ มีความยาวประมาณ 7.9 ถึง 9 เมตร (25.9 ถึง 29.5 ฟุต) สูง 2.9 ถึง 3.0 เมตร (9.5 ถึง 9.8 ฟุต)[2][3] และมีน้ำหนัก 6.1 ถึง 12.0 เมตริกตัน (6.7 ถึง 13.2 short ton)[4] ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มสัตว์บนพื้นดินคือกะโหลกขนาดใหญ่ มีการประมาณการว่าถ้าประกอบได้สมบูรณ์ กะโหลกที่ใหญ่ที่สุด (ตัวอย่าง MWC 7584 อดีตมีรหัสเป็น BYU 12183) จะมีความยาวประมาณ 2.5 เมตร (8.2 ฟุต)[5] และอาจมีความยาวถึงหนึ่งในสามของทั้งตัว[6] ตัวอย่าง T. horridus ที่มีชื่อว่าเคลซี (Kelsey) มีความยาว 7.3 เมตร (24 ฟุต) ที่มีกะโหลกขนาด 2 เมตร (6.5 ฟุต) สูงประมาณ 2.3 เมตร (7.5 ฟุต) และทางสมาคมแบล็กฮิลส์ (Black Hills institute) ประมาณการว่ามีน้ำหนักเกือบ 6 เมตริกตัน (6.6 short ton)[7] ส่วนเกรกอรี เอส. พอล ประมาณการ ไทรเซราทอปส์ ว่ามีความยาว 8 เมตร (26.2 ฟุต) และอาจมีน้ำหนัก 9 เมตริกตัน (9.9 short ton)[8]

การพรรณนา แก้

 
ภาพวาดใน ค.ศ. 1901 โดยชาลส์ อาร์. ไนต์

ไทรเซราทอปส์ เป็นฟอสซิลประจำรัฐเซาท์ดาโคตา[9] และเป็นไดโนเสาร์ทางการของรัฐไวโอมิง[10] ใน ค.ศ. 1942 ชาลส์ อาร์. ไนต์ได้วาดภาพการเผชิญหน้าระหว่าง ไทแรนโนซอรัส กับ ไทรเซราทอปส์ ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟีลด์ของสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก จัดตั้งให้พวกมันเป็นศัตรูในจินตนาการยอดนิยม[11] Bob Bakker นักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า การจินตนาการความเป็นศัตรูระหว่างไทแรนโนซอรัสกับไทรเซราทอปส์นั้น "ไม่มีการจับคู่ระหว่างนักล่าและเหยื่อชนิดใดที่น่าเร้าใจไปกว่าสิ่งนี้ เป็นการเหมาะสมอย่างยิ่งที่ศัตรูตัวฉกาจสองตัวดำเนินชีวิตตามวิวัฒนาการของการต่อสู้ในวันสุดท้ายของสมัยสุดท้ายของยุคไดโนเสาร์"[11]


อ้างอิง แก้

  1. "Melbourne Museum acquires world's most complete triceratops skeleton in 'immense' dinosaur deal". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). December 2, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2021. สืบค้นเมื่อ February 10, 2021.
  2. "T Dinosaurs Page 2". DinoDictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2020. สืบค้นเมื่อ August 3, 2010.
  3. "Triceratops in The Natural History Museum's Dino Directory". Internt.nhm.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 17, 2009. สืบค้นเมื่อ August 3, 2010.
  4. Alexander, R.M. (1985). "Mechanics of posture and gait of some large dinosaurs". Zoological Journal of the Linnean Society. 83: 1–25. doi:10.1111/j.1096-3642.1985.tb00871.x.
  5. Scannella, J.; Horner, J.R. (2010). "Torosaurus Marsh, 1891, is Triceratops Marsh, 1889 (Ceratopsidae: Chasmosaurinae): synonymy through ontogeny". Journal of Vertebrate Paleontology. 30 (4): 1157–1168. doi:10.1080/02724634.2010.483632. S2CID 86767957.
  6. Lambert, D. (1993). The Ultimate Dinosaur Book. Dorling Kindersley, New York. pp. 152–167. ISBN 978-1-56458-304-8.
  7. "A Triceratops Named 'Kelsey'". www.bhigr.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2017. สืบค้นเมื่อ December 22, 2017.
  8. Paul, G. S. (2010). The Princeton Field Guide to Dinosaurs. Princeton University Press. pp. 265–267. ISBN 978-0-691-13720-9.
  9. State of South Dakota. "Signs and Symbols of South Dakota..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2008. สืบค้นเมื่อ January 20, 2007.
  10. State of Wyoming. "State of Wyoming – General Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2007. สืบค้นเมื่อ January 20, 2007.
  11. 11.0 11.1 Bakker, R. T. (1986). The Dinosaur Heresies. New York: Kensington Publishing. p. 240. On that page, Bakker has his own T. rex/Triceratops fight.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้