ไทม์ลาย (อังกฤษ: Timelie) เป็นเกมแนวแก้ไขปริศนา จากค่ายเกมสัญชาติไทย Urnique Studio[3] โดยเกมจะให้เรารับบทเป็นหญิงสาวที่ตื่นขึ้นมาในห้องทดลองลึกลับแห่งหนึ่ง แล้วต้องการหนีเอาตัวรอดจากสถานที่แห่งนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยหุ่นยนต์เฝ้ายาม โดยระหว่างทางเธอจะได้รับพลัง ซึ่งทำให้เธอสามารถควบคุมกาลเวลาภายในโลกของเกมได้ นอกจากนี้ ตัวเกมยังให้เราควบคุมตัวละครแมว ซึ่งคอยให้ช่วยหญิงสาวแก้ไขปริศนาและหลบหนีจากหุ่นยนต์เฝ้ายามอีกด้วยอีกด้วย โดยเกมใช้ระบบการควบคุมเวลาเป็นหัวใจหลักในการแก้ไขปริศนาและหลบหนีจากศัตรู

ไทม์ลาย
Timelie
ผู้พัฒนาUrnique Studio
ผู้จัดจำหน่ายUrnique Studio, Milk Bottle Studio
กำกับปริเมธ วงศ์สัตยนนท์
ออกแบบพงศธร สันติวัฒนกุล
ศิลปินคามิน กลยุทธสกุล
แต่งเพลงพงศธร โปสายานนท์, Angel Ignace, เจษฎา ตรีรุ่งกิจ
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส
วางจำหน่าย
  • ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
  • 21 พฤษภาคม 2563[1]
  • แมคโอเอส
  • 23 มิถุนายน 2563[2]
แนวแก้ไขปริศนา, ซ่อนเร้น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

เกมเพลย์ แก้

 
ภาพจับหน้าจอจากเกม

ผู้เล่นจะมีหน้าที่ควบคุมหญิงสาวและแมวในการแก้ไขปริศนาต่าง ๆ ภายในเกม โดยหัวใจหลักของเกมนี้คือระบบควบคุมเวลา ที่เป็นแถบเส้นเวลา[4] (timeline) มีลักษณะเหมือนแถบคุมคุมเครื่องเล่นมัลติมีเดีย ทำให้สามารถเลื่อนไปดูเหตุการณ์ในอนาคต เพื่อดูทิศทางการเคลื่อนที่ของศัตรู หรือดูผลการกระทำของตัวละครของเรา หรือย้อนเวลาไปยังจุดเริ่มต้นเมื่อเห็นว่าการกระทำของเรานั้นไม่ถูกต้อง หรือถูกศัตรูโจมตี สำหรับเกมนี้ จะไม่มีฉากเกมโอเวอร์ (game over) เหมือนเกมทั่วไป แต่ตัวเกมจะหยุดเวลาอยู่ ณ จุดนั้น ทำให้เราจำเป็นต้องเลื่อนแถบเวลาเพื่อย้อนกลับไปยังจุดตั้งต้นที่เหมาะสมในเวลาก่อนหน้านั้น

การควบคุมตัวละครนั้น ใช้การคลิกหรือลากเมาส์ไปบนพื้นที่มีการแบ่งเป็นตารางไว้ เพื่อให้ตัวละครเคลื่อนที่ โดยเราจะต้องเลือกควบคุมตัวละครทั้งสองตัว เพื่อให้แก้ไขปริศนาภายในเกมและออกจากแผนที่ภายในเกมได้ครบทั้งสองตัว นอกจากการควบคุมเวลาโดยใช้แถบเวลาแล้ว เราจะต้องทำการเก็บพลังเฉพาะ เพื่อที่จะทำการซ่อมทางเดินให้เราสามารถผ่านบริเวณนั้นไปได้ สำหรับในส่วนของตัวละครแมว เราสามารถควบคุมให้ช่วยกดปุ่มบางอย่างที่อยู่บนพื้น และช่วยหลอกล่อศัตรูให้พ้นไปจากเส้นทางของเราได้[5] นอกจากนี้ แมวยังสามารถเดินลอดช่องระบายอากาศแคบๆภายในเกม ซึ่งตัวละครหญิงสาวไม่สามารถทำได้อีกด้วย โดยเราจะต้องหลบสายตาจากศัตรูภายในเกม ระวังไม่ให้ศัตรูเห็น หรือทำการขังศัตรูไว้ในห้องๆหนึ่ง สำหรับศัตรูนั้น จะมีระยะการมองเห็น ทำให้เราสามารถกะระยะในการเดินตามหรือหามุมที่หลบสายตาของศัตรูเพื่อไม่ให้ถูกเห็นได้ นอกจากนี้ในบางฉากจะมีการทำลายฉากไปเรื่อย ๆ ระหว่างที่เวลากำลังเดินอยู่ ทำให้ผู้เล่นจำเป็นต้องหาวิธีผ่านพื้นที่นั้นๆไปให้เราที่สุดก่อนที่ฉากจะทำลายถึงตัวผู้เล่น

นอกจากการแก้ปริศนาเพื่อหลบหนีออกจากพื้นที่แล้ว ตัวเกมเองยังมีการเก็บรีลิก[6] ซึ่งต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างของเกม ซึ่งไม่มีการบอกไว้ มีเพียงแต่ไฟบอกสถานะรีลิก ซึ่งจะสว่างเมื่อเรายังอยู่ในเงื่อนไขของการเก็บ และดับลงเมื่อการกระทำของเราไม่อยู่ในเงื่อนไขของการเก็บรีลิก แต่รีลิกนั้น เป็นเพียงแค่ทางเลือก ซึ่งไม่ส่งผลกับเนื้อหาและการจบฉาก และเราสามารถย้อนกลับไปเก็บรีลิกอีกครั้งได้ แต่การเก็บรีลิกจนครบนั้น ทำให้สามารถปลดล็อกฉากจบลับได้

ดนตรีประกอบ แก้

ดนตรีบรรเลง (soundtrack) ได้รับการประพันธ์โดยพงศธร โปสายานนท์[7][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] เป็นนักประพันธ์เพลงชาวไทย ผู้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์และสื่อ สำหรับในด้านเสียงประกอบนั้นประพันธ์โดย Angel Ignace นักออกแบบเสียงและอาจารย์สอนการออกแบบเสียงชาวฝรั่งเศส และเพลงโปรโมตเกมที่มีชื่อว่า ไม่มีนิรันดร์สุดท้าย (ภาษาอังกฤษ: No Last Eternity) ได้รับการแต่งโดยเจษฎา ตรีรุ่งกิจ (อั๋น เจษฎา) และขับร้องโดยนัทบัว ณัฐฐาพร [8]

การพัฒนา แก้

จุดเริ่มต้นในการสร้าง เริ่มต้นมาจากการทำโครงงานจบการศึกษาของนักศึกษา 5 คน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วนำไปแข่งขันใน Microsoft’s 2016 Imagine Cup (ปี 2559) จนได้รับรางวัลชนะเลิศ จึงเป็นการเริ่มต้นการสร้างเกม ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการสร้าง และพัฒนาจนสำเร็จและจัดจำหน่ายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563[9]

การวิจารณ์ แก้

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก(PC) 77/100 [10]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เกมอินฟอร์เมอร์7.75/10[11]
พีซี เกมเมอร์ ยูเอส73/100 [12]
สกรีนแรนต์      [13]
นอยซี่ พิคเซล8.5/10 [14]

เกมได้รับความสนใจในหมู่นักเล่นเกมชาวไทยเป็นอย่างมาก[15] และได้รับผลตอบรับในแง่บวกเป็นอย่างมากเช่นกัน เช่นเดียวกับสำนักวิจารณ์หลายแห่งที่ให้คะแนนในแง่บวกเป็นส่วนมาก[16]

รางวัล แก้

ตัวเกมได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Microsoft’s 2016 Imagine Cup (ปี 2559) ตั้งแต่ก่อนที่เกมจะทำการวางจำหน่ายในปี 2563[17]

เนื้อหาเสริม แก้

ในวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ทางผู้พัฒนา ได้มีการเพิ่มเนื้อหาเสริมที่มีชื่อว่า TIMELIE: Hell Loop ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่เพิ่มด่านใหม่แก่ผู้เล่น จำนวน 30 ด่าน ซึ่งในเนื้อหาเสริมนี้ ไม่มีการเพิ่มเติมในด้านเนื้อเรื่อง เป็นเพียงด่านใหม่ที่เพิ่มมา และจะปลดล็อกให้ผู้ที่เล่นเนื้อหาของภาคหลักจบแล้ว สามารถเข้าไปเล่นได้ โดยความยากของการแก้ปัญหา (puzzle) จะมีความยากกว่าในส่วนของเกมภาคหลักเป็นอย่างมาก โดยตัวเนื้อหาเสริมนี้ ได้ปล่อยมาให้ผู้ที่มีเกมภาคหลักอยู่แล้ว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม[18][19]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศวันวางจำหน่ายเกม Timelie หนึ่งในเกมฝีมือคนไทยที่คว้ารางวัลมาอย่างท่วมท้น". 4gamers. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Timelie วางจำหน่ายบนระบบ MacOS แล้ววันนี้ พร้อมรองรับภาษาในเกมเพิ่มอีก 8 ภาษา". Gamingdose. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "เว็บไซต์ Timelie อย่างเป็นทางการ". Urnique Studio. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Lazefatboy. "รีวิว Timelie เกมคุณภาพจากฝีมือคนไทย". GAMEFEVER. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Adrian Lai. "Timelie - Review". IGN Southeast Asia. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. astider. "Review Timelie เกมพัซเซิลรสชาติใหม่ ควบคุมเวลาเพื่อฝ่าอุปสรรค". droidsans. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Parimeth Wongsatayanon. "Dev Blog #3 — The Sound of Time(lie) เสียงของเวลา". Medium. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Pongsathorn Posayanonth. "Review 7 ความท้าทายเบื้องหลังการทำดนตรีประกอบเกม "Timelie"". Pongsathorn Posayanonth. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Jokeboy. "สัมภาษณ์ผู้พัฒนา Timelie เกมอินดี้ไทยที่น่าจับตาที่สุดของปี". GamingDose. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Timelie". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Timelie". gameinformer. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "Timelie review". PCGAMER. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "Timelie Review: A Unique Time-Bending Puzzler". screenrant. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "Timelie Review – All the Time in the World". Noisy Pixel. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "สรุปเกม timelie สาวน้อยผู้ควบคุมเวลา 2020 เกมฝีมือคนไทยกระแสดี". สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "รีวิว Timelie เกมคุณภาพจากฝีมือคนไทย". สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "ไมโครซอฟท์เผยโฉมแชมป์การแข่งขัน Imagine Cup Thailand 2016". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "ชีวิตติดลูป !! เมื่อตัวเกม Timelie ประกาศอัพเดต DLC ตัวใหม่แบบฟรีๆ ในชื่อ - TIMTLIE: Hell Loop". 4gamers. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
  19. Orpheus Joshua. "Timelie DLC Hell Loop Trailer Releases With an October Release and Free Download". noisy pixel. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้