ไทป์ 61 (ญี่ปุ่น: 61式戦車, Roku-ichi Shiki sensha) เป็นรถถังชนิด main battle tank (MBT) ผลิดและใช้งานโดย กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น (JGSDF), รถถังออกแบบโดย Mitsubishi Heavy Industries

Type 61
A Type 61 tank on display at the JGSDF Ordnance School in Tsuchiura, Ibaraki prefecture, Japan.
ชนิดMain battle tank
แหล่งกำเนิดJapan
บทบาท
ประจำการ1961 – 2000
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบMitsubishi Heavy Industries
ช่วงการออกแบบ1955 – 1960
บริษัทผู้ผลิตMitsubishi Heavy Industries
ช่วงการผลิต1961 – 1975
จำนวนที่ผลิต560
แบบอื่นSee Variants
ข้อมูลจำเพาะ
มวล35 tonnes
ความยาว8.19 / 6.03 m
ความกว้าง2.95 m
ความสูง2.49 m
ลูกเรือ4

เกราะ55 mm(hull) - 114 mm(turret)
อาวุธหลัก
90 mm L/52 rifled cannon,
Muzzle velocity: 910m/s (M318AP-T)
อาวุธรอง
7.62mm Browning M1919A4 machine gun
12.7mm M2 Browning machine gun
เครื่องยนต์Mitsubishi 12HM21WT 4 stroke V type 12 cylinder vertical air cooled diesel
570 hp / 2100 rpm, 29600 cc
กำลัง/น้ำหนัก17.14hp/t
กันสะเทือนtorsion bar
พิสัยปฏิบัติการ
200 km
ความเร็ว45 km/h (paved roads)
ไทป์ 61

เรืองราวทั้งหมดมันเริ่มจาก ความต้องการ รถถัง ของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นได้รับความเสียหายอย่างหนัก และโรงงานเป็นจำนวนมาก ถูกพิษสงครามทำลายจนไม่อาจฟื้นขึ้นมาใหม่ได้

และประกอบกับญี่ปุ่นโดนฝ่ายสัมพันธมิตรบังคับให้ยุบกองกำลังทางทหารทั้งหมด จึงทำให้ตำรวจมีกองกำลังเพียงอย่างเดียวคือกอง กำลังตำรวจ เท่านั้นที่ติดอาวุธเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึงต่อมาก็ได้มีการจัดตั้ง National Police Reserve หรือ กองกำลังตำรวจติดอาวุธแห่งชาติ ซึ่งต่อมากองกำลังนี้จะพัฒนาเป็นกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินต่อไป

เมื่อสหภาพโซเวียตได้ยึดเอาเกาะที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของญี่ปุ่น ทางตอนเหนือของฮอกไกโด และเกาะซาฮาริ (แซกคาริน) ไปและตั้งกองกำลังขึ้นบนเกาะ ทางการญี่ปุ่นจึงต้องจัดหารถถังเพื่อป้องกันตัวเองจากรถถัง T-44 (ผลิตในปี 1944) ของสหภาพโซเวียตในสมัยนั้น

ในปี 1950 ทางกองกำลังป้องกันตนเอง และบริษัทมิซูบิชิ ได้เริ่มมีโครงการที่จะพัฒนารถถังของตนเพื่อทดแทน M4A3E8 สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ให้ไว้จำนวนหนึ่ง

และเนื่องด้วยว่าตอนนั้น ทางโรงงานของ มิซูบิชิ กำลังอยู่ในช่วงเวลาของการฟื้นตัว การผลิตเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก ทางการญี่ปุ่นจึงมีทางเลือก 3 ทางคือ สร้างรถถังใช้เอง ไม่ก็ต้องนำเข้ารถถัง M-47 Patton (ผลิตในปี 1954) จากสหรัฐอเมริกาหรือ จะอัพเกรด M4 ที่มีอยู่

โดยเมื่อคิดคำนึงถึงการขนส่งและอื่นๆแล้ว ญี่ปุ่นกลับพบว่าหากซื้อรถถัง M-47 จากสหรัฐจะมีปัญหายุ่งยากกว่า เพราะรางรถไฟของญี่ปุ่นนั้นใช้ความกว้างรางแบบ เคป เกจ (Cape gauge) ขนาดความกว้างราง 1.067 เมตร (3 ฟุต 6 นิ้ว) ทำให้ไม่สามารถบรรทุกสิ่งของที่กว้างกว่า 3 เมตรได้ ในขณะที่รถถถัง M-47 Patton มีขนาดความกว้างถึง 3.52 เมตร ย่อมจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการขนส่งทางรถไฟไปยังภูมิภาคต่างๆ ประกอบกับทางรถไฟของญีปุ่นยังไม่ทันสมัยในยุคนั้น ซึ่งรองรับน้ำหนักของสิ่งที่บรรทุกได้ไม่เกิน 35 ตัน การสั้งซื้ออรถถังขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเมื่อต้องข้ามสะพานหรือ ลอดอุโมงค์ได้ การสั้งซื้อรถถัง M-47 Patton จึงต้องตัดออกไป


และแล้วในที่สุดทางการญี่ปุ่นก็ได้กำหนดคุณลักษณะของรถถังใหม่ของพวกเขา

  • 1. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้รถถังจำนวนน้อยแต่สามารถปฏิบัติงานครอบคลุมพื้นที่ได้มาก ดังนั้นขนาดและน้ำหนักของตัวรถต้องเบาเพียงพอที่จะเคลื่อนย้ายโดยทางรถไฟได้.
  • 2. น้ำหนักควรจะไม่เกิน 25 ตันตราบเท่าที่ความหนาของเกราะจะเอื้ออำนวย
  • 3. ปืนใหญ่ต้องเป็นปืน 90.มม. ซึ่งถือว่าเป็นปืนใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดของรถถังนาโต้ในยุคนั้น

โดยในการพัฒนานั้น ทางมิซูบิชิได้ทำการศึกษารถถังหลายๆแบบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น M-46 Patton ซึ่งถือเป็นต้นแบบของ M-47 Patton และได้นำรถถัง T-34 ซึ่งเป็นต้นแบบของ T-44 ของสหภาพโซเวียตมาวิเคราะห์ส่วนประกอบเพื่อพัฒนารถถังของตนเอง

จากการวิเคราะห์พบว่า T-34 นั้นมีระบบอำนวยการรบที่ยังล้าสมัยมากพอสมควร และไม่มีระบบการสื่อสารที่เพียงพอ ใช้กำลังพลเยอะไปในการทำให้รถปฏิบัติ (ต้องใช้พลประจำรถถึง 5 นายต่อการปฏิบัติงานในรถถัง T-34) ในขณะที่ T-44 ของสหภาพโซเวียตนั้น สำนักออกแบบ KMBD ของสาธารณรัฐยูเครน แห่งสภาพโซเวียต ได้ออกแบบระบบภายในใหม่โดย T-44 จะลดกำลังพลในรถลง 1 นาย T-44 ซึ่งเป็นภัยคุกคามจึงใช้กำลังพลเพียง 4 นายเท่านั้น

ทาง Mitsubishi Heavy Industries จึงได้ทำการออกแบบรถถังใหม่ ให้มีข้อดีของ T-34 ที่มีน้ำหนักเบา และผลิตได้ง่ายและมีเกราะลาดเอียงกับช่วงล่างกันกระเทือนของ M46 Patton มาทำการปรับปรุงใช้จนเกิดเป็นรถถังของตนเอง และนี่คือเรื่องราวการพัฒนาของมัน

STA-1 (Mitsubishi Type 61 Prototype) แก้

ปลายปี 1956 มิซูบิชิก็พัฒนาตัวต้นแบบสำเร็จโดยให้รหัสว่า STA-1 ซึ่งได้สร้างตามข้อกำหนดที่ ทาง JDSF ร้องขอ ซึ่งเครืองยนต์ของมันใหญ่มาก ทำให้ต้องย่อฐานป้อมปืนให้เตี้ยลง เพื่อไม่ให้ความสูงเลยจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทำให้เครืองยนต์ดูเหมือนจะโป่งขึ้นมาดังภาพ และล้อของคันต้นแบบ 7 ช่วงล้อ ถือว่ายาวมากๆ โดยรวมแล้ว STA-1 มีขนาดใหญ่ไปและยังมีจุดบกพร่องอีกมาก ทำให้ทางมิซูบิชิต้องทำการแก้ไขมันอีกครั้ง

STA-2 (completed in February 1957) แก้

STA-2 (Mitsubishi Type 61 Prototype)

STA-2 ถูกสร้างขึ้นโดยใช้โครงสร้างตัวเดียวกันกับ STA-1 โดยนำ STA-1 มาตัดดัดแปลงให้มีขนาดเล็กลง โดย STA-2 ถูกตัดลำตัวให้สั้นลง และช่วงบนที่แบนขึ้น JDSF ได้ทำการประเมิน ข้อมูลการรบในสถาณการณ์จำลองของ ตัวแบบทั้งสองรุ่น ก็พบว่า สภาพภูมิประเทศที่เป็นทุ่งข้าว และดินอ่อนของเขานั้นไม่เหมาะสำหรับ รถถังที่เทะทะอย่าง STA-1 จึงได้แจ้งให้บริษัท มิซูบิชิทำการพิจรณาเพื่อหาทางแก้ไข จึงเป็นที่มาของโปรโตไทป์ตัวต่อไป

STA-3 (completed in January 1958) แก้

Mitsubishi สร้างตัวต้นแบบ (prototype) STA-3 จากพื้นฐานของ STA-2 โดยติดตั้งระบบการโหลดกระสุนกึ่งอัตโนมัติ (semi-automatic loading system) เข้าไป และได้ติดตั้งปืนกล AA machine gun ลงไปบนป้อมปืน ของ STA-3 ที่ซึ่งสามารถสั้งงานได้ด้วย remote-controll อัตโนมัติ เมื่อทำการทดสอบจริง พบว่าอุปกรณ์อัตโนมัติที่พัฒนานั้น มีขีดจำกัดในการใช้งาน และการติดสิ่งเหล่านี้บนรถ ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ถึงต้องถูกตัดออก เมื่อสร้างตัวต้นแบบตัวถัดไป STA-4

STA-4 (completed in November 1959) แก้

STA-4 ตัวต้นแบบตัวสุดท้าย ที่จะใกล้เคียงกับ รถถังที่จะได้เข้ารับการผลิตจริง

อุปกรณ์บางอย่างได้รับการยกเลิก มีการปรับปรุงเครืองยนต์เล็กน้อย ปืน AA machine gun ได้ถูกปิดผนึกไว้บนป้อมปืนขนาดเล็ก ที่ซ้อนป้อมปืนใหญ่รถถัง (คล้ายๆกับ M-60 Patton ที่เกิดขึ้นในยุคหลัง) เหนือป้อมปืนของรถ (แต่เมื่อทำการผลิตจริงออฟชั้นนี้ถูกตัดออก - อีกแล้ว)

หลังจากการพัฒนามานาน ได้รับการลองผิดลองถูก Mitsubishi Type 61 ก็ถูกผลิตเข้าประจำการ ในปี 1961 เพื่อป้องกันญี่ปุ่นในกองกำลังป้องกันตนเอง โดยรวมแล้ว Mitsubishi Type 61 ถูกสร้างขึ้นมาจำนวนมากถึง 560 คัน เพื่อประจำการในญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว (ญีปุ่นส่งออกอาวุธไม่ได้) และเป็นม้างานหลัก จนถูกม้าศึกตัวใหม่เข้าแทนที่ซึ่งก็คือ Type 74 Nana-Yon ที่มีความทันสมัยกว่าเข้ามารับไม้ต่อ

ข้อมูลจำเพาะ แก้

  • ประเทศผู้ผลิต ญี่ปุ่น
  • ปีที่ใช้งาน 1962
  • เจ้าหน้าที่ 4 นาย
  • หน้ก 35,000 กิโลกรัม/34.4 ต้น
  • ยาว 8.19 เมตร
  • สูง 2.49 เมตร
  • กว้าง 2.95 เมตร
  • เกราะหนาที่สุด 64 มม./ 2.52 นิ้ว
  • เครื่องยนต์ ดีเซล มิตซูบิชิ เอชเอ็ม 21 ดับลิว ทีให้กำลัง 600 แรงม้า
  • ความเร็ว 45 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • รัศมีทำการ 200 กิโลเมตร
  • อาวุธ
    • อาวุธหลัก ปืนใหญ่ ขนาด 90 มม./3.54 นิ้ว
    • อาวุธรอง ปืนกล ขนาด 7.62 มม./0.3 นิ้ว และ 12.7 มม./0.5 นิ้ว อย่างละ 1 กระบอก

อ้างอิง แก้

  • George Forty & Jack Livesey,the World Encyclopedia of Tanks,Anness,2006