ไก่ป่าลังกา หรือ ไก่ป่าศรีลังกา หรือ ไก่ป่าซีลอน (อังกฤษ: Sri Lanka junglefowl, Ceylon junglefowl; สิงหล: වළි කුකුළා;[2] ทมิฬ: இலங்கைக் காட்டுக்கோழி; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gallus lafayetii) เป็นไก่ป่าชนิดหนึ่ง

ไก่ป่าลังกา
เพศผู้
เพศเมีย
ทั้งสองตัวอยู่ในป่าสงวนสิงหราชา ประเทศศรีลังกา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: อันดับไก่
วงศ์: วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา
สกุล: Gallus
Lesson, 1831
สปีชีส์: Gallus lafayettii
ชื่อทวินาม
Gallus lafayettii
Lesson, 1831
ขอบเขต
Gallus lafayettii

ไก่ป่าลังกา นับเป็นไก่ป่าชนิดที่ใกล้เคียงกับไก่ป่า (G. gallus) ที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีสีแดงแทบทั้งตัว หน้าอกและใต้ท้องเป็นสีแดง แตกต่างจากไก่ป่าที่หน้าอกและใต้ท้องเป็นสีดำ ปลายปีกและหางสีดำแกมม่วง ตุ้มหูสีขาว ส่วนตัวเมียมีหน้าอกเป็นลายเลือน ๆ สีน้ำตาล ปลายปีกและหางมีลายขวาง [3]

ตัวผู้มีขนาดประมาณ 66–72 เซนติเมตร (26–28 นิ้ว) และน้ำหนักระหว่าง 790–1,140 กรัม (1.7–2.5 ปอนด์) ขณะที่ตัวเมียมีลำตัวประมาณ 35 เซนติเมตร (14 นิ้ว) และน้ำหนักประมาณ 510–645 กรัม (1.1–1.42 ปอนด์)[4]

เป็นไก่ที่พบเฉพาะถิ่นในศรีลังกา หรือเกาะซีลอนที่เดียวเท่านั้น เช่น อุทยานแห่งชาติยาลา หรือป่าสงวนสิงหราชา เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2016). "Gallus lafayettii". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22679209A92807515. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22679209A92807515.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-04-01. สืบค้นเมื่อ 2014-10-13.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. ไก่ป่า, คอลัมน์เรื่องน่ารู้ หน้า 28 เกษตร: เดลินิวส์ฉบับที่ 23,125. ประจำวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แรม 9 ค่ำ เดือน 2 ปีมะโรง
  4. CRC Handbook of Avian Body Masses by John B. Dunning Jr. (Editor). CRC Press (1992), ISBN 978-0-8493-4258-5.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้