ใบไม้ร่วง (มิเล)

ผลงานศิลปะ

ใบไม้ร่วง (อังกฤษ: Autumn Leaves) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเลจิตรกรสมัยพรีราฟาเอลไลท์ชาวอังกฤษ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์นครหลวงแมนเชสเตอร์, แมนเชสเตอร์ในอังกฤษ

ใบไม้ร่วง
ศิลปินจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล
ปีค.ศ. 1856
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่หอศิลป์นครหลวงแมนเชสเตอร์, แมนเชสเตอร์

มิเลเขียนภาพ “ใบไม้ร่วง” เสร็จในปี ค.ศ. 1856 และตั้งแสดงครั้งแรกที่ราชสถาบันศิลปะ ในปีเดียวกัน นักวิจารณ์ศิลป์จอห์น รัสคินบรรยายว่า “เป็นการวาดภาพยามพลบค่ำที่สมบูรณ์ที่สุดเป็นครั้งแรก” เอฟฟี เกรย์ (Effie Gray) ภรรยาของมิเลกล่าวว่ามิเลตั้งใจจะสร้างภาพเขียนที่ “เต็มไปด้วยความงามโดยไม่มีหัวเรื่อง”

“ใบไม้ร่วง” เป็นภาพของเด็กผู้หญิงสี่คนกวาดใบไม้มากองรวมกันในยามใกล้ค่ำเพื่อจะทำกองเพลิงแต่เราไม่เห็นเปลวไฟนอกจากควันที่โชยออกมาจากกองใบไม้ เด็กผู้หญิงสองคนทางขวาดูท่าทางขะมุกขะมอมกว่าซึ่งน่าจะเป็นเด็กชั้นแรงงาน

ภาพเขียนเห็นกันว่าเป็นภาพแรกๆ ที่มีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของลัทธิสุนทรียนิยม[1]

ความหมาย แก้

ความหมายของภาพเขียนเห็นกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเปลี่ยนแปลงของของความเป็นเด็กและความงามซึ่งเป็นหัวใจของหัวเรื่องของการเขียนภาพของมิเล มาลคอล์ม วอร์เนอร์ (Malcolm Warner) กล่าวว่ามิเลได้รับอิทธิพลจากโคลงของอัลเฟรด ลอร์ดเทนนิสสัน ที่มิเลเคยไปเยี่ยมและกวาดใบไม้ด้วยกัน

วอร์เนอร์ตั้งข้อสังเกตว่าบรรทัดจากเพลงของเทนนิสสัน “Tears, Idle Tears” ในหนังสือ “เจ้าหญิง” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1847 อาจจะมีอิทธิพลต่อภาพเขียน:

Tears, idle tears, I know not what they mean.
Tears from the depth of some divine despair
Rise in the heart, and gather to the eyes,
In looking on the happy Autumn-fields,
And thinking on the days that are no more.[2]

แอปเปิลในมือขวาเด็กผู้หญิงคนเล็กอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของความสูญเสียความเป็นเด็กซึ่งเป็นนัยถึงปฐมบาปและการถูกขับของอีฟจากสวนอีเด็น[3]

หลังจากที่ได้รับการวิจารณ์ที่ดีจากเฟรดเดอริค จอร์จ สตีเฟ็น (Frederic George Stephens) มิเลก็เขียนจดหมายถึงสตีเฟ็นโดยกล่าวว่าตั้งใจจะเขียนภาพที่ทำให้ปลุกความรู้สึกศรัทธาในศาสนาจากส่วนลึกที่สุด และที่เลือกฉากการเผาใบไม้ก็เพื่อเป็นการเร้าความรู้สึกนี้[4]

อ้างอิง แก้

  1. Whistler's 'The White Girl': Painting, Poetry and Meaning, Robin Spencer, The Burlington Magazine, Vol. 140, No. 1142 (May, 1998), pp. 300-311
  2. Victorian Web: Nostalgic Intensity in Millais's Autumn Leaves
  3. Mortality, Purity, and Religious Contemplation in Autumn Leaves
  4. National Gallery of Art, Washington, The Victorians: British Painting 1837-1901, p.73, 1997

ดูเพิ่ม แก้