ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน

ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน เป็นเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ ที่แต่งโดยพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "เพลินจิตต์รายสัปดาห์" โดยสำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ชุด "วิจิตรวรรณกรรม" เมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2480 [1] กล่าวถึงประเด็นใหม่ทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าตากสิน

ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน  
หนังสือรวมเรื่องสั้น ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2544
ผู้ประพันธ์หลวงวิจิตรวาทการ
ชื่อเรื่องต้นฉบับใครฆ่าพระเจ้าตากสิน
ประเทศสยาม
ภาษาไทย
ชุดบรรณารักษ์
ฉบับที่
1
หัวเรื่องประวัติศาสตร์
พิมพ์ครุฑดำ
สำนักพิมพ์เพลินจิตต์รายสัปดาห์, สร้างสรรค์บุ๊คส์
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2480
ชนิดสื่อปกแข็งและปกอ่อน
หน้า545 หน้า
ISBN974-3410-77-5
OCLC9786163883384
รวบรวมพงศาวดาร

เรื่องย่อ แก้

ในช่วงปลายรัชกาลกรุงธนบุรี ว่าแท้ที่จริงสมเด็จพระเจ้าตากสินมิได้ถูกสำเร็จโทษที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ปากคลองบางกอกใหญ่ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2325 ตามหลักฐานในพระราชพงศาวดาร แต่ได้ลักลอบเสด็จออกไปประทับที่อื่น โดยได้สับเปลี่ยนตัวกับพระญาติ ชื่อนายมั่น ซึ่งมีรูปพรรณใกล้เคียงกับพระองค์ เป็นผู้ถูกสำเร็จโทษแทน ส่วนสมเด็จพระเจ้าตากสินพระองค์จริงได้เสด็จสวรรคตหลังจากนั้นอีก 3 ปี เนื่องจากถูกลอบทำร้าย

หลวงวิจิตรวาทการ เขียนถึงที่มาของเรื่องสั้นเรื่องนี้ไว้ตอนต้นของเรื่องว่า เกิดขึ้นระหว่างที่ท่านทำงานเป็นบรรณารักษ์อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติได้ประมาณ 6 เดือน และเกิดเหตุการณ์ลึกลับที่หอเอกสารเก่าเกี่ยวกับช่วงปลายรัชกาลของพระเจ้ากรุงธนบุรี จนทำให้ยามเฝ้าหอสมุดลาออกจากงานหลายคน ท่านตัดสินใจมานอนเฝ้าที่หอสมุดด้วยตนเองเพื่อพิสูจน์ความจริง และคืนหนึ่งท่านก็ได้แรงบันดาลใจจากสิ่งลึกลับ ให้เขียนเรื่องสั้นนี้ขึ้นด้วยลายมือของตัวเอง ตามคำบอกเล่าของสิ่งลึกลับนั้น [2]

ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธนรวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น ชื่อ "รวมเรื่องสั้น ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน" โดยสำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ เมื่อ พ.ศ. 2544 โดยเป็นการตีพิมพ์ครั้งที่ 6 ประกอบด้วยเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ ของหลวงวิจิตรวาทการ จำนวน 40 เรื่อง แบ่งเป็นสองเล่ม เล่มละ 20 เรื่อง ชื่อชุด "ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน" และ "ครุฑดำ"

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้