โอภาส รองเงิน (เกิด 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2492) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 3 สมัย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพัทลุง

โอภาส รองเงิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
คู่สมรสนางวนิดา รองเงิน

ประวัติ แก้

โอภาส รองเงิน เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของนายอ่ำ รองเงิน และ นางหนูจับ รองเงิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมรสกับนางวนิดา รองเงิน (สกุลเดิม : อินทรกุล) มีบุตรสาวคือแพทย์หญิงภาสินี รองเงิน

การทำงาน แก้

โอภาส เคยรับราชการเป็นปลัดอำเภอปากพะยูน เมื่อปี พ.ศ. 2519 ต่อมาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้ย้ายกลับมาเป็นปลัดอำเภอปากพะยูนอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 ต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภอเมืองชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2525[1]

งานการเมือง แก้

โอภาส ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงครั้งแรก ใน พ.ศ. 2519 พร้อมกับบิดา แต่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 และได้รับจนถึง พ.ศ. 2531 [2] เขาเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาชน[3] ในปี พ.ศ. 2531

ต่อมา ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพัทลุง ใน พ.ศ. 2543 และได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2555 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่แพ้ให้กับนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

โอภาส รองเงิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)พรรคเอกภาพ

สมาชิกวุฒิสภา แก้

โอภาส รองเงิน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 จังหวัดพัทลุง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
  2. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  4. ศึกเลือกตั้ง อบจ.พัทลุงเข้มข้น 3 ทีมท้าชิงเก้าอี้
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๒๕