โสมอเมริกัน

ชนิดของพืช
โสมอเมริกัน
Panax quinquefolius[1]
สถานะการอนุรักษ์

Vulnerable  (NatureServe)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Magnoliophyta
ไม่ได้จัดลำดับ: Magnoliopsida
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Apiales
วงศ์: Araliaceae
วงศ์ย่อย: Aralioideae
สกุล: Panax
สปีชีส์: P.  quinquefolius
ชื่อทวินาม
Panax quinquefolius
L.

โสมอเมริกัน ชื่อวิทยาศาสตร์: Panax quinquefolium เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ[3][4]ปลูกในแคนาดา ภาคเหนือของสหรัฐอเมริกา และในจีน [5] ภาษาจีนกลางเรียกซีหยางเซิน (จีนตัวย่อ: 西洋参; จีนตัวเต็ม: 西洋參; พินอิน: xīyángshēn) ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกไซเอี่ยเซียม (Peng'im: sai1 iên5 siem1) รากเปลือกนอกสีเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจและบำรุงเลือด[6]

องค์ประกอบทางเคมี แก้

 
โครงสร้างทางเคมี
ของ โปรโตพาแนกซาไดออล

เช่นเดียวกับ Panax ginseng, โสมอเมริกันมีจินเซนโนไซด์ ชนิดแดมมาเรน (dammarane) หรือ ซาโปนิน เป็นองค์ประกอบออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ จินเซนโนไซด์ ชนิดแดมมาเรน แบ่งเป็นสองประเภทคือ 20 (S) -protopanaxadiol (PPD) และ 20 (S) -protopanaxatriol (PPT) โสมอเมริกันมีจินเซนโนไซด์ชนิด Rb1, Rd (การจำแนก PPD) และ Re (การจำแนก PPT) ในระดับสูง - สูงกว่า P. ginseng ในหนึ่งครั้งของการศึกษา[7]

เมื่อนำมารับประทาน จินเซนโนไซด์ ประเภท PPD ส่วนใหญ่จะถูกเผาผลาญโดยแบคทีเรียในลำไส้ (ชนิดแอนแอโรบส์) จนถึง PPD โมโนกลูโคไซด์, 20-O-beta-D-glucopyranosyl-20 (S) -protopanaxadiol (M1)[8] ในมนุษย์ M1 เริ่มถูกตรวจพบในพลาสมา 7 ชั่วโมงหลังจากการบริโภคจินเซนโนไซด์ ชนิด PPD และตรวจพบในปัสสาวะ 12 ชั่วโมงหลังจากการบริโภค การค้นพบนี้บ่งชี้ว่า M1 เป็นสารสุดท้ายของ ginsenosides ชนิด PPD ในกระบวนการเมแทบอลิซึม[9]

M1 ถูกอ้างถึงในบางบทความในชื่อ IH-901[10] และบางส่วนเรียกว่า compound-K[9]

อ้างอิง แก้

  1. Panax_quinquefolius L., from "American medical botany being a collection of the native medicinal plants of the United States, containing their botanical history and chemical analysis, and properties and uses in medicine, diet and the arts" by Jacob Bigelow,1786/7-1879. Publication in Boston by Cummings and Hilliard,1817-1820.
  2. "Panax quinquefolius". NatureServe Explorer. NatureServe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-07-03.
  3. Xiang, Q.; Lowry, P. P. (2007). "Araliaceae". ใน Wu, Z. Y.; Raven, P. H.; Hong, D. Y. (บ.ก.). Flora of China (pdf). Vol. 13. St. Louis, MO: Missouri Botanical Garden Press. p. 491. ISBN 9781930723597.
  4. "Panax quinquefolius". eFloras.
  5. ชยันต์ พิเชียรสุนทร; วิเชียร จีรวงส์ (2556). คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 2 เครื่องยาพฤกษวัตถุ (3 ed.). กทม: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ISBN 9789742474560.
  6. ภาสกิจ วัณณาวิบูล (2555). รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม: ทองเกษม. ISBN 978-616-285-016-5.
  7. Zhu, S.; Zou, K.; Fushimi, H.; Cai, S.; Komatsu, K. (2004). "Comparative study on triterpene saponins of ginseng drugs". Planta Medica. 70 (7): 666–677. doi:10.1055/s-2004-827192. PMID 15303259.
  8. Hasegawa, H.; Sung, J.-H.; Matsumiya, S.; Uchiyama, M. (1996). "Main ginseng saponin metabolites formed by intestinal bacteria". Planta Medica. 62 (5): 453–457. doi:10.1055/s-2006-957938. PMID 8923812.
  9. 9.0 9.1 Tawab, M. A.; Bahr, U.; Karas, M.; Wurglics, M.; Schubert-Zsilavecz, M. (2003). "Degradation of ginsenosides in humans after oral administration". Drug Metabolism and Disposition. 31 (8): 1065–1071. doi:10.1124/dmd.31.8.1065. PMID 12867496.
  10. Oh, S.-H.; Lee, B.-H. (2004). "A ginseng saponin metabolite-induced apoptosis in HepG2 cells involves a mitochondria-mediated pathway and its downstream caspase-8 activation and Bid cleavage". Toxicology and Applied Pharmacology. 194 (3): 221–229. doi:10.1016/j.taap.2003.09.011. PMID 14761678.