โรงเรียนโยธินบูรณะ

โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 มีนายภักดิ์ ฉวีสุข เป็นครูใหญ่ท่านแรก (พ.ศ. 2478-2479) และนายสันทัด เมี้ยนกำเนิด เป็นผู้อำนวยการท่านแรก (พ.ศ. 2513-2519) เดิมตั้งอยู่เลขที่ 1162 แยกเกียกกาย ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร แต่ต่อมาพื้นที่บริเวณดังกล่าวถูกใช้ในการก่อสร้างสัปปายะสภาสถานซึ่งเป็นอาคารรัฐสภาไทยแห่งใหม่ในปัจจุบัน จึงได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนบนที่ตั้งแห่งใหม่ที่เลขที่ 1313 ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

โรงเรียนโยธินบูรณะ
Yothinburana School
ที่ตั้ง
แผนที่
1313 ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 แขวงบางซื่อ
เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
ข้อมูล
ชื่ออื่นย.บ. / YB
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญโยธิน ถิ่นคนดี
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
(ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)
สถาปนา20 มิถุนายน พ.ศ. 2478
ผู้ก่อตั้งจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม และ คุณครูภักดิ์ ฉวีสุข
เขตการศึกษาสพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1000100203
ผู้อำนวยการสมเกียรติ ผ่องจิต
เพลงประจำโรงเรียนมาร์ชโยธินบูรณะ,สายเลือดเดียวกัน,โยธินฯ,รักโยธินฯ,ถิ่นรวมใจ,แดนในฝัน,รำวงโยธินฯ,ลูกโยธินฯ,อำลา-อาลัย
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน3,310 (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562)[1]
สี██████ ชมพู-น้ำเงิน
เว็บไซต์www2.yothinburana.ac.th
โยธินบูรณะตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
โยธินบูรณะ
โยธินบูรณะ
โยธินบูรณะ (กรุงเทพมหานคร)

ประวัติโรงเรียน แก้

ก่อนที่จะมาเป็นโยธินบูรณะ แก้

เมื่อชุมชนรอบโรงเรียนมัธยมวัดสะพานสูงมีการขยายตัวขึ้น มีผู้คนเข้ามาศึกษามาก จึงไม่สามารถขยายโรงเรียนได้อีก ทำให้โรงเรียนคับแคบ ครูใหญ่ในขณะนั้น ครูภักดิ์ ฉวีสุข จึงได้ไปปรึกษากับ หลวงสุนทรอัศวราช (เลขานุการประจำตัวหลวงพิบูลสงคราม และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ให้ไปทำรายงานเสนอแก่อำมาตย์ตรี หลวงพิลาศวรรณสาร(พนักงานตรวจการศึกษาแขวงพระนครเหนือ) สนองต่อกระทรวงธรรมการดำเนินการเจรจาขอที่ดิน 3 แห่งจากกระทรวงกลาโหม

  1. ที่ดินกรมทหารสื่อสาร กองพันที่ 2
  2. ที่ดินริมกองทหารสื่อสาร กองพันที่ 1 ด้านเหนือ
  3. ที่ดินระหว่างถนนสะพานแก้ว (ถนนสามเสน กับโรงเลื่อยล่ำซำ{โรงเลื่อยไม้ไทยในปัจจุบัน}) ตรงข้ามกรมทหารม้ารักษาพระองค์

ในที่สุดกระทรวงกลาโหม (สมัยพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รักษาการแทนปลัดกระทรวงกลาโหม) ได้รับอนุญาตให้กระทรวงธรรมกาปลูกสร้างโรงเรียนได้บริเวณฝ่ายซ้ายของถนนสะพานแก้ว ตรงข้ามกรมทหารพันม้า (กรมทหารม้ารักษาพระองค์) โดยมีเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่เศษ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2477

ต่อมาเจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการเสนอว่าที่ดินแปลงนี้กว้างขวาง ตั้งอยู่ในทำเลระหว่างกลางจากโรงเรียนวัดสะพานสูง และโรงเรียนมัธยมวัดจันทร์สโมสร จึงเห็นสมควรที่จะย้ายนักเรียนทั้ง 2 แห่งมารวมกัน เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และต่อมาได้ขยายชั้นเรียนจนถึงระดับมัธยมบริบูรณ์ (ม.8 หรือ ม.ศ.5 ปัจจุบันคือมัธยมศึกษาปีที่ 6) ด้วยเหตุที่ย้ายนักเรียนจากทั้งสองแห่งมาเรียนรวมกันในสถานที่แห่งใหม่ ซึ่งได้อาศัยที่ดินของกระทรวงกลาโหม และตั้งอยู่ระหว่างกองทหารหลายหน่วยงานอีกทั้งโรงเรียนและชุมชนในเขตทหารได้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พร้อมกันนั้นได้ตั้งชื่อโรงเรียนแห่งใหม่นี้ว่า โรงเรียนมัธยมโยธินบูรณะ ส่วนอาจารย์ใหญ่นั้นคือ คุณครูภักดิ์ ฉวีสุข ผู้ที่ได้ออกความคิดเห็นที่จะย้ายเป็นคนแรก อาคารเรียนเป็นอาคารเรือนไม้ 3 ชั้น ชั้นละ 7 ห้อง รวม 21 ห้อง อนุมัติเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2477 เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2477 โดยโรงเรียนเพาะช่างเป็นผู้ดำเนินการในราคาทั้งสิ้น 21,000 บาท และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งเป็น โรงเรียนโยธินบูรณะ สืบมาจนปัจจุบัน

ทำการเปิดเรียนเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 โรงเรียนมัธยมโยธินบูรณะแรกเริ่มเป็นนักเรียนชายล้วน จำนวน 516 คน ครู 22 คน จำนวนห้องเรียน 18 ห้อง เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบัน นักเรียนชายล้วนรุ่นสุดท้ายของโรงเรียนโยธินบูรณะ คือ รุ่นที่ 61 โดยหลังจากนั้นโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนสหศึกษา โดยเริ่มรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2538 และรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปีการศึกษา 2541

  • ในปี พ.ศ. 2541 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานศึกษา อนุมัติให้โรงเรียนโยธินบูรณะ เป็นโรงเรียนนำร่องแห่งแรกของประเทศไทย ในการเปิดสอนโครงการฯ ภาคภาษาอังกฤษ (English Program)
  • ในปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนโยธินบูรณะได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) จากกระทรวงศึกษาธิการ  และเปิดสอนโครงการหลักสูตรนานาชาติโรงเรียนโยธินบูรณะYothinburana International Program (YBIP) หลักสูตรของเคมบริดจ์
  • ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนโยธินบูรณะได้เปิดสอนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ Science and Mathematics Program (SMP.) ตามหลักสูตร สสวท. และ สอวน.

โรงเรียนโยธินบูรณะในปัจจุบัน มุ่งมั่นจัดระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม สู่คูณภาพมาตรฐานสากล ปัจจุบันโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนสหศึกษา มีนักเรียนทั้งชายและหญิงทุกระดับชั้น โดยเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในชื่อ สัปปายะสภาสถาน บนพื้นที่ 119 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของแยกเกียกกาย จึงทำให้สถานที่ราชการต่าง ๆ ในบริเวณนั้นต้องย้ายออกไปจากบริเวณดังกล่าว ซึ่งรวมถึงโรงเรียนโยธินบูรณะด้วย แต่ว่ารัฐบาลในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช ได้มอบพื้นที่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร สร้างเป็นโรงเรียนโยธินบูรณะแห่งใหม่ให้แทน โดยได้เริ่มการเรียนการสอนในพื้นที่แห่งใหม่ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ข้อพิพาทในส่วนการบริหารงาน แก้

ในปี พ.ศ. 2550 นายวิชัย รูปขำดี ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนโยธินบูรณะ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา และกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ตรวจสอบการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ปกครองในการรับนักเรียน ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองจำนวนมากเกี่ยวเนื่องกับการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 โดยในภาคปกติจะต้องบริจาคคนละ 30,000-50,000 บาท ส่วนภาคภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท และใบเสร็จที่ออกให้เป็นของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ซึ่ง ผอ. โรงเรียนโยธินบูรณะได้ชี้แจงว่ามีการนำเงินไปทำโครงการต่าง ๆ เช่น ปรับปรุงห้องเรียน ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ แต่นายวิชัยกล่าวต่อว่าทางโรงเรียนไม่ได้แจ้งจำนวนนักเรียนที่รับเพิ่ม รวมถึงไม่แจ้งจำนวนเงินที่ได้รับบริจาค และรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่างๆ และเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิด ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศ ศธ.ที่ไม่ให้เรียกรับเงิน[2]

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

  • คติธรรมประจำโรงเรียน "ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต" แปลว่า "ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก" [3]
  • ตราประจำโรงเรียน
    • คบเพลิง แสงสว่างของคบเพลิง หมายถึง ความรุ่งโรจน์แห่งปัญญา สอดคล้องกับคติธรรมประจำโรงเรียนว่า "ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต"
    • กงจักร รูปกงจักรเกี่ยวกับคบเพลิง หมายถึง การก้าวไปข้างหน้า โดยอาศัยปัญญาเป็นเครื่องนำทางและพร้อมที่จะฟันฝ่าอุปสรรคทั้งปวงให้สิ้นไป
    • กระหนกลายไทย กระหนกลายไทยล้อมรอบคบเพลิง กงจักร อักษรย่อ ย.บ. และคติธรรมของโรงเรียนนั้น หมายถึง ลูกโยธินบูรณะทุกคนจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม ในขอบเขตของขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย
  • คำขวัญประจำโรงเรียน "เรียนเด่น เล่นดี สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม"
  • เอกลักษณ์ของโรงเรียน "โยธินถิ่นคนดี"
  • สีประจำโรงเรียน
    • สีชมพู หมายถึง ความร่าเริง แจ่มใส ความรักสามัคคี และเสียสละ
    • สีน้ำเงิน หมายถึง ความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีวินัย และคุณธรรม

รายนามอาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการโรงเรียน แก้

ลำดับ รายนามอาจารย์ใหญ่[4] เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 นายภักดิ์ ฉวีสุข พ.ศ. 2478 พ.ศ. 2479
2 นายเปรื่อง สุเสวี พ.ศ. 2479 พ.ศ. 2487
3 นายเชื้อ สาริมน พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2491
4 นายสนอง สุขสมาน พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2495
5 ขุนศิลปการณ์พิศิษฏิ์ (ประเสริฐ จุลฤกษ์) พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2498
6 นายโปร่ง ส่งแสงเดิม พ.ศ. 2498 พ.ศ. 2501
7 นายเจษฏิ์ ปรีชานนท์ พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2507
8 นายสุวัฒน์ กาญจวสิต พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2510
9 นายจรันต์ เศรษฐบุตร พ.ศ. 2510 พ.ศ. 2513
ลำดับ รายนามผู้อำนวยการ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
10 นายสันทัด เมี้ยนกำเนิด พ.ศ. 2513 พ.ศ. 2519
11 นายสุวิต โรจน์ชีวะ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2520
12 นายถนอม ทัฬหพงศ์ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2527
13 นายรังสรรค์ สุนทรนันท์ พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2534
14 นายดุสิต พูนพอน พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2535
15 นายสมพงษ์ รุจิรวรรธน์ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2540
16 นายวิชัย พละเดช พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2541
17 นายปรีชา สนแจ้ง
(อธิบดีกรมสามัญศึกษา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ)
พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2541
18 นายวิศรุต สนธิชัย พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2546
19 นายธำรงค์ แพรนิมิตร พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2549
20 นายมานพ นพศิริกุล พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2551
21 ดร.วิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2554
22 นายพิชยนันท์ สารพานิช พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2558
23 นายอดิศักดิ์ วิไลลักษณ์ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2562
24 นายณรงค์ คงสมปราชญ์ พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564
25 นายสมเกียรติ ผ่องจิต พ.ศ. 2564 ปัจจุบัน

รายนามศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะ แก้

มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2557 นักแสดง

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลนักเรียน โรงเรียนโยธินบูรณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-19. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  2. ร้อง กมธ.ศึกษาฯช่วยตรวจสอบแป๊ะเจี๊ยะ
  3. "วิสัยทัศน์ พันธกิจ - โรงเรียนโยธินบูรณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-19. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  4. "ทำเนียบผู้บริหาร - โรงเรียนโยธินบูรณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-29. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′50″N 100°31′15″E / 13.81386°N 100.52073°E / 13.81386; 100.52073