โรงเรียนเพชรพิทยาคม

โรงเรียนเพชรพิทยาคม (อักษรย่อ: พ.ช., PKS) เป็นโรงเรียนรัฐบาล[3] เมื่อแรกก่อตั้งเป็นโรงเรียนประจำมณฑลเพชรบูรณ์ และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบูรณ์โดยเป็นโรงเรียนชายล้วนแต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนสหศึกษา จึงเป็นที่รู้จักของชาวเพชรบูรณ์และถูกเรียกอย่างแพร่หลายว่าเป็น "โรงเรียนชาย" และเป็นโรงเรียนรัฐบาลและสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาแห่งแรกของจังหวัดเพชรบูรณ์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2444 ปัจจุบันมีอายุ 122 ปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของถนนสามัคคีชัย(สระบุรี-หล่มสัก) เลขที่ 210 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ รหัสไปรษณีย์ 67000 รหัสสถานศึกษา 1067101001

โรงเรียนเพชรพิทยาคม
Petpittayakom School
ที่ตั้ง
พิกัด16°25′58″N 101°09′16″E / 16.432778°N 101.154462°E / 16.432778; 101.154462
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ช. PKS
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ[2]
คำขวัญแสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
สถาปนาพ.ศ. 2444 (อายุ 123 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระยาเพชรรัตน์สงคราม (เฟื่อง เฟื่องเพชร)[1]
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1067101001
ผู้อำนวยการนายวิเศษ ปิ่นพิทักษ์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น/ปลาย
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอน ไทย ภาษาไทย
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
สี███ ███ สีเขียว-ขาว
เพลงมาร์ชเพชรพิทยาคม
หนังสือพิมพ์วารสารเพชรพิทยาคม
ดอกไม้ดอกแก้ว
เว็บไซต์www.pks.ac.th

ประวัติ แก้

โรงเรียนเพชรพิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์ ในอดีตเป็นโรงเรียนประจำมณฑลเพชรบูรณ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยพระยาเพชรรัตน์สงคราม(เฟื่อง เฟื่องเพชร) ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์คนที่ 3[4] ที่บริเวณวัดไตรภูมิ ริมแม่น้ำป่าสัก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่ง กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ได้แต่งตั้งให้นายเปร่ง เพชรบูรณิน มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2447 ในระยะแรกเปิดสอนในระดับประถมศึกษา ต่อมาได้มีการย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนหลายครั้ง เช่น บริเวณวัดใหม่ บริเวณโรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ และเริ่มเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปี พ.ศ. 2482 และมัธยมศึกษาตอนปลายในปี พ.ศ. 2505 ในปี พ.ศ. 2517 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายจักรกฤษณ์ นาคะรัตน์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2522 ถือเป็นผู้บริหารโรงเรียนคนที่ 21 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2518 ได้ย้ายสถานที่ตั้งมาที่บริเวณโรงเรียนเพชรพิทยาคมในปัจจุบัน ทางทิศตะวันออกของถนนสามัคคีชัย ตรงข้ามกับศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบัน นายวิเศษ ปิ่นพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเพชรพิทยาคม ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนที่ 33 และผู้อำนวยการคนที่ 13[5]

รายนามผู้บริหาร แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายเปล่ง เพชระบูรณิน 2444 – 2447
2 ขุนสรรพกรกิจ 2447 – 2449
3 นายเล็ก 2449 – 2451
4 นายแถม พรหมบุญ 2451 – 2454
5 นายติ่ง ธีระสิงห์ 2454 – 2456
6 ขุนดรุณเวทย์วรดิษฐ 2456 – 2458
7 ขุนอักษรศาสตร์พินิจ 2458 – 2459
8 นายอยู่ 2459 – 2460
9 พระภิกษุยง พรหมบุญ 2460 – 2461
10 นายจอม โภชกานนท์ 2461 – 2471
11 นายเชื้อ สนั่นเมือง 2471 – 2475
12 นายจอม โภชกานนท์ 2475 – 2483
13 นายเชื้อ สนั่นเมือง 2483 – 2484
14 นายเนียน นิลวัฒน์ 2484 – 2487
15 นายประเสริฐ สื่อสิน 2487 – 2490
16 นายจำรัส สักรวัตร 2490 – 2496
17 นายสัญชัย เปศะรัตน์ 2496 – 2503
18 นายถาวร ภูวนาถ 2503 – 2506
19 นายวิชัย จะวะสิต 2506 – 2511
20 นายสายยนต์ เอี่ยมประสงค์ 2512 – 2517
21 นายจักรกฤษณ์ นาคะรัต 2517 – 2522
22 นายสมนึก ทีมพงศ์ 2522 – 2523
23 นายประสิทธิ์ มากลิ่น 2523 – 2524
24 นายประสิทธิ์ แสนไชย 2524 – 2527
25 นายวิจารณ์ ภักดีรัตน์ 2527 – 2532
26 นายชนินทร์ สุพลพิชิต 2532 – 2535
27 ว่าที่ ร.ต.วิชา ปานใจ 2535 – 2541
28 นายประสิทธิ์ อุทยานวิทยา 2541 – 2546
29 ว่าที่ ร.ต.ไพศาล ประทุมชาติ 2546 – 2551
30 นายชำนาญ นาอุดม 2551 - 2555
31 นายพีรพัฒน์ วัชรินทรางกูร 2555 - 2559
32 นายชัยชาญ ปัญญาพวก 2559 - 2562
33 นายวิเศษ ปิ่นพิทักษ์ 2562 - ปัจจุบัน

อาคารสำคัญในโรงเรียน แก้

 
ลานโพธิ์
 
หอประชุมเพชร
  • ลานโพธิ์ เป็นลานกลางโรงเรียน ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมในเทศการต่างๆ ของโรงเรียน เช่น วันภาษาไทยแห่งชาติ วันปีใหม่ วันไหว้ครู ซึ่งในวันไหว้ครู ลานแห่งนี้จะเป็นสถานที่ที่นักเรียนชั้นต่างๆ จะมาร่วมมือกันทำพานไหว้ครู
  • หอประชุมเพชร เป็นอาคารที่ใช้ทำกิจกรรมแรกของนักเรียน เช่น พิธีปฐมนิเทศ หรือพิธีสำคัญต่างๆ อย่างพิธีไหว้ครู การเลือกตั้งสภานักเรียน การประชุมผู้ปกครอง การคัดเลือกนักศึกษาวิชาทหาร และพิธีปัจฉิมนิเทศ
  • อาคารพระราชปริยัติบัณฑิต 112ปี เพชรพิทยาคม หรืออาคารโดม ใช้สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน
  • ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น ชมรมTo Be Number One โรงเรียนเพชรพิทยาคม
  • หอประชุมดอกแก้ว
  • อาคารพระราชปริยัติบัณฑิต ๑๑๒ ปีเพชรพิทยาคม(อาคารโดม)
  • อาคาร 1 มีจำนวน 3 ชั้น ตึกกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • อาคาร 2 มีจำนวน 3 ชั้น ประกอบด้วยห้องประชาสัมพันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และห้องแนะแนว
  • อาคาร 3 มีจำนวน 4 ชั้น ประกอบด้วยห้องกิจการนักเรียน ห้องวิชาการ ห้องโสตทัศนศึกษา 1 และ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์
  • อาคาร 4 มีจำนวน 4 ชั้น ประกอบด้วยห้องทะเบียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • อาคาร 5 มีจำนวน 4 ชั้น เป็นตึกของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • ห้องเรียน SMEP เป็นอาคารห้องเรียนปรับอากาศชั้นเดียว 4 หลัง แต่ละหลังมีจำนวน 5 ห้อง
  • อาคารวิทยาศาสตร์
  • อาคารอำนวยการ ประกอบด้วย ฝ่ายธุรการ ฝ่ายการเงิน ห้องประชุมอาคารสำนักงาน ห้องผู้อำนวยการ
  • อาคารพยาบาล
  • อาคารอุตสาหกรรม หัตถกรรม และอาคารชั่วคราว
  • ศูนย์กีฬาในร่ม(โรงยิม) อยู่ในการก่อสร้าง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

สถานที่ใกล้เคียง แก้

  • โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
  • ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเพชรบูรณ์
  • โรงเรียนวิทยานุกูลนารี
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์
  • แขวงทางหลวงเพชรบูรณ์ที่ 1 สำนักทางหลวงที่ 6
  • วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์
  • โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

อ้างอิง แก้

  1. "รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
  2. ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนเพชรพิทยาคม
  3. โรงเรียนเพชรพิทยาคม
  4. "รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
  5. รายนามผู้บริหารโรงเรียนเพชรพิทยาคม