โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง


โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง[1] (อังกฤษ: Assumption college Lampang) เป็นสถาบันการศึกษาอันดับที่ 7 ในจำนวน 14 สถาบันในกำกับมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ดำเนินการสอนสืบเนื่องมาโดยภราดาคณะเซนต์คาเบรียล มีจุดมุ่งหมายแรกเริ่มที่จะสอนให้เยาวชนอ่านออก เขียนได้คิดเลขเป็น และมีหลักศาสนาเป็นแนวทางให้ประพฤติตนเป็นคนดี

โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง
Assumption College Lampang
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ ส ช, ACL
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญLABOR OMNIA VINCIT
วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ
สถาปนา10 กุมภาพันธ์ 2502
(65 ปี 83 วัน)
ผู้อำนวยการภราดา ดร.เศกสรร สกนธวัฒน์
สี   น้ำเงิน และขาว
เพลงสดุดีอัสสัมชัญ
เว็บไซต์http://www.acl.ac.th

ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 294/1 ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52100

ประวัติ แก้

บาทหลวงเอเตียน กรางซ์ ชาวฝรั่งเศส ผู้ดูแลโรงเรียนอรุโณทัย อธิการโบสถ์คาทอลิกลำปาง ได้เสนอให้ภราดายอห์น แมรี อธิการเจ้าคณะแขวงคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มาเปิดโรงเรียนสาขาของมูลนิธิฯ ที่ลำปางเพื่อรับเฉพาะนักเรียนชาย ท่านอธิการใหญ่นำเสนอต่อกรรมการมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียล

โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2501 โดยรับแยกโอนนักเรียนชายจากโรงเรียนอรุโณทัยมาดำเนินการ บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีนักเรียนทั้งสิ้นเพียง 210 คน ภราดา 4 คน ครูชาย 5 คน และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้ชื่อว่า “โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ตามใบอนุญาตเลขที่ 1/2502 เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ม.6 โดยมีภราดาเซราฟิน เป็นอธิการคนแรก และภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ เป็นครูใหญ่และผู้จัดการ มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยได้จัดให้ ภราดามาดำรงตำแหน่ง อธิการทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของโรงเรียน เนื้อที่ของโรงเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีเนื้อที่ทั้งหมด 59 ไร่ 1 งาน 35 ตารางวา

ข้อมูลโรงเรียน แก้

- โรงเรียนอัสสัมชัญลำปางตั้งอยู่เลขที่ 294/1 ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2501 โดยรับแยกโอนนักเรียนชายจากโรงเรียนอรุโณทัยมาดำเนินการบนเนื้อที่ 18 ไร่ มีนักเรียนเพียง 210 คน ภราดา 4 องค์ ครูชาย 5 คน ชุดนักเรียนเป็นเสื้อสีขาว กางเกงขาสั้นสีกากี รองเท้าสีน้ำตาล ถุงเท้าขาว และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ชื่อว่า “ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ” เมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502 ตามใบอนุญาตเลขที่ 1/2502 เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ม.6 โดยมี ภราดาเซราฟิน (ชาวสเปน)เป็นอธิการคนแรก และภราดาฟิลิป (อำนวย ปิ่นรัตน์) เป็นครูใหญ่และผู้จัดการ มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล แห่งประเทศไทย ได้จัดให้ภราดา มาดำรงตำแหน่ง อธิการทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของโรงเรียน

- ปีการศึกษา 2505 เปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนเป็นเสื้อสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน รองเท้าสีดำ ถุงเท้าขาว พร้อมทั้งเปลี่ยนวันปิดเรียน ประจำสัปดาห์ จากวันพฤหัสบดีกับวันอาทิตย์ มาเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์

- ปีการศึกษา 2509 เปิดการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) แผนกศิลปะเป็นรุ่นแรก จำนวน 1 ห้องเรียน รับเฉพาะนักเรียนชาย จำนวน 30 คน

- ปีการศึกษา 2524 เปิดรับนักเรียนประเภทสหศึกษา และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนดีเด่น รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2524 เขตการศึกษา 8

- ปีการศึกษา 2543 ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) มีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 - 2547

- โรงเรียนอัสสัมชัญลำปางเปิดสอนวิชาสามัญตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 เน้นคุณธรรมจริยธรรม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์

- ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีห้องเรียน 98 ห้องเรียน นักเรียน 4,318 คน เป็นนักเรียนชาย 2,551 คน นักเรียนหญิง 1,767 คน ครู 276 คน เป็นภราดา 4 องค์ ครูชาย 61 คน ครูหญิง 211 คน มีอาคารเรียน 8 หลัง อาคารประกอบการเรียน 6 หลัง และมีเนื้อที่ทั้งหมด 53 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา

ความหมายของตราโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง แก้

ตราโรงเรียน มีรูปร่างลักษณะใจกลางของเครื่องหมายเป็นรูปโล่ แบ่งออกเป็นสี่ซีกส่วนบนสองซีกส่วนล่างสองซีก ดังรูป ตรานี้เป็นตราของ “ คณะภราดาเซนต์คาเบรียล ”และสถาบันการศึกษาทั้งหมดในเครืออัสสัมชัญเซนต์คาเบรียล ได้ใช้เป็นตราประจำสถาบันร่วมกัน

ตรานี้จึงเป็นเครื่องแสดงถึงเอกลักษณ์และความสามัคคีของมวลสมาชิกทั้งหลายเป็นที่รวม หัวใจผู้มีเลือดอัสสัมชัญเซนต์คาเบรียล ให้อยู่ ภายใต้สำนึกแห่งการประพฤติปฏิบัติร่วมกัน นอกจากความสำคัญอันเป็นนามธรรมดังกล่าวแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของตรานี้ยังมีความหมายเป็นทั้ง คติธรรมและแนวทางที่จะนำทุกคนไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดของการศึกษาของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล อีกด้วย

โล่ หรือ Coat of Arms แก้

ที่อยู่ใจกลางของตรานี้ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงเกียรติประวัติอันยาวนานและยั่งยืนของสถาบันอัสสัมชัญเซนต์คาเบรียลที่สถาบันของเราได้รับจากพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองอำนาจทั้งในและนอกประเทศ ภายในโล่แบ่งเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วน มีความหมายเชื่อมโยงกันดังนี้

A.M. และ ช่อดอกซ่อนกลิ่นสีขาว แก้

A.M. มาจากคำละตินว่า "Ave Marie" หมายถึง "วันทา มารี" พระนางมารีย์พรหมจารีมารดาของพระเยซูคริสต์ หรืออีกนัยหนึ่ง A.M. หมายถึง "Alma Mater" หมายถึง "โรงเรียนแม่" — ส่วนดอกซ่อนกลิ่น แสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ที่นักเรียนทุกคนต้องพยายามทำตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และ ใจ อยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม — ในส่วนนี้จึงมีความหมายรวมว่า โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านเกิดที่ทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัว มีพระนางมารีอาเป็นที่รักเคารพและบูชาร่วมกันไม่แยกแยะว่าใครมีหรือจน ความรักและความสุขที่มีต่อครอบครัว ต่อแม่ที่มีร่วมกันเป็นความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจเสมอ ละรักใคร้สามัคคี ไม่ว่าอยู่ ณ ที่แห่งใด

รูปเรือใบ และ ดาวเหนือเรือ แก้

เปรียบได้กับ "นาวาชีวิต" ที่จะต้องต่อสู้คลื่นลมและแสงแดดไปจนถึงฝั่ง เป็นคติให้ได้คิดเสมอว่า "ชีวิตคือการต่อสู้" มีดวงดาวอยู่ในท้องฟ้าเหนือเรือที่กำลังสู้คลื่นลม หมายถึงแสดงแห่งความหวัง ได้แก่ แสงธรรมแห่งศาสนา กับแสดงแห่งปัญญา จากสรรพวิทยาการที่ได้รับจากโรงเรียนรวมกันเป็นดวง ประทีป ส่องนำชีวิต (คือคนที่อยู่ในเรือ) ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ด้วยคุณธรรม และปัญญา

อักษร DS และไม้กางเขน แก้

ย่อจากภาษาฝรั่งเศส "Dieu Seul" หมายความว่า จะทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระเจ้า เป็นคติพจน์ของนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ ผู้สถาปนาคณะภราดาเซนต์คาเบรียล — โดยอีกนัยหนึ่ง D หรือ Divinity หมายถึงศาสนา ซึ่งเราทุกคนต้องมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ, เครื่องหมายไม้กางเขน เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก และความเสียสละ ดังที่พระคริสต์ได้ทรงสละชีวิตของพระองค์ด้วยความรัก ที่จะช่วยไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์, S หรือ Science หมายถึงวิทยาการ ความรู้ที่ทำให้เรามีเหตุผล เราทุกคนควรจะมุ่งหาความรู้อยู่เสมอ ยิ่งเรามีความรู้ฝ่ายโลกมากขึ้นเท่าได เราก็ยิ่งควรสนใจหาความรู้ฝ่ายธรรมให้มากขึ้นเท่านั้น

สำหรับพวงดอกไม้ที่ประดับโล่ เป็นมาลัยเกียรติยศที่จะเตือนใจทุกคนให้กระทำความดีให้เชิดชู และจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียงของสถาบันมิให้เสื่อมสูญสลายไป

เกียรติประวัติของโรงเรียน แก้

1. โรงเรียนได้รับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 ถึง ปีการศึกษา 2547

2. โรงเรียนรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด ระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ และระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง เพื่อรับรางวัลพระราชทานปีการศึกษา 2544

3. วงโยธวาทิตของโรงเรียนได้รับรางวัลเหรียญทอง จากการประกวดคอนเสิร์ตแบนด์นักเรียนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2544

4. วงโยธวาทิตของโรงเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และรางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง ในการประกวดวงคอนเสิร์ตแบนด์นักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

5. วงโยวาทิตโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง รางวัลความสามารถ ดีเด่นประจำวัน และ รางวัลชนะเลิศการบรรเลงดนตรีสนามดีเด่น ในการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นิสิต นักศึกษาชิงถ้วยพระ

โชเล่ยื

ราชทานฯ ครั้งที่ 21 ประจำปีพุทธศักราช 2545

6. วงโยธวาทิตโรงเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการประกวดดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ครั้งที่ 4 ประจำปีพุทธศักราช 2547

7. วงโยธวาทิตได้รับรางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง ในการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 8 ประจำปีพุทธศักราช 2547

8. วงโยธวาทิตได้รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการประกวดดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปีพุทธศักราช 2547

9. วงโยธวาทิตได้รับรางวัลรองชนะเลิศ และ รางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง ในการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 10 ประจำปีพุทธศักราช 2548

10. วงโยธวาทิตได้รับรางวัลความสามารถระดับเหรียญทอง ประเภทนั่งบรรเลง จากการประกวดวงโยธวาทิต ประเภทนั่งบรรเลง ระดับมัธยมศึกษาเขตภาคเหนือ และรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ จากการแข่งขันวงโยธวาทิตประเภทนั่งบรรเลง ประจำปีพุทธศักราช 2549

11. โรงอาหารมาตรฐานระดับดีมาก จากกรมอานมัย กระทรวงศึกษาธิการ

12. โรงเรียนกิจกรรมดีเด่นระดับเหรียญทอง " กิจกรรมโยคะมหัศจรรย์ " จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1

13. รางวัลโรงเรียนพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ของกระทรวงศึกษาธิการ 2548

14. รางวัลพระราชทานห้องสมุดดีเด่น ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

15. รางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่น จากมาตรฐานสุขภิบาล กรมอนามัย

16. อัสสัมชัญเนอสเซอรี่ ได้รับการรับรองมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ระดับ ดีมาก จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง ประจำปีพุทธศักราช 2551

อ้างอิง แก้