โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ (อังกฤษ: Assumption Convent, ฝรั่งเศส: Couvent De l'Assomption) (อักษรย่อ: อสค, ASC) เป็นโรงเรียนโรมันคาทอลิกหญิงแห่งแรกของประเทศ และเป็นโรงเรียนแรกในเครือคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรแห่งประเทศไทย ก่อตั้งโดยคุณพ่อหลุยส์ โชเวต์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1696

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
Assumption Convent
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นอสค ASC
ประเภทเอกชน
คำขวัญศึกษาดี มีวินัย ใจเมตตา ใฝ่หาคุณธรรม เลิศล้ำการงาน
สถาปนา2 มีนาคม พ.ศ. 2447 (120 ปี)
ผู้ก่อตั้งบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศสภาษาฝรั่งเศส
จีนภาษาจีน
สีแดง-ขาว
เพลงอัสสัมชัญคอนแวนต์,ในรั้วคอนแวนต์, ร่มพิกุล
ต้นไม้พิกุล
เว็บไซต์www.asc.ac.th
บาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ บาทหลวงผู้ยิ่งใหญ่ที่ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญและโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ที่มีประวัติเก่าแก่มายาวนาน

ประวัติโดยย่อ แก้

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เริ่มเปิดทำการสอนโดยคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในวันที่ 2 มีนาคม 2447 มีเซอร์แซงต์ ซาเวียร์ เป็นอธิการิณีท่านแรก เนื่องจากดำริของ มุขนายกฌอง หลุยส์ เวย์ (Jean Louis Vey) ที่จะสร้างสถานศึกษาสำหรับเด็กหญิง จึงมอบหมายให้คุณพ่อเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญเป็นผู้ดำเนินงาน มีคุณพ่อ เรอมิเออ (Romier) เหรัญญิกของมิสซังเป็นผู้อำนวยการก่อสร้างตึกเรียน จากนั้นจึงได้มอบหมายหน้าที่ด้านการบริหารให้แก่ภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ซี่งขณะนั้นดำเนินงานอยู่ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ดังนั้นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์จึงถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกของเครือเซนต์ปอล เดอ ชาร์ต

เมื่อเริ่มเปิดทำการสอนนั้นมีนักเรียน 37 คน โดยมีท่านอธิการิณีและภคินีอีก 7 คน และครูฆราวาสอีก 2 - 3 คน เป็นผู้สอน โดยจะเน้นการใช้ภาษาต่างประเทศเป็นหลัก ได้แก่ วิชาภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกส ภาษาเยอรมัน ภาษาไทย และดนตรี นอกจากนี้นักเรียนทุกคนต้องได้รับการอบรมด้านจริยธรรม สังคมสงเคราะห์ และกิริยามารยาท อันถือเป็นลักษณะเฉพาะของโรงเรียนซึ่งยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบันโรงเรียนตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 3 ไร่ 2 งาน ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ของอาสนวิหารอัสสัมชัญ โดยได้มีการเสกอาคารเรียนหลังแรกในวันที่ 18 มิถุนายน 2448 ดังน้นจึงถือว่าวันนี้เป็นวันเปิดเรียนอย่างเป็นทางการ

2495 ด้วยจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ในที่สุดจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาขึ้น ซึ่งอยู่ในความดูแลของอาสนวิหารอัสสัมชัญ 2538 ได้แยกแผนกประถมไปที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม บน ถ.ประมวญ กรุงเทพฯ2541 ได้ขยายโรงเรียน โดยเปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ลำนารายณ์ ขึ้นที่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ทำการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 (ปัจจุบันสอนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6) ปัจจุบันโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ทำการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 3,658 คน ครู 203 คน

ประวัติโดยละเอียด แก้

 
อาคารศตพรรษภัชรสมโภชอัสสัมชัญคอนแวนต์ หรือ ตึก 1 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566

พ.ศ. 2448- 2 มีนาคม เปิดทำการสอนนักเรียนรุ่นแรกจำนวน 37 คน การสอนใช้ภาษาต่างประเทศเป็นหลัก เช่น ภาษาอังกฤษ เยอรมัน โปรตุเกส และฝรั่งเศส ภาษาไทยวันละชั่วโมง นอกจากนั้นยังมีวิชาจริยธรรม ดนตรี เย็บปักถักร้อย และมารยาททั่วไป ขณะนั้นยังไม่มีเครื่องแบบนักเรียน- 7 มีนาคม คณะเซอร์ย้ายเข้ามาอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยมีเซอร์แซงต์ ซาเวียร์ ท่านอธิการิณีท่านแรกสอนภาษาฮอลันดา, เซอร์อันนา ซาเวียร์ สอนภาษาฝรั่งเศส, เซอร์อักแนส เดอ เซนต์ปอล สอนภาษาอังกฤษและเยอรมัน, เซอร์อังเชลิก โยแซฟ สอนภาษาโปรตุเกส, เซอร์มารีย์บลังซ์ สอนงานฝีมือและงานประดิษฐ์, เซอร์ดอมินิก สอนภาษาอังกฤษ, เซอร์เทแรส (โนวิส) สอนภาษาไทย,เซอร์มาร์เกอริต ดูแลเรื่องอาหาร โดยมี คุณพ่อการิเอ สอนภาษาไทยให้กับคณะเซอร์วันละ 1 ชั่วโมง- 18 มิถุนายน มีพิธีเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการ ฯพณฯหลุยส์ เวย์ เป็นประธานการเสกอาคารเรียน 3 ชั้น และการเฉลิมฉลองเริ่มด้วยสหบูชามิสซา มีเซอร์จากโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์และสามเสนมาร่วมยินดี- 19 มิถุนายน หนังสือพิมพ์ในกรุงเทพฯลงข่าวเรื่องการเปิดโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์อย่างเป็นทางการ สำหรับหญิงสาวที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน โปรตุเกส ฯลฯ

  • พ.ศ. 2450 - เซอร์อันนา ซาเวียร์ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 2 ขณะนั้นนักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานของชาวยุโรปที่ทำงานในประเทศไทย
  • พ.ศ. 2461 - โรงเรียนได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ขึ้นตรงกับกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2472 - เซอร์อานน์ แชร์แมน ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 3
  • พ.ศ. 2474 - โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนจากมัธยมศึกษาปีที่ 6 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 8
  • พ.ศ. 2476 - โรงเรียนได้ช่วยเหลือนักเรียนที่ขัดสนให้เรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ชั้นมูลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนาใดๆ- เริ่มมีเครื่องแบบนักเรียนและครู โดยใส่เสื้อแขนยาวสีขาวทับไว้นอกผ้าซิ่นแดง นักเรียนจะผูกไทสีแดง ส่วนคุณครูจะผูกโบว์- คุณพ่อกอลมเบต์ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ถึงแก่กรรม
  • พ.ศ. 2478 - โรงเรียนส่งนักเรียนชั้นมัธยมบริบูรณ์ (ม.8) เข้าสมทบในการสอบไล่ของกระทรวง
  • พ.ศ. 2480 - โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล
  • พ.ศ. 2483 - คุณครู ถนอมจิต หุตะสิงห์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนแทนเซอร์อานน์ แชร์แมน โดยมีครู รุจิรา ชโนดม ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2487 - เกิดสงครามแปซิฟิก โรงเรียนได้อพยพคณะเซอร์ ครู และนักเรียนที่ผู้ปกครองฝากไว้ไปที่โรงเรียนเซนต์ปอลฉะเชิงเทรา (ปัจจุบันคือโรงเรียนเซนต์แอนโทนี)
  • พ.ศ. 2489 - โรงเรียนได้เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์แทน ม.8 เดิม
  • พ.ศ. 2490 - เซอร์แซงค์ บาร์บ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 4- โรงเรียนเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียนให้เหมือนกับของโรงเรียนรัฐบาล
  • พ.ศ. 2494- เซอร์เมรี่ เดอแลง กานาซีออง ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 5 และครูใหญ่ของโรงเรียน- ก่อตั้งสมาคมศิษย์อัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยยื่นขอจดทะเบียนก่อตั้งสมาคมกับสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2496- ด้วยจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นจึงแยกออกเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา (ซึ่งภายหลังมอบให้อยู่ในความดูแลของอาสนวิหารอัสสัมชัญ)- เปลี่ยนเครื่องแบบจากเดิมมาเป็นเครื่องแบบในปัจจุบัน (ส่วนเครื่องแบบเดิมมอบให้โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา)- สร้างอาคารเรียน 2 ชั้น เพื่อแยกตึกเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีงานฉลองเปิดอาคารเรียนหลังใหม่- ท่านอธิการิณีเมรี่ ได้รับเหรียญเกรียติยศด้านการสอนจากประเทศฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2498 - วันที่ 5 - 6 พฤศจิกายน ได้จัดงานครบรอบ 50 ปีของโรงเรียน และจัดทำหนังสืออนุสรณ์เล่มแรกขึ้น
  • พ.ศ. 2500 - เซอร์เอมิเลียน ดำรงตำแหน่งอธิการิณีท่านที่ 6 โดยท่านเป็นอธิการิณีชาวไทยคนแรก และเป็นศิษย์อัสสัมชัญคอนแวนต์
  • พ.ศ. 2501 - เริ่มใช้สมุดระเบียบการ (School Note-Book) อย่างเป็นทางการ
  • พ.ศ. 2503 - เซอร์มารี ลูเชียน ดำรงตำแหน่งอธิการิณีท่านที่ 7
  • พ.ศ. 2505 - ทีมบาสเก็ตบอลของโรงเรียนชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมบาสเก็ตบอลแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2506 - ทีมบาสเก็ตบอลของโรงเรียนชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมบาสเก็ตบอลแห่งประเทศไทยเป็นปีที่ 2
  • พ.ศ. 2507 - โรงเรียนได้รับพระราชทานรางวัลประเภทโรงเรียนดีจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม
  • พ.ศ. 2508 - จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งโรงเรียน และมีการทำหนังสืออนุสรณ์ 60 ปี
  • พ.ศ. 2509 - เซอร์เออเชนี มารี สุดารา ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 8
  • พ.ศ. 2510 - โรงเรียนได้เปลี่ยนวันหยุดจากวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์ มาเป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์
  • พ.ศ. 2511 - สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ 4 ชั้น มีพิธีเสกอาคารเรียนในวันที่ 11 กรกฎาคม โดยมีฯพณฯยวง นิตโย เป็นประธานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา- โรงเรียนได้ร่วมกับสมาคมศิษย์อัสสัมชัญคอนแวนต์จัดงานสงเคราะห์เด็กยากจนในแหล่งเสื่อมโทรมเขตบางรัก
  • พ.ศ. 2512 - ทีมบาสเก็ตบอลของโรเรียน ชนะเลิศการแข่งขันบาสเก็ตบอลรุ่นใหญ่ของการแข่งขันกีฬาในกลุ่มคอนแวนต์
  • พ.ศ. 2513 - โรงเรียนฉลองการก่อตั้งครบ 65 ปี โดยจัดโครงการโรงเรียนน้อง คือ โรงเรียนทหารม้าอนุสรณ์ ต.หมู่บ้านวังดิน จ.เชียงใหม่ โดย คณะเซอร์ ครู และนักเรียน ได้ร่วมกันนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายช่วยเหลือชาวบ้านและนักเรียนในหมู่บ้าน รวมถึงอบรมให้ชาวบ้านและเด็ก ๆ รู้จักดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย
  • พ.ศ. 2514 - เปิดสอนชั้นมัธยมปลายแทนชั้นเตรียมอุดมศึกษาที่งดสอนไประยะหนึ่ง
  • พ.ศ. 2516 - เซอร์เวโรนิค เดอ มารี กลิ่นไกร ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 9- มีการมอบทุนการศึกษาและรางวัลเรียนดีให้แก่นักเรียน- ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โดยเซอร์ฮองรี อ่อนสว่าง และนายสกล มังคละรัช
  • พ.ศ. 2518 - โรงเรียนฉลองครบ 70 ปี แห่งการก่อตั้ง ฯพณฯ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในงาน และ ฯพณฯ อัครมุขนายกไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในศาสนพิธี มีการจัดทำหนังสืออนุสรณ์ 70 ปี
  • พ.ศ. 2519- เซอร์อัลฟองส์ เดอ แซงต์เปียร์ วรศิลป์ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 10 - โรงเรียนได้ปรับเปลี่ยนระบบชั้นเรียนเป็น 6-3-3 ตามนโยบายของรัฐบาล คือ ประถมศึกษา 6 ปี มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
  • พ.ศ. 2521 - จัดงานกตเวทิตาคุณ เพื่อเป็นเกียรติแก่ครูที่สอนตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไปในงานวันครู วันที่ 16 มกราคม
  • พ.ศ. 2522 - ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นตึก 6 ชั้น แทนอาคารเรียนหลังเก่า
  • พ.ศ. 2523 - โรงเรียนฉลองครบ 75 ปี วันที่ 31 พฤษภาคม มีพิธีเสกอาคารเรียนหลังใหม่ชื่อ "ตึกอนุสรณ์ 75 ปี" โดย ฯพณฯ ไมเกิล มีชัย กิจบุญชู- 6 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน โรงเรียนได้หยุดเรียนตามคำสั่งของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเกิดอุทกภัย- จัดงานแสดงวิวัฒนาการทางศาสนา โอกาสงานชุมนุมผู้แทนองค์การศาสนาต่างๆ ครั้งที่ 15 ในวันที่ 19 - 21 กันยายน
  • พ.ศ. 2524 - แมร์มอนิค มหาธิการิณีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้เยี่ยมชมกิจการของโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในโอกาสที่ท่านเยือนแขวงประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
  • พ.ศ. 2525 - เซอร์อัลฟองส์ เดอ แซงต์เปียร์ สะอาด วรศิลป์ ได้รับโล่ครูดีเด่นจากสมาคมโรงเรียนราษฏร์ ในฐานะผู้จัดการและครูโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ในวันที่ 22 มกราคม- จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน วันที่ 15 - 21 เมษายน- เซอร์ฟรังซัวส์ ชีรานนท์ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 11
  • พ.ศ. 2526 - สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และสมาคมศิษย์อัสสัมชัญคอนแวนต์ร่วมกับโรงเรียนจัดงาน "สุวรรณสมโภช"ให้คุณครูรุจิรา ชโนดม ที่ทำงานครบ 50 ปี ในวันที่ 15 มกราคม
  • พ.ศ. 2527 - สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยือนประเทศไทย และได้เสด็จ ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ ชาวอัสสัมชัญคอนแวนต์ร่วมรับเสด็จด้วยความปลื้มปิติ
  • พ.ศ. 2528 - ฉลองครบ 80 ปีของโรงเรียน มีการแสดงละครเรื่อง "นันทวัน" ณ โรงละครแห่งชาติ โดยรายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระราชกุศล
  • พ.ศ. 2529 - ทีมบาสเก็ตบอลของโรงเรียนชนะเลิศการแข่งขันของกรุงเทพมหานคร 3 ปีซ้อน (2527 - 2529) และชนะเลิศการแข่งขันร้องเพลงฝรั่งเศส จากสมาคมฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2530- โรงเรียนได้จัดงานเกษียณอายุให้แก่ครูรุจิรา ชโนดม ครูใหญ่ โดยมีเซอร์เรอเน เด มารี อาภรณ์ แสงหิรัญ ดำรงตำแหน่งแทน- ซ่อมแซมอาคารเรียนหลังแรก เพื่อใช้เป็นตึกเรียนของระดับประถมศึกษา- โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรเป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมคุรุสภา
  • พ.ศ. 2532 - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในงานจตุราสีติสมโภช อันเป็นปีที่โรงเรียนครบรอบ 84 ปี
  • พ.ศ. 2533 - เซอร์วาเลนติน มุ่งหมาย ดำรงตำแหน่งอธิการิณีท่านที่ 12
  • พ.ศ. 2534 - ได้รับโล่เกียรติยศชนะเลิศด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่นจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • พ.ศ. 2535 - ได้รับรางวัลชนะเลิศผลงานวิชาคณิตศาสตร์ จากกระทรวงศึกษาธิการในงานสถาปนาครบ 20 ปี ของสำนักงานการศึกษาเอกชน
  • พ.ศ. 2536 - เซอร์มารี เซเวียร์ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 13
  • พ.ศ. 2537 - เซอร์อัลฟองส์ เดอ แซงต์เปียร์ สะอาด วรศิลป์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2538- ขยายการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยซื้อกิจการโรงเรียนผดุงดรุณี และเรียกชื่อโรงเรียนใหม่ว่า อัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม ส่วนโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ บางรัก เป็นแผนกมัธยม- งานฉลอง 90 ปี โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ บางรัก โดยมี ฯพณฯ พระคาร์ดินัล ไมเกิล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในศาสนพิธี
  • พ.ศ. 2539 - ได้รับรางวัลพระราชทานสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
  • พ.ศ. 2540 - เปิดการสอนหลักสูตร Intensive Course
  • พ.ศ. 2541 - เซอร์วาเลนติน มุกดา มุ่งหมาย ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2542- เซอร์วาเลนติน มุ่งหมาย ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 14 - โรงเรียนได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ (ISO 9200) จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.)
  • พ.ศ. 2544 - สร้าง Terrace ริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเป็นลานอเนกประสงค์
  • พ.ศ. 2545 - เซอร์แอนนี สนเจริญ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 15- เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน- ตัวแทนคณะเนตรนารีโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เข้าร่วมกิจกรรมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 ณ ต.หาดยาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546 - เซอร์ดอมีนิก กิจเจริญ ดำรงตำแหน่งอธิการิณีคนที่ 16- เปิดการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4
  • พ.ศ. 2549- ได้รับโล่เชิดชูเกียรติและธงสถานศึกษาเข้มแข็งปลอดยาเสพติด จากนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม- วันที่ 2 มีนาคม จัดพิธีสหบูชามิสซาโมทนาคุณพระเป็นเจ้า เฉลิมฉลองศตพรรษภัชรสมโภชอัสสัมชัญคอนแวนต์ เนื่องในโอกาสโรงเรียนครบรอบ 100 ปี โดย ฯพณฯ อาร์ชบิชอป ซัลวาตอเร เพนนัคคีโอ เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย และพระคาร์ดินัล ไมเกิล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน จัดงานเฉลิมฉลองและการแสดง ณ ลานหน้าอาสนวิหารอัสสัมชัญ- วันที่ 19 มีนาคม สมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญคอนแวนต์ จัดงานเฉลิมฉลองศตพรรษภัชรสมโภช ณ หอประชุมกองทัพเรือ

ชื่อโรงเรียน แก้

ชื่ออัสสัมชัญคอนแวนต์ เดิมเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "COUVENT DE L'ASSOMPTION" ภายหลังเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษว่า "ASSUMPTION CONVENT" คำว่า ASSUMPTION (AS+SUMP+TION) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แปลว่าการยกขึ้น ส่วนคำว่า COUVENT หมายถึงสถานที่ซึ่งภคินีพำนักอยู่รวมกัน การใช้ชื่อโรงเรียนว่าอัสสัมชัญคอนแวนต์เพราะสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในบริเวณอาสนวิหารอัสสัมชัญ (Assumption Catherdral) แห่งมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการถวายเกียรติแด่การที่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เป็นการขอความคุ้มครองอารักขาและพระพรจากพระนางมารีพรหมจารีพระมารดาของพระเยซู นอกจากนี้ เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ยังได้อธิบายคำ "อัสสัมชัญ" ไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยการอ้างอิงภาษาบาลีและสันสกฤตว่า "อัสสัม" แผลงเป็นไทยว่า "อาศรม" ซึ่งแปลว่า ที่อยู่ ส่วน "ชัญ" แผลงมาจาก "ชญญ" แปลว่า ความรู้ เมื่อนำมารวมกันจะได้ความหมายว่า "สถานที่อยู่ของความรู้" หรือ "สถานที่ก่อให้เกิดความรู้" ดังนั้นชื่ออัสสัมชัญคอนแวนต์จึงเป็นชื่อที่มีความหมายพิเศษ

เครื่องหมายของโรงเรียน แก้

โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์มีเครื่องหมายที่สำคัญ 3 รูปสัญลักษณ์ ดังนี้

ตราของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แก้

เนื่องจากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์เป็นโรงเรียนแรกที่คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้จัดตั้งขึ้นในเมืองไทย ตราของคณะจึงได้จารึกไว้เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักและจดจำไว้ในดวงใจของศิษย์ตั้งแต่แรกเริ่มมาจนถึงทุกวันนี้ ความหมายของตรามีดังนี้รวงข้าวสีเขียวสดตั้งตรง 4 รวง หมายถึง ความซื่อสัตย์ ความราบเรียบและความเท่าเทียมของภคินี 4 คนแรก แม้พวกเธอจะเยาว์วัย แต่ก็อาจหาญรับงานหนักเกินกำลังเพื่อเป็นการพลีชีพประดุจเมล็ดพืชเล็กๆที่จะตกลงสู่พื้นดินพื้นที่สีทอง หมายถึง ความสว่างเจิดจ้าหลังวันแห่งความืดมนแห่งท้องทุ่งที่ราบโบซแห่งฝรั่งเศส ที่คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้ถือกำเนิดมาสีฟ้า เป็นสีของพระนางมารีอา มารดาแห่งพระเยซูที่ภคินีรัก เธอพิสูจน์ความรักนี้ด้วยการสวดสายประคำ และเลียนแบบพระมารดาด้านความสุภาพอ่อนโยนเดอ ชาร์ตร เป็นชื่อที่ 2 บอกถึงแม่บ้าน ซึ่งเป็นหัวใจและศูนย์รวมเอกภาพของคณะภคินี ตั้งอยู่ใกล้อาสนวิหารแม่พระแห่งชาทร์ ประเทศฝรั่งเศส

สีแดง สีแห่งความรัก เลือดแห่งความตาย และความกล้าหาญของนักบุญเปาโลอัครทูตและมรณสักขี องค์อุปถัมภ์ของภคินีผู้ถือดาบแห่งพระวาจาของพระเจ้า พร้อมจะประกาศข่าวดีแห่งความจริงแก่ทุกคนที่ได้พบหนังสือที่เปิดอยู่ มีคำจารึกว่า "จงเป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน" บ่งบอกถึงฐานะ ผู้รับใช้ ของภคินี ในการนำมนุษย์ให้รอด เพื่อเทิดเกียรติพระเจ้า

สัญลักษณ์ของโรงเรียน แก้

ประกอบด้วยปริมณฑล ภายในวงกลมมีเส้นขอบ และมีเส้นโค้งลงประดับรอบนอก บังเกิดเป็นกลีบกลางปริมณฑล มีโล่ป้องกันศัสตราวุธ ภายในโล่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนบนมีอักษร อ.ส.ค อยู่หน้าเส้นตรงตั้ง ส่วนกลางเว้นว่าง ส่วนล่างมีตะเกียงเปล่งประทีปวางอยู่บนหนังสือซ้อนกัน 2 เล่ม มีเส้นนอกเป็นฐาน มีดาบขัดอยู่หลังโล่ ปลายดาบปรากฏที่ด้านบนซ้าย ด้ามดาบปรากฏที่ด้านล่างขวา มอฝเห็บใบไม้ทอดปลายด้านบนขวา และด้านล่างซ้ายวงกลม หมายถึงความมุ่งหมายร่วมกันในการพัฒนาเยาวชน ให้เป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามคุณค่าแห่งศาสนธรรม วัฒนธรรม และวิชาความรู้ ขณะเดียวกันก็หมายถึงการรวมศรัทธาธรรมของนักบวชเข้ากับความรักของผู้ปกครอง เมตตาธรรมของครู และการแสวงหาความรู้ความเจริญของนักเรียนเส้นประดับเจ็ดกลีบ แทนพระคุณ 7 ประการ ของพระจิตเจ้า อันได้แก่ พระดำริ สติ ปัญญา ความคิดอ่าน กำลังความรู้ ความศรัทธา ความยำเกรงโล่ แสดงนัยของคุณธรรม ความรู้เป็นเครื่องป้องกันภัยดาบคม คือ ปัญญา ด้าม คือ สติ ดาบนี้จึงเป็นเครื่องประหารความเขลาและความไม่ชอบธรรมทั้งหลาย และป้องกันตนเอง จึงต้องใช้ด้วยความสุขุม คัมภีรภาพอย่างองอาจกล้าหาญใบไม้ แทน ใบมะกอก ใบของพืชเป็นส่วนที่ทำหน้าที่หายใจ ใบมะกอกจึงแทนการดำรงชีวิตในสันติสุขเพื่อสันติสุข

สัญลักษณ์ดอกลิลลี่ (Fleur De Lis) แก้

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้เลือกดอกลิลลี่เป็นสัญลักษณ์ของตราประจำโรงเรียน เพราะดอกลิลลี่มีสีขาวเปรียบเสมือนความบริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ จงรักภักดี และเที่ยงตรง ดอกลิลลี่ผุดขึ้นจากดินชูก้านตรงสู่ความไพศาลและความสว่าง ความงดงามของดอกลิลลี่สีขาวเป็นที่ชื่นชมเปรียบได้กับปรัชญาชีวิตว่า เจ้าของชีวิตพึงพัฒนาตนเองด้วยความตรง 2 ประการ คือ ซื่อตรงและเที่ยงตรง มีความถ่อมตน สุภาพ หนักแน่นอยู่เป็นเนืองนิตย์ ดุจดังแผ่นพื้นพสุธา มีความบริสุทธิ์เป็นความงามประจำตนและเป็นต้นฉบับ แม้ต้นกำเนิดจะอยู่ในที่อับก็พึงเจริญชีวิตสู่ความสว่าง ให้เป็นฉบับที่ดีงามเป็นที่ประจักษ์

สีของโรงเรียน แก้

สัญลักษณ์สีประจำโรงเรียน คือ แดง ขาว ประกอบขึ้นเป็นความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงไว้ด้วยความบริสุทธิ์อ่อนโยนอยู่ภายในสีแดง เป็นสีแห่งความรัก ความกล้าหาญ และเสียสละ เป็นพลังสำคัญในการต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อความถูกต้องยุติธรรม ไมหวาดหวั่นต่อภยันตรายทั้งปวง แม้จะเสียสละเลือดเพื่อให้คุณธรรมความดีคงอยู่ ก็จะยอมรักษาไว้แหนือสิ่งใดสีขาว เป็นสีแห่งความซื่อสัตย์ จงรักภักดี มั่นอยู่ในหลักธรรม ไม่ยอมให้สิ่งใดเข้ามาเจือปน เป็นความบริสุทธิ์พร้อมที่จะพัฒนาตนสู่ความดีเรื่อยไปอย่างไม่หยุดยั้ง

ต้นไม้ประจำโรงเรียน แก้

ต้นพิกุล เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็กถึงกลาง ความสูง 5 - 15 เมตร ใบเป็บใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยง ขอบเรียบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบ ดอกสีขาวมีกลิ่นหอมเย็น นิยมใช้บูชาพระ ออกระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม ผลกลมรี หัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง ส้ม หรือแดง มี 1 - 2 เมล็ด เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา เปรียบเสมือนโรงเรียนที่เป็นที่พักพิงให้แก่เด็กนักเรียน ดอกมีกลิ่นหอมเย็นๆเปรียบเสมือนชื่อเสียงของโรงเรียนที่ขจรขจายไปไกล มีชื่อเสียงมายาวนานและจะยั่งยืนตลอดไป

เพลงโรงเรียน แก้

เพลงประจำโรงเรียน แก้

St.Paul Hymn เป็นเพลงที่ใช้ในพิธีจบการศึกษาของนักเรียนของโรงเรียนในเครือเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรทั่วโลก สำหรับโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์จะใช้แพลงนี้ในพิธีรับ Diploma ของนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 อัสสัมชัญคอนแวนต์ ประพันธ์คำร้องโดยลมูล พูลวิทยกิจ ทำนองโดยพีระ ตรีบุปผา ในรั้วคอนแวนต์ ประพันธ์คำร้องและทำนองโดยร้อยแก้ว รักไทย

เพลงในงานฉลองศตพรรษภัชรสมโภช แก้

100 ปี อัสสัมชัญคอนแวนต์ ประพันธ์คำร้องโดยศรีสุภางค์ อินทร์ไทร ทำนองโดยนคร ถนอมทรัพย์"เพลงร่มพิกุล""เพลงDaughter of Assumption Convent""เพลงปะแตง" ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย กมลรัตน์ ชุติเชาวน์กุล ศิษย์เก่า ควบคุมการผลิตโดยม.นาฎยา งามเสงี่ยม ครูนาฏศิลป์และดนตรีไทยของโรงเรียน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้