โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา

โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา (อังกฤษ: Sawananan Wittaya School; ย่อ: ส.อ./SW) เป็นโรงเรียนรัฐบาลมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นหนึ่งในสามโรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัย ร่วมกับโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมและโรงเรียนอุดมดรุณี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง เปิดทำการเรียนการสอนมาแล้ว 128 ปี[1] ถือว่าเป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกของจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดสวรรคโลก[2]

โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
ละติน: Sawananan Wittaya School
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่อเดิมบัณฑิตสภา (2438-2442)
สวรรควิทยา (2442-2513) ชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
ก่อตั้งพ.ศ. 2438 (128 ปี)​
ผู้ก่อตั้งเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ผู้ริเริ่มการก่อตั้งโรงเรียนในมณฑลพิษณุโลก
สถานะเปิดทำการปกติ
โรงเรียนพี่น้องโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา 2
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส64022003
ผู้อำนวยการนายอนุชิต กมล (ตั้งแต่ปี 2566)
ครู/อาจารย์111 คน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6
จำนวนนักเรียน2,399 คน (2566)
ระบบการศึกษาในระบบ
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย ภาษาไทย
สหรัฐ ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี
สี   น้ำเงิน - ชมพู
คำขวัญวิชาการเกริกไกร มีวินัยในตนเอง
เพลงเพลงมาร์ชลูกสวรรค์อนันต์
สวรรค์สามัคคี
เว็บไซต์http://www.sawananan.ac.th

ป้ายชื่อโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา

บริเวณถนนหน้าโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา

ประวัติโรงเรียน แก้

ประวัติสรุปโดยย่อ
แก้

พ.ศ. 2438 แก้

: พระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ บอกให้ก่อตั้งโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงตามเมือง รวมถึงในจังหวัดสวรรคโลก ชื่อว่า โรงเรียนเมืองสวรรค์โลกย์

: ราชการได้ก่อสร้างโรงเรียน ตั้งอยู่บริเวณระหว่างศาลและศาลากลางจังหวัดสวรรคโลก แล้วเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น โรงเรียนบัณฑิตสภา

พ.ศ. 2442 แก้

1 มีนาคม: หลังก่อสร้างอาคารเรียนใหม่เสร็จบริเวณวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร บริเวณริมแม่น้ำยม ทางจังหวัดได้ยื่นเรื่องแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอรับนามพระราชทาน

2 มีนาคม: ย้ายมาเรียนบริเวณวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร บริเวณริมแม่น้ำยม

16 มีนาคม: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนสวรรควิทยา

หลังปี พ.ศ. 2459 แก้

: โรงเรียนสวรรควิทยามีชื่อทางการว่า โรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก “สวรรควิทยา”

พ.ศ. 2465 แก้

12 พฤษภาคม: พระยาสุรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลก ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลกขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก "อนันตนารี" ใช้อาคารเรียนเดิมอาศัยพลับพลา(ปัจจุบันคือที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรอำเภอสวรรคโลก)

พ.ศ. 2466 แก้

: โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก "อนันตนารี" ย้ายไปเรียนรวมกับโรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก “สวรรควิทยา”

พ.ศ. 2467 แก้

: โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก "อนันตนารี" แยกออกจากโรงเรียนชาย มาอยู่ ณ อาคารที่ได้ก่อสร้างใหม่ถาวร ปัจจุบันคือที่ตั้งของ เมรุของวัดสว่างอารมณ์

พ.ศ. 2480 แก้

: โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก "อนันตนารี" ได้ย้ายที่ตั้งไปบริเวณที่ดินท้ายจวนพระยาสวรรคโลก(มั่ง วิชิตนาค) (พื้นที่ตั้งอาคารอนันตนารี ปัจจุบัน)

พ.ศ. 2482 แก้

17 เมษายน: ราชการได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดสุโขทัย โรงเรียนสวรรควิทยา และ โรงเรียนอนันตนารี ก็ได้เปลี่ยนสถานะเป็น โรงเรียนชายประจำอำเภอสวรรคโลก “สวรรควิทยา” และ โรงเรียนสตรีประจำอำเภอสวรรคโลก “อนันตนารี”

พ.ศ. 2509 แก้

: โรงเรียนสวรรควิทยา ได้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่บริเวณ ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก (พื้นที่ปัจจุบัน)

พ.ศ. 2513 แก้

23 เมษายน: กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศรวม โรงเรียนสวรรควิทยา และโรงเรียนอนันตนารี เป็นโรงเรียนสหศึกษาเพียงแห่งเดียว ใช้ชื่อใหม่ว่า สวรรค์อนันต์วิทยา เป็นการรวมชื่อสองโรงเรียนเข้าด้วยกัน โดยย้ายนักเรียนหญิงจากโรงเรียนอนันตนารีไปเรียนรวมกับนักเรียนชายโรงเรียนสวรรควิทยา

พ.ศ. 2559 แก้

: โรงเรียนได้สร้างหอประชุมขึ้นมาแห่งใหม่ เพื่อใช้ในการประชุมและจัดกิจกรรมของโรงเรียน แทนที่โรงยิม ซึ่งมีอากาศที่ร้อนและอบอ้าว และใช้ชื่อ "หอประชุม 123 ปี" เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 123 ปีของการก่อตั้ง

พ.ศ. 2561 แก้

22 มีนาคม: โรงเรียนได้เปิด "หอสมุด 120 ปี วิถีแห่งปัญญา" สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 120 ปี

พ.ศ. 2567 แก้

: ครบรอบ 125 ปี "สวรรควิทยา" นามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ประวัติโรงเรียน
แก้

สมัยรัชกาลที่ 5
แก้

อำเภอสวรรคโลกเดิมที มีสถานะจังหวัด เป็นเมืองโท สวรรคโลก ภายใต้การปกครองของมณฑลพิษณุโลก ร่วมกับอีก 4 เมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองพิไชยมืองสุโขไทย และเมืองพิจิตร มีพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (สมัยยังพระนามว่า พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร) เป็นสมุหเทศาภิบาล ท่านได้บอกตั้งโรงเรียนมูลศึกษาเชลยศักดิ์ แบบเรียนหลวงในแต่ละเมืองของมณฑลพิษณุโลก โดยในปีพ.ศ. 2438 ได้บอกให้ก่อตั้งโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงตามเมือง ได้แก่

-โรงเรียนเมืองพิศณุโลกย์ (ปัจจุบัน โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม)

-โรงเรียนเมืองสวรรค์โลกย์

-โรงเรียนเมืองศุโขไทย (ปัจจุบัน โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม)

-โรงเรียนเมืองพิไชย (ปัจจุบัน โรงเรียนอุตรดิตถ์)

-โรงเรียนเมืองพิจิตร (ปัจจุบัน โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม)

         โดย โรงเรียนเมืองสวรรค์โลกย์ ได้ดำเนินการจัดตั้ง ก่อสร้างและเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ.114) แล้วใช้ชื่อว่า โรงเรียนบัณฑิตสภา ตั้งอยู่ภายในเมืองสวรรคโลก มีหลวงศาสนนิเทศก์ เป็นอาจารย์คนแรกของโรงเรียน และมีพระมหาดไทย ผู้อุปการะ สถานที่ตั้งอยู่ในตำบลในเมืองกึ่งกลางระหว่างศาลจังหวัดสวรรคโลกและศาลากลางจังหวัดสวรรคโลก[3][4]

 
ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงธรรมการ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๕ (เน้นโรงเรียนเมืองสวรรค์โลกย์)

ตัวโรงเรียนเป็นเรือนมุงหญ้าคา ฝากก พื้นปูกระดาน จุนักเรียนประมาณ 50 คน สอนหนังสือแบบมูลศึกษาชั้นต่ำ คือ เรียนหนังสือมูลบรรพกิจ คัด เขียนลายมือ คำนวณเลข หลวงศาสนนิเทศก์ เป็นครูใหญ่ และพระครูอีก 6 รูป ได้แก่ พระวินัยธรจ่าง พระสมุห์น่วม พระมหาเจริญ พระใบฎีกาเชย พระแก้ว บัณฑดิษ และ พระชม

 
พระราชกระแสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อ โรงเรียนสวรรควิทยา

โรงเรียนได้ทำการเรียนการสอน 4-5 ปี จนต่อมามีการตัดสินใจที่จะย้ายที่ตั้งโรงเรียนบัณฑิตสภา ไปอยู่ ณ ที่ดินเหนือวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร บริเวณริมแม่น้ำยม พระสีหะสงคราม ปลัดเมืองสวรรคโลก ในขณะนั้น ได้จัดการเรี่ยรายเงินจากข้าราชการและประชาชนเพื่อสร้างโรงเรียนบันฑิตสภาแห่งใหม่ พร้อมได้ขอรับพระราชทานนามโรงเรียนใหม่ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้เป็นที่ระลึก โดยรวบรวมเงินได้ทั้งสิ้น 2,576 บาท โดยได้ใช้จ่ายในการปลูกสร้างอาคารทั้งหมด โรงเรียนได้สร้างเสร็จและเปิดในวันที่ 2 มีนาคม 2442 สร้างด้วยเครื่องไม้ ฝากระดาน มุงกระเบื้องอย่างมั่นคง กว้าง 11 เมตร ยาว 20 เมตร[5]

         ต่อมาวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานนามโรงเรียนว่า สวรรควิทยา โดยใช้นามของเมืองสวรรคโลกเป็นนามมงคล และโรงเรียนก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสวรรควิทยา แต่อย่างไรก็ตามในเอกสารราชการบางแผ่น ก็ใช้ชื่อโรงเรียนที่ผิด เช่น

โรงเรียนสวรรค์วิทยาคม ใน ใบบอกมณฑลพิศณุโลกย์

โรงเรียนสวรรค์วิทยา ใน รายงานศาลาว่าการมหาดไทย

     วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2448 โรงเรียนได้มีการเรี่ยรายเพื่อซ่อมโรงเรียนที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม โดยพระพิศนุสงคราม ผู้รั้งเมืองสวรรคโลก ได้จัดการเรี่ยนรายได้เงิน 256 บาท 4 อัฐ ซื้อกระดาน ปูพื้นใหม่ ทาสีทั่วทั้งหลัง พร้อมจัดทำโต๊ะเก้าอี้เพิ่มเติม[6]

 
โรงเรียนสวรรควิทยา หลังการปรับปรุง (ไม่ทราบปี)

สมัยรัชกาลที่ 6
แก้

หลังปี พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง) อีกทั้ง ทางราชการ ได้ใช้ชื่อชื่อจังหวัดในชื่อโรงเรียนหลวง เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ทำให้โรงเรียนสวรรควิทยามีชื่อทางการว่า โรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก “สวรรควิทยา”

ปีพ.ศ. 2465 พระยาสุรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลก ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลกขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก "อนันตนารี" เปินทำการสอนเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ในความควบคุมของพระยาสุรินทร์ และมีนางสาวเนื่อง บิณฑดิษฐ์ เป็นครูใหญ่คนแรกได้ทำการสอนอยู่ เดิมทีใช้อาคารเรียนเดิมอาศัยพลับพลา(ปัจจุบันคือที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรอำเภอสวรรคโลก) จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายไปเรียนรวมกับโรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก “สวรรควิทยา”

พ.ศ. 2467 ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ในบริเวณวัดสว่างอารมณ์วรวิหารและแยกโรงเรียนสตรี ออกจากโรงเรียนชาย มาอยู่ ณ อาคารที่ได้ก่อสร้างใหม่ถาวร ปัจจุบันคือที่ตั้งของ เมรุของวัดสว่างอารมณ์[7]

สมัยรัชกาลที่ 7
แก้

ปีพ.ศ. 2470 ในสมัยของนายเหรียญ วงศ์มนีเป็นครูใหญ่ โรงเรียนชายประจำจังหวัดสวรรคโลก “สวรรควิทยา” จัดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ คือ ประถม 1-3 และ มัธยม 1-4 มีนักเรียนรวมเกือบ 100 คน และมีกองลูกเสือโรงเรียนรวม 52 คน ในขณะที่โรงเรียนอนันตนารี สอนในระดับ ประถม 1-3 และ มัธยม 1 รวมนักเรียนทั้งหมด 26 คน โดยที่ตั้งของทั้งสองอยู่ที่ในเขตวัดสว่างอารมณ์ ทั้งคู่มีระยะห่างกันเพียง 1 เส้นเศษ ในสมัยนั้นโรงเรียนทั้งสองประสบปัญหานักเรียนลดจำนวนและอาคารทรุดโทรม อันเป็นเพราะการเปิดของโรงเรียนประชาบาลที่เยอะขึ้น[8]

พ.ศ. 2475 โรงเรียนได้มีจำนวนนักเรียนและวิชาที่สอนมากขึ้น ประกอบกับโรงเรียนตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม ทำให้น้ำเซาะฝั่งตลิ่งพัง ทำให้ได้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนมาตั้งอยู่ข้างหลังวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร[7]

เวลาผ่านไปทั้งสองโรงเรียนสถานะเริ่มกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง ปีพ.ศ. 2475 โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก “อนันตนารี” มีจำนวนนักเรียนที่สอบไล่ระดับมัธยมปีที่ 2 จำนวนมากพอที่จะขยายตั้งชั้นมัธยมปีที่ 3 จึงได้ส่งเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ เรื่องจัดตั้งชั้นมัธยมปีที่ 3 และได้รับอนุญาติขยายชั้นเรียนปีที่ 3 ในปีเดียวกัน[9]

สมัยรัชกาลที่ 8
แก้

 
โรงเรียนอนันตนารี หลังใหม่ (ไม่ทราบปี)

พ.ศ. 2480 โรงเรียนอนันตนารีได้ย้ายที่ตั้งไปบริเวณที่ดินท้ายจวนพระยาสวรรคโลก(มั่ง วิชิตนาค) ได้ตั้งอาคารขึ้นแห่งใหม่และใช้อาคารแห่งนั้นจัดการเรียนการสอนเรื่อยมา

ปี 2481 สวรรควิทยา ในสมัยของนายงาม สีตะธนี โรงเรียนมีครูผู้สอนทั้งหมด 7 คนรวมครูใหญ่ ด้านโรงเรียนอนันตนารีมีครูผู้สอน 8 คนรวมครูใหญ่ จำนวนนักเรียนไม่ทราบ[10]

วันที่ 17 เมษายน 2482 ราชการได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดสุโขทัย หลังจากการรวมทั้งสองจังหวัดในปีพ.ศ. 2474 เป็นวันที่จังหวัดสวรรคโลกหมดสถานะภาพจังหวัด โรงเรียนสวรรควิทยา และ โรงเรียนอนันตนารี ก็ได้เปลี่ยนสถานะเป็น โรงเรียนชายประจำอำเภอสวรรคโลก “สวรรควิทยา” และ โรงเรียนสตรีประจำอำเภอสวรรคโลก “อนันตนารี”[11]

ในปีพ.ศ. 2484 โรงเรียนสวรรควิทยาได้เปิดการเรียนการสอนและมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ในสมัยนายเจริญ จาดศรี เป็นครูใหญ่ โรงเรียนมีนักเรียนเกือบ 300 คน ทำให้โรงเรียนมีจำนวนนักเรียนที่ล้นสถานที่มาก อีกทั้ง โต๊ะครู โต๊ะนักเรียนก็มีไม่พอใช้ จากรายงานกล่าวว่า เด็กนักเรียนสวรรควิทยานับว่าเป็นเด็กเรียบร้อยเป็นส่วนมาก ถึงแม้จะมีบางอย่างผิดระเบียบ เช่น ผมยาวเกินกำหนด และไม่สวมรองเท้ากันส่วนมาก

ส่วนด้าน โรงเรียนอนันตนารี มีจำนวนและสภาพแวดล้อมที่ดี แต่มี โรงเรียนราษฎร์อนันตศึกษา(โรงเรียนเอกชน) ซึ่งมีนางผัน แสนโกศิก เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีประจำอำเภอสวรรคโลกและเจ้าของผู้จัดการ โรงเรียนราษฎร์อนันตศึกษาเข้ามารวมอยู่ในโรงเรียน ทำให้ห้องครูมีจำนวนไม่เพียงพอ โดย ข้าหลวงตรวจการแนะนำให้แยกโรงเรียนราษฎร์อนันตศึกษาออกไปเป็นเอกเทศ[12]

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แก้

ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2485-2488 ในช่วงที่ประเทศไทยเข้าร่วมกับฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามายังอำเภอสวรรคโลก โดยทางสถานีรถไฟสวรรคโลก เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทัพ ผ่านเมืองเก่าสุโขทัย บ้านด่านลานหอย ตาก แม่สอด เพื่อจะเข้าไปตีเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์[13] ซึ่งในขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาพักภายในอำเภอสวรรคโลกเป็นจำนวนมาก รวมถึงภายในโรงเรียนสวรรควิทยา จนทำให้ทางโรงเรียนต้องหยุดการเรียนการสอน[14]

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แก้

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2488 ครบรอบ 50ปี การก่อตั้งโรงเรียนสวรรควิทยา ในสมัยนายเจริญ ฐิตาภา วิทยศักดิ์ เป็นครูใหญ่โรงเรียน ได้มีการก่อสร้างอาคารแห่งใหม่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการจัดตั้งหอวิทยาศาสตร์ขึ้นมาสำเร็จ

 
หอวิทยาศาสตร์ โรงเรียนสวรรควิทยา

สมัยรัชกาลที่ 9
แก้

ปี พ.ศ. 2509 โรงเรียนสวรรควิทยา ได้ย้ายที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่บริเวณ ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลกแทน เนื่องจากที่ดินเดิมคับแคบไม่สามารถขยายพื้นที่ได้

ในวันที่ 23 เมษายน 2513 กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศรวม โรงเรียนสวรรควิทยา และโรงเรียนอนันตนารี เป็นโรงเรียนสหศึกษาเพียงแห่งเดียว ใช้ชื่อใหม่ว่า สวรรค์อนันต์วิทยา เป็นการรวมชื่อสองโรงเรียนเข้าด้วยกัน โดยย้ายนักเรียนหญิงจากโรงเรียนอนันตนารีไปเรียนรวมกับนักเรียนชายโรงเรียนสวรรควิทยา โดยใช้ที่ตั้งของโรงเรียนสวรรควิทยา ช่วงแรกเปิดการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ต่อมา พ.ศ. 2515 ได้รับอนุมัติให้เปิดเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[15]

 
พลับพลารับเสด็จ ปี 2519

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุโขทัย เพื่อพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้านจังหวัดสุโขทัย ณ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา โดยทางโรงเรียนได้สร้างพลับพลารับเสด็จไว้ตรงสนามหน้าโรงเรียน[16] [17]

ปี พ.ศ. 2522 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็น โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ประจำปี 2522

พ.ศ. 2544 กรมสามัญศึกษา (ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ได้ให้โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เป็น "โรงเรียนปฎิรูปการศึกษาดีเด่น" และในปีต่อมา ทางโรงเรียนก็ได้รับ "โรงเรียนที่จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้ระดับมาตรฐานคุณภาพดีเด่น"

สมัยรัชกาลที่ 10
แก้

ในปี 2559 โรงเรียนได้สร้าง หอประชุมขึ้นมาแห่งใหม่ เพื่อใช้ในการประชุมและจัดกิจกรรมของโรงเรียน แทนที่โรงยิม ซึ่งมีอากาศที่ร้อนและอบอ้าว และใช้ชื่อ "หอประชุม 123 ปี" เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 123 ปีของการก่อตั้ง

 
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ข้างสนามหน้าโรงเรียน

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 โรงเรียนได้เปิด "หอสมุด 120 ปี วิถีแห่งปัญญา" สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 120 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2438 โดยมาแทนที่ตึกห้องสมุดหลังเก่า (ปัจจุบันคือ ห้องประชุมเกียรติยศ) ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยมีนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี มาเป็นประธานพิธีเปิดหอสมุด[18]

ปี 2567 โรงเรียนได้ครบรอบ 125 ปี "สวรรควิทยา" นามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

ปัจจุบันโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เป็นหนึ่งในสามโรงเรียนประจำจังหวัดสุโขทัยร่วมกับโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคมและโรงเรียนอุดมดรณี มีจำนวนนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษามากเป็นอันดับสองของจังหวัดสุโขทัย เป็นโรงเรียนแกนนำยกระดับผลสัมธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและศูนย์คณิตศาสตร์ ของ สพม.สุโขทัย

ข้อมูลทั่วไป แก้

ชื่อภาษาไทย: สวรรค์อนันต์วิทยา

ชื่อภาษาอังกฤษ: Sawananan Wittaya School

ตัวย่อ:   ส.อ.   SW

ที่อยู่: เลขที่ 87 หมู่ 3 ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

จำนวนนักเรียนและบุคลากร: นักเรียน 2,399 คน เเละบุคลากรทางการศึกษา 111 คน

อัตลักษณ์: วิชาการเกริกไกร  มีวินัยในตนเอง

วิสัยทัศน์: มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางมาตรฐานสากล คู่คุณธรรม บนพื้นฐานความเป็นไทย

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายในปี 2570

ปรัชญา: สุวิชาโน  ภวํ โหติ (ผู้รู้ดี คือผู้เจริญ)

คติพจน์: เรียนดี  ประพฤติดี  การงานดี

เพลง: ลูกสวรรค์ (เพลงมาร์ช), สวรรค์อนันต์วิทยา

สีประจำโรงเรียน:    น้ำเงิน-ชมพู

  สีน้ำเงิน สีของสถาบันพระมหากษัตริย์   สีชมพู สีประจำวันอังคาร วันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน แก้

ดอกเข็มชมพู แก้

เป็นดอกไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีวันพระราชสมภพตรงกับวันอังคาร โดยพระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณหลายอย่างที่ได้กระทำเพื่อชาวเมืองสวรรคโลก ไม่ว่าจะเป็นการพระราชทานชื่อ โรงเรียนสวรรควิทยา, การอนุมัติงบประมาณให้สร้างรถไฟหลวงเข้ามาถึงจังหวัดสวรรคโลก ทำให้โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ได้กำหนดให้ดอกเข็มชมพู เป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน เพื่อสืบสานความจงรักภักดีที่พสกนิกรชาวสวรรคโลกมีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 
ต้นคูนบริเวณหน้าตึกที่ 5

ต้นคูน แก้

เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียน เป็นต้นไม้ดั้งเดิมอยู่ในที่ดินปัจจุบันของโรงเรียน ช่วงเวลานั้น ในราวเดือนมีนาคม-เมษายน ดอกคูนจะบานสะพรั่งเป็นสง่ากลางหน้าตึกที่ 5 ในโรงเรียน

วิชาการและกิจกรรม แก้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ แก้

ปัจจุบันโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา มีกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งหมด 8 กลุ่มสาระฯ ประกอบไปด้วย[19]

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มตั้งอยู่ในตึกที่ 2 ชั้นที่ 2 (หมวดวิทย์ฯ) และ ตึกที่ 4 ชั้นที่ 1 ฝั่งซ้าย (หมวดคอมพิวเตอร์)
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตั้งอยู่ในตึกที่ 4 ชั้นที่ 2 ฝั่งขวา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตั้งอยู่ในตึกที่ 3 ชั้นที่ 2 ฝั่งขวา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตั้งอยู่ในตึกที่ 3 ชั้นที่ 2 ฝั่งซ้าย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งอยู่ตึกที่ 6 ชั้นที่ 2 ฝั่งซ้าย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตั้งอยู่ตึกที่ 6 ฝั่งซ้าย (หมวดนาฎศิลป์, หมวดดนตรี) และ ตึกศิลปะ (หมวดศิลปะ)
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ตั้งอยู่ตึกการงานอาชีพ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ตั้งอยู่ที่ตึกที่ 6 ชั้นที่ 1 ฝั่งซ้าย

แผนการเรียน แก้

ปัจจุบันมีการเปิดการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยแบ่งเป็นสองระดับคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึงปีที่ 6[20]

แผนการเรียน
มัธยมศึกษาตอนต้น
ประเภท พิเศษ ปกติ
แผนการเรียน วิทย์-โอลิมปิก ทั่วไป
เลขห้องเรียน O1 O2 1 2 3 4 5 6 7 8
จำนวนรับ 72 คน 320 คน
รวม 392 คน
มัธยมศึกษาตอนปลาย
ประเภท พิเศษ ปกติ
แผนการเรียน วิทย์-โอลิมปิก วิทย์-คณิต อังกฤษ-คณิต ศิลป์-อังกฤษ ศิลป์-ภาษา ศิลป์-ทั่วไป
Science-Olympic Science-Math English-Math English Class Languages Class General
ภาษาจีน-ภาษาญี่ปุ่น

-ภาษาเกาหลี

ตัวย่อ O MS1 MS2 MS3 ME1 ME2 E1 E2 L G
เลขห้องเรียน O1 1 2 3 4 5 6 7 8 9
จำนวนรับ โรงเรียนเดิม(โควต้า) 36 คน 96 คน 64 คน 64 คน 32 คน 32 คน
สอบเข้า 24 คน 16 คน 16 คน 8 คน 10 คน
รวม 120 คน 80 คน 80 คน 40 คน 42 คน
398 คน

งานกิจกรรม แก้

ร่มคูนเกมส์ แก้

กิจกรรมกีฬาสีภายในโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา แบ่งออกเป็น 5 สีคือ สีแดง สีส้ม(ส่วนมากเรียกแสด) สีฟ้า สีม่วง และสีเขียว โดยจะจัดเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ ไฮไลน์ของงานคือ การประกวดขบวนพาเรดและการประกวดกองเชียร์ ที่แต่ละปีนักเรียนแต่ละสีจะสร้างสรรค์รูปแบบกันเอง

คาบชุมนุม แก้

ชุมนุมจะจัดขึ้นในคาบท้ายของวันพฤหัสบดีทุกอาทิตย์ เป็นคาบที่นักเรียนที่มีความสนใจเดียวกันจะมาพบปะ และเรียนรู้ด้วยกัน โดยจะมีครูเป็นผู้จัดและเป็นที่ปรึกษา โดยแต่ละปีจะมีกิจกรรมชุมนุมให้เลือกไม่ต่ำกว่า 30 ชุมนุม ยกเว้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ที่ไม่ต้องลงคาบชุมนุม และนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่1 (มัธยมศึกษาปีที่4) ที่ทางโรงเรียนจะให้อยู่ในชุมนุมนักศึกษาวิชาทหาร โดยอัตโนมัติ

งานเปิดโลกวิชาการ แก้

เป็นวันที่ทางโรงเรียนจะเปิดให้บุคคลภายนอกเข้ามาดูงานและกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ คล้ายกับกิจกรรม Open House ของมหาวิทยาลัย โดยในงานจะมีการแข่งขันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาด้วย

กิจกรรมนักธุรกิจรุ่นเยาว์ “ถนนคนเดิน” แก้

เป็นกิจกรรมถนนคนเดิน จัดโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โดยเปิดให้นักเรียนได้ตั้งร้านขายของตนเอง เพื่อเพิ่มรายได้และเป็นประสบการณ์ให้แก่ตนเอง ภายในงานยังมี การประกวดร้องเพลงและการแสดงอีกด้วย

กิจกรรมเวทีศักยภาพ Open Stage [21] แก้

เป็นกิจกรรมจัดโดยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เป็นกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ ศักยภาพด้านต่างๆ เช่น ด้านการร้องเพลง Cover-dance และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ

ลูกเสือกองเกียรติยศ แก้

เป็นงานกิจกรรมลูกเสือ โดยสามารถสมัครเข้าได้ตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นกิจกรรมฝึกความเป็นระเบียบและพร้อมเพียงของเหล่าลูกเสือ โดยทุกๆปี จะมีการนำลูกเสือกองเกียรติยศไปแข่งเดินสวนสนามในระดับ อำเภอ จังหวัด และประเทศต่อไป ส่วนมากโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยาจะได้เป็นตัวแทนของจังหวัดสุโขทัย ไปเดินขบวนสวนสนามที่ราชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพมหานคร

นักศึกษาวิชาทหาร แก้

โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เป็นศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารในระดับจังหวัด ร่วมกับโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม โดยนักศึกษาวิชาทหารในโซนเหนือของจังหวัดจะเข้ารับการทดสอบเพื่อเป็นนักศึกษาวิชาทหารและเข้ารับการฝึกภาคทฤษฎีประจำปีที่โรงเรียนแห่งนี้

ทำเนียบผู้บริหาร แก้

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบัณฑิตสภาและโรงเรียนสวรรควิทยา
โรงเรียนบัณฑิตสภา
โรงเรียนสวรรควิทยา(ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง รูปภาพ ลำดับที่ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง รูปภาพ
1 หลวงศาสนนิเทศก์ 2538-2540 17 นายพจน์ จิตต์ภักดี 2506-2509
2 พระวินัยธรจ่าง 18 นายฉลวย บุญครอบ 2509-2513  
3 พระสมุห์น่วม
โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
4 พระมหาเจริญ 18(ต่อ) นายฉลวย บุญครอบ 2513-2526  
5 พระใบฎีกาเชย 19 นายเขจร เปรมจิตต์ 2526-2529  
6 พระแก้ว ปิณฑดิษ 20 นายปรีชา จาดศรี 2529-2539  
7 พระชม 21 นายไพวัน คงกระพัน 2539-2540  
8 นายแย้ม สีตะสุต 2440-2442   22 นายไพรัตน์ ใยดี 2540-2542  
โรงเรียนสวรรควิทยา
8(ต่อ) นายแย้ม สีตะสุด 2442-2461   23 นายอุทัย อินทนกูล 2542-2547  
9 นายจำปา เวชบุตร 2461-2463 24 นายสมศักดิ์ จงรู้ธรรม 2542-2547  
10 นายแตงกวย บูรณะเกียรติ 2463-2467 25 นายประมวล ลอยฟ้า 2547-2549  
11 นายเหรียญ วงศ์มณี 2467-2471 26 นายจำลอง คุรุบรรเจิดจิต 2549-2551  
12 นายสอด กล่ำประเสริฐ 2471-2475 27 นายถวิล หิรัญศรี 2551-2556  
13 นายด้าย บูรณะกร 2475-2479   28 นายสมชาย ธรรมปรีชา 2556-2561  
14 นายงาม สีตะธาน 2479-2482 29 นายถาวร ปรากฎวงษ์ 2561-2563
15 นายเจริญ ฐิตาภา วิทยศักดิ์ 2482-2494   30 นางสาวจันทร์เพ็ญ ทรัพย์ประชา 2563-2566
16 นายสุด สุวรรณาคินทร์ 2494-2506 31 นายอนุชิต กมล 2566-ปัจจุบัน
โรงเรียนอนันตนารี
ลำดับที่ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง รูปภาพ
1 นางสาวเนื่อง ปิณฑดิษฐ์ 2465-2480
2 นางสาวผัน แสนโกศิก 2480-2486
3 นางสาวเจียมจิตต์ บุญญานุรักษ์ 2486-2491
4 นางทวีศิริ ง้าวสุวรรณ 2491-2594
5 นางเฉลิมรักษณ์ บุญเกตุ 2594-2502
6 นางนันทิยา งามขำ 2549-2502
7 นางลำดวน กำปั่นทอง 2502-2513

พื้นที่เเละอาคารสถาน แก้

โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 87 หมู่ 3 ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย บนเนื้อที่ที่ครอบครองทั้งสิ้น 134 ไร่ 2 งาน 65 ตารางวา ประกอบด้วย

  • โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จำนวน 75 ไร่ 1 งาน 41 ตารางวา
  • พื้นที่ของสมาคมผู้ปกครองและครูฯและสมาคมนักเรียนเก่า จำนวน 53 ไร่ 1 งาน 98 ตารางวา
  • พื้นที่บ้านพักครู (โรงเรียนอนันตนารี) จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา
  • พื้นที่บ้านพักผู้บริหารจำนวน 1 ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา

มีอาคารเรียนเเละสถานที่สำคัญได้เเก่

อาคารเรียน แก้

อาคารเรียน
อาคารเรียนหลัก
รูป ตึกที่ สี รายละเอียด [22] ที่ตั้งของ
หน่วยงาน หมวดสาระ ห้องประจำชั้น
 
1 ขาว เป็นตึกเรียนหลักสร้างเมื่อปี 2509 พร้อมกับที่โรงเรียนสวรรควิทยาย้ายมาตั้งในบริเวณนี้
  • ห้องฝ่ายบริหารงานวิชาการ
  • ห้องฝ่ายบริหารงบประมาณ
  • ห้องฝ่ายบริหารงานบุคคล
  • ห้องกลุ่มงานประชาสัมพันธ์
-
  • ห้องเรียนพิเศษวิทย์-โอลิมปิก (O1/O2) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  2 เขียว สร้างในปี 2514 เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 2 ของชุดอาคารเรียนหลัก
  • ห้องเรียน วิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมวดวิทย์ฯ)
-
  3 ชมพู สร้างในปี 2522

เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 3 ของชุดอาคารเรียนหลัก

  • ห้องปฏิบัติการ HCEC
  • ห้องฝ่ายบริหารงานทั่วไป
  • ห้องผู้อำนวยการ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
  4 ฟ้า สร้างในปี 2526

เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 4 ของชุดอาคารเรียนหลัก

  • ห้องปฏิบัติคอมพิวเตอร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมวดคอมพิวเตอร์)
  • ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ห้อง 1 - 5)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทย์-โอลิมปิก (O1) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  5 ส้ม สร้างในปี 2543 เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 5 และเป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดของชุดอาคารเรียนหลัก
  • ห้องพยาบาล
  • ห้องโสตฯ
  • ห้องพักครู ระดับมัธยมมศึกษาตอนต้น
-
  • ห้องเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-ม.2-ม.3)
 
ตึกที่ 6 (สีม่วง)
6 ม่วง สร้างในปี 2548

เป็นตึกเรียนหลักสร้างเป็นลำดับที่ 6 และเป็นอาคารที่มีล่าสุดของชุดอาคารเรียนหลักและเป็นอาคารเรียนที่ไกลที่สุดในโรงเรียน

  • ห้องนาฏศิลป์
  • ห้องดนตรีไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (หมวดดนตรี-นาฏศิลป์)
  • ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
  • ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ห้อง 6 - 9)
อาคารเรียนอื่นๆ
รูป ตึก ที่ตั้งของ หมวดสาระ
  อาคารสอนวิชาหมวดศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(หมวดศิลปะ) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(หมวดศิลปะ)
กลุ่มอาคารอุตสาหกรรม เกษตรกรรม คหกรรม สัตวศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

อาคารอื่นๆ แก้

อาคารอื่นๆ
รูป ตึก รายละเอียด
 
ภาพหอสมุด 120ปี วิถีแห่งปัญญา โดยมีพลับพลารับเสด็จตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าหอสมุด
หอสมุด 120 ปี วิถีแห่งปัญญา สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 120 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2438 โดยมาแทนที่ตึกห้องสมุดหลังเก่า (ปัจจุบันคือ ห้องประชุมเกียรติยศ) ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยมีนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี มาเป็นประธานพิธีเปิดหอสมุด ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561[18]
 
หอประชุม 123 ปี โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
หอประชุม 123 ปี สร้างในปี 2559 เพื่อใช้ในการประชุมและจัดกิจกรรมของโรงเรียน แทนที่โรงยิม ซึ่งมีอากาศที่ร้อนและอบอ้าว และใช้ชื่อ "หอประชุม 123 ปี" เนื่องในโอกาสที่โรงเรียนครบรอบ 123 ปีของการก่อตั้ง
ห้องประชุมเกียรติยศ สร้างเมื่อปี 2509 เป็นที่จัดประชุมของโรงเรียนขนาดเล็ก เดิมทีคือ ห้องสมุดเก่าของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จนกระทั่งการก่อสร้างหอสมุด 120 ปี วิถีแห่งปัญญา และได้เปลี่ยนตึกเป็นห้องประชุมเกียรติยศ
โรงอาหาร สร้างในปี 2514 เป็นอาคารจำหน่ายอาหารและที่ตั้งร้านค้าสวัสดิการของโรงเรียน
อาคารอเนกประสงค์ สร้างในปี 2530 เดิมทีใช้เป็นอาคารสอนและแข่งกีฬา และเป็นที่มอบประกาศนียบัตรให้แก่นักเรียนที่จบการศึกษา จนกระทั่งการก่อสร้างโดมอเนกประสงค์และหอประชุม 123 ปี ปัจจุบันใช้เป็นที่แข่งกีฬาภายในร่ม
ห้อง To Be Number One

สถานที่อื่นๆ แก้

สถานที่อื่นๆ
รูป สถานที่ รายละเอียด
 
ศาลาบัณฑิต (ศาลหลวงปู่) โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
ศาลาบัณฑิต สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึง พระสวรรค์วรนายก อดีตเจ้าคณะจังหวัดสวรรคโลก ปัจจุบันเป็นที่เคารพนับถือเเละสักการะของครูเเละนักเรียนโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
  พลับพลารับเสด็จ[16] [17] สร้างขึ้นเพื่อใช้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้านจังหวัดสุโขทัย ณ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519
  สวนป่าองค์พระ
 
หอนาฬิกา บริเวณสี่แยกตึกที่ 5
หอนาฬิกา
โดมอเนกประสงค์
ศูนย์วัฒนธรรม
ลานหน้าห้องประชุมเกียรติยศ

แผนที่อาคารสถานที่ในโรงเรียน แก้

 
เเผนที่โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา

โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ๒ แก้

 
ตราโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ๒

เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอสวรรคโลก เกิดจากการประชุมหารือกับสภาตำบลคลองยาง ในปี พ.ศ. 2533 เรื่องจัดตั้งโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสนองนโยบายกรมสามัญศึกษา  

ต่อมาปี พ.ศ. 2534 โรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอนโดยเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา  ตั้งแต่วันที่  16  พฤษภาคม  2534  มีครู-อาจารย์จากโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยาเป็นผู้สอน  ใช้อาคารเรียนชั่วคราวและอาคารเรียนเกษตรโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เป็นสถานศึกษา

ปี พ.ศ. 2536  กรมสามัญศึกษา ได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ๒ ลงวันที่  3  มีนาคม  2536 แยกออกจากการเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เริ่มแรกยังคงใช้โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จัดการเรียนการสอน ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย[23]             

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

โรงเรียนสวรรควิทยา แก้

โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา แก้

  • พ.ต.ท นเรศ นันทโชติ: อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๑
  • นายสามารถ ลอยฟ้า: อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง, ตาก และจันทบุรี
  • พลเอก พนม จีนะวิจารณะ: อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ เจ้ากรมการรักษาดินแดน (ถึงแก่กรรม)
  • สมชาติ ลิมปะพันธ์ุ: นายกเทศมนตรีเมืองสวรรคโลก

อ้างอิง แก้

  1. ผู้บริหารโรงเรียนใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย
  2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
  3. ราชกิจจานุเบจศา ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงธรรมการ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา รายงานข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ที่ ๔๗, ๙๗๓
  5. หอจดหมายเหตุเชียงใหม่ : รายงานศาลาว่าการมหาดไทย วันที่ 7 มีนาคม 2442
  6. จดหมายเหตุ ศธ.51.11/6 เรื่อง ซ่อมโรงเรียนสวรรค์วิทยาคม เมืองสวรรคโลก
  7. 7.0 7.1 ประวัติโรงเรียนสวรรควิทยา และ โรงเรียนอนันตนารี (จาก สวรรค์อนันต์วิทยา 120ปี วิถีแห่งปัญญา)
  8. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ : รายงานของผู้ว่าราชการจังหวัดสวรรคโลก
  9. หอจดหมายเหตุ ศธ51.11/80 มณฑลพิษณุโลกบอกมาว่าได้อนุญาตให้เปิดชั้นมัธยมปีที่ 3 ขั้นที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสวรรคโลก
  10. หอจดหมายเหตุ จังหวัดสวรรคโลก ส่งทำเนียบข้าราชการแผนกธรรมการและโรงเรียนรัฐบาลประจำ พ.ศ. 2481
  11. "จังหวัดสวรรคโลก", วิกิพีเดีย, 2024-02-26, สืบค้นเมื่อ 2024-04-02
  12. หอจดหมายเหตุ : ขุนพจนกิจประสาน ข้าหลวงตรวจการเสนอรายงานตรวจราชการจังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ น่าน พิจิตร เพชรบูรณ์ และสุโขทัย
  13. นายสมชาย เดือนเพ็ญ รองปลัดเทศบาลตำบลในเมือง นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มจังหวัดมรดกโลกทางวัฒนธรรม จ.สุโขทัย กล่าวในรายงานไทยโพสต์ "พบอุโมงค์สุดซับซ้อนในถ้ำสุโขทัย ชาวบ้านลือมานาน ทหารญี่ปุ่นซ่อนทองคำแท่ง 14 ตัน"
  14. เจริญ ฐ. วิทยศักดิ์ (ปี ๒๔๕๒-๒๕๓๗) [เซ็งลี้ รถถ่าน ไทยถีบ :  เศรษฐกิจสงครามโลกจากหนังสืองานศพ] 19 กรกฎาคม 2016
  15. "สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
  16. 16.0 16.1 รัชกาลที่ ๙ กับการเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดสุโขทัย
  17. 17.0 17.1 พระราชดำรัส พระราชทานในงานพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือ จ.สุโขทัย (จาก สวรรค์อนันต์วิทยา 120ปี วิถีแห่งปัญญา)
  18. 18.0 18.1 "สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ องคมนตรี เปิดงาน Sukhothai Field Day ครั้งที่ 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-07. สืบค้นเมื่อ 2023-11-07.
  19. ข้อมูลอาคารและสถานที่ โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
  20. ประกาศโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา เรื่องการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 และ 4 ปีการศึกษา 2566
  21. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ Occupations-SaWan
  22. "ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ระบบเว็บไซต์สถานศึกษา EMIS WEB School CMS V.1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-25. สืบค้นเมื่อ 2023-11-25.
  23. "ประวัติโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา ๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-26.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน