โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน

โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน เป็นโรงเรียนในตัวเมืองสุรินทร์แห่งที่ 3 (ไม่นับเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหรือโรงเรียนประจำอำเภอ) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์

โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
จังหวัดสุรินทร์
โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน

Weerawatyothin School
สัญลักษณ์โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน
ที่ตั้ง
1100 หมู่ 20 ชุมชนหนองโตงพัฒนา ถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
ข้อมูล
ชื่ออื่นว.ธ. / WT
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สหศึกษา
คำขวัญเลิศวิชา พัฒนาวีรวัฒน์ฯ ปฏิบัติดี ทวีเกียรติคุณ
สถาปนา4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
ผู้ก่อตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1011320113
ผู้อำนวยการนายเสกสันต์ สัมฤทธิ์ [1]
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
สีเหลือง-ความเป็นผู้มีปัญญา ความสง่า และความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนา แดง-พลังกล้าแกร่ง เข้มแข็ง ความสามัคคี และความมุ่งมั่น
เพลงมาร์ชวีรวัฒน์โยธิน
เว็บไซต์http://www.weerawat.ac.th

ที่ตั้ง แก้

1100 หมู่ที่ 20 ถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000

ประวัติ แก้

ปี พ.ศ. 2534 คณะกรรมการบริหารโรงเรียนสิรินธร ได้มีมติมอบให้นายกิตติ สืบนุการณ์ เป็นผู้ดำเนินการจัดหาที่ดินก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเป็นแห่งที่ 3 ในตัวเมืองสุรินทร์ โดยได้รับการแนะนำและประสานงานของ นายเสนอ มูลศาสตร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และนางปลั่งศรี มูลศาสตร์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสิรินธร ให้ขอความอนุเคราะห์ที่ดินจาก จังหวัดทหารบกสุรินทร์ ซึ่งขณะนั้น พลตรีทวีสิทธิ์ หนูนิมิต เป็นผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ได้มอบที่ดินที่อยู่ในความดูแลของจังหวัดทหารบกสุรินทร์ จำนวน 37 ไร่ 22 งาน 5 ตารางวา(บริเวณเยื้องศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดสุรินทร์) ให้กับกรมสามัญศึกษาเพื่อตั้งโรงเรียนแบบสหศึกษา ในปีการศึกษา 2535(หนังสือ ศธ.ที่ 0806/33909 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2534) เพื่อเป็นการขอบคุณจังหวัดทหารบกสุรินทร์ ที่มอบที่ดินให้จัดตั้งโรงเรียนครั้งนี้ และเพื่อระลึกถึงเกียรติประวัติวีรกรรมของผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารคนแรกของเมืองสุรินทร์ คือ พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน สถานศึกษาแห่งนี้จึงได้ใช้นามว่า “โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน”

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2535 นางละออ จองอยู่ ผู้อำนวยการโรงเรียนสิรินธรในขณะนั้นได้แต่งตั้งให้ นายกิตติ สืบนุการณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการไปดูแลโรงเรียนสิรินธร (สาขา) โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสิรินธร สาขาวีรวัฒน์โยธิน ใช้อักษรย่อ ว.ธ. ในระยะแรก ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 ชั้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์) ตั้งอยู่สุดซอยศรีจุมพล 2 ตำบลในเมืองและมีการสร้างอาคารสำนักงาน (ปัจจุบันเป็นอาคารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์) ให้การจัดการเรียนการสอน การบริหารโรงเรียนตามโครงสร้างของการบริหาร สถานศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการ เอกชน และชุมชน

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2537 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนรัฐบาลหลายแห่ง โดยหนึ่งในโรงเรียนเหล่านั้นมีชื่อ “โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน” (ว.ธ.) เป็นโรงเรียนรัฐบาลอีกแห่งหนึ่งใน จังหวัดสุรินทร์ ได้แต่งตั้งให้ นายกิตติ สืบนุการณ์ เป็นผู้บริหารโรงเรียน และวันที่ 1 มีนาคม 2538 กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้โรงเรียนวีรวัฒน์โยธินจัดการเรียนการสอนถึงระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ตามคำสั่งที่ ศธ. 133/2538) หลังจากนั้นไม่นาน ในปี 2539 – 2540 ได้ย้ายสถานที่เรียนมาบริเวณฝั่งตะวันออกของโรงเรียน บนพื้นที่ตำบลนอกเมือง โดยสร้าง อาคาร 1 (อาคารเรียนทั่วไป) อาคาร 2 (อาคารฝึกงาน) และโรงอาหาร ต่อมาในปี 2542 ได้สร้างอาคารอีก 1 หลัง คือ อาคาร 3 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา) ปี 2543 สร้างหอประชุมพลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน ปี 2555 สร้างอนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน ปี 2557 สร้างอาคาร 5

หลักสูตรการเรียนการสอน แก้

มัธยมศึกษาตอนต้น แก้

  • ห้องเรียนพิเศษเน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Sciences Mathematics and English Program : SME)
  • ห้องเรียนพิเศษเน้นภาษาอังกฤษ (Intensive English Progran : IEP)
  • ห้องเรียนพิเศษเตรียมทหาร (Pre-Cadet : PC)
  • ห้องเรียนพิเศษกีฬา (กรีฑา) (Sport Program : SP)
  • ห้องเรียนปกติ (General Program : GP)

มัธยมศึกษาตอนปลาย แก้

  • ห้องเรียนพิเศษเน้นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Sciences Mathematics and English Program : SME)
  • ห้องเรียนพิเศษกีฬา (กรีฑา) (Sport Program : SP)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Sciences-Mathematics Program : SM)
  • แผนการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Language for Communication : LC) เลือกเรียน 1 ภาษา คือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเขมร หรือภาษาเวียดนาม
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ดนตรี (English-Music Program : E-Music)
  • แผนการเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ (Pre-Engineering : Pre-EN)
  • หลักสูตรทวิศึกษา (Dual Education : DE) สาขาการโรงแรมและการอาหาร ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์

ข้อมูลการจัดตั้ง แก้

  • ปี พ.ศ. 2537 ประกาศจัดตั้งโรงเรียน
  • ปีการศึกษา 2538 เริ่มเปิดการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ปีการศึกษา 2540 จัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
  • ปีการศึกษา 2545 ได้รับการประกาศเป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542

การเข้าร่วมโครงการเพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน แก้

ปี 2554 ได้รับคัดเลือกให้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันโรงเรียนดีประจำอำเภอ รุ่นที่ 3

ปี 2562 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ในระดับ ScQA

ขนาดและอาณาเขต แก้

พื้นที่ 37 ไร่ 5 ตารางวา

ทิศเหนือ ติดเขตชุมชนศรีจุมพล ตำบลในเมือง

ทิศใต้ ติดถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง

ทิศตะวันออก ติดถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลนอกเมือง

ทิศตะวันตก ติดต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์ โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ อยู่ภายในบริเวณโรงเรียนด้านทิศตะวันตก

อาณาเขตโรงเรียน แก้

  • ทิศเหนือ ติดชุมชนศรีจุมพล 1 และศรีจุมพล 2 ตำบลในเมือง
  • ทิศใต้ ติดถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง
  • ทิศตะวันออก ติดถนนเลียบคลองชลประทาน
  • ทิศตะวันตก ติดสำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์

อาคารและสิ่งก่อสร้าง แก้

  1. อาคารเรียนแบบถาวร แบบ 318ล/30 (พิเศษ) 1 หลัง (งปม. ปี 2537 ผูกพันปี 2538)
  2. อาคารเรียนชั่วคราว 4 ห้องเรียน 1 หลัง
  3. อาคารฝึกงาน แบบ 204 / 27 1 หลัง ( งปม. ปี 2539)
  4. อาคารเอนกประสงค์ 2 ชั้น 1 หลัง (งปม. ปี 2539 เหลือจ่าย)
  5. ห้องน้ำ – ห้องส้วมนักเรียนแบบ 6 ที่ 3 หลัง (งปม. ปี 2538)
  6. บ้านพักครูแบบ 205 1 หลัง (งปม. ปี 2538)
  7. ถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ.33 2 ชุด (งปม. ปี 2538)
  8. สนามบาสเก็ตบอลแบบ FIBA 1 สนาม (งปม. ปี 2538)
  9. รั้วคอนกรีตปรับปรุงบริเวณโรงเรียน (งปม. ปี 2538)
  10. เสาธง (งปม. ปี 2538)
  11. ถนนคอนกรีต – ปรับปรุงบริเวณโรงเรียน (งปม. ปี 2540 ผูกพัน 2541 – 2542)
  12. อาคารเรียนแบบถาวร แบบ 424 ล (พิเศษ) 1 หลัง (งปม. ปี 2542)
  13. อาคารหอประชุม แบบ 101/27 พิเศษ 1 หลัง (งปม. ปี 2542)
  14. อนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน

ชื่อเรียกอาคารและสิ่งก่อสร้าง แก้

  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา หรืออาคาร ๓ เป็นอาคารขนาดใหญ่ ๔ ชั้น มีจำนวนห้องเรียน ๒๔ ห้องเรียน ชั้น๑ เป็นที่อยู่ของสำนักงานต่างๆ และห้องผู้อำนวยการ ชั้น๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ชั้น๓ ภาษาจีน,ศูนย์การเรียนรู้อาเซียน ชั้น๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • อาคารเทิดเกียรติวีรวัฒน์ เป็นอาคารขนาดใหญ่ ๔ ชั้น มีจำนวนห้องเรียน ๑๘ ห้องเรียน ชั้น๑ เป็นศูนย์วิชาการ ห้องเกียรติยศ ห้องประชุมสัตตบรรณและศูนย์ปฏิบัติการคหกรรม ชั้น๒ เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ ชั้น๓ ห้องปฏิบัติการเคมีและห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์ ชั้น๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
  • อาคารห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เป็นอาคาร ๒ ชั้น มี๙ ห้องเรียน ชั้น๑ ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์ ห้องงานประดิษฐ์ ห้องการเกษตร ชั้น๒ ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ห้องมัลติมีเดีย ห้อง ICT
  • หอประชุมพลตรีหลวงวีรวัฒน์ฯ เป็นอาคารหอประชุม ๒ ชั้น มี ๖ ห้องเรียน ชั้น๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์ ห้องปฏิบัติการดนตรี๑ ห้องปฏิบัติการดนตรี๒ ห้องปฏิบัติการศิลปะ๑ ห้องปฏิบัติการศิลปะ๒ ห้องอัดเสียง ชั้น ๒ หอประชุม โรงยิมเนเซียม
  • กลุ่มอาคารห้องสมุด เป็นอาคารห้องเรียน ๑ ชั้น จำนวน ๒ หลัง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และห้องเรียนพิเศษสำหรับนักเรียนห้อง LD
  • อาคารเพื่อนใจวัยรุ่น TO BE NUMBER 1 เป็นอาคาร๑ชั้น ๒ ห้องเรียน
  • อนุสาวรีย์พลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน อยู่ด้านหน้าอาคารหอประชุมพลตรีหลวงวีรวัฒน์โยธิน ผู้บัญชาการทหารบกคนแรกของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ได้ตั้งชื่อว่า "โรงเรียนวีรวัฒน์โยธิน" เพื่อระลึกถึงเกียรติประวัติวีรกรรมของท่าน
  • สนามวู้ดบอล
  • โดมเหลือง - แดง ร่วมใจ บริเวณลานหน้าเสาธง
  • อาคารใหม่ เป็นอาคารขนาด4ชั้น ชั้น1 เป็นลานลูกหลวง ชั้น2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้น 3กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ชั้น4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สถานที่ราชการใกล้เคียง แก้

  1. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสุรินทร์
  2. ค่ายวีรวัฒน์โยธิน
  3. โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน
  4. จังหวัดทหารบกสุรินทร์
  5. สำนักงานขนส่งจังหวัดสุรินทร์
  6. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
  7. วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์
  8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 จังหวัดสุรินทร์
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์


รายนามผู้บริหาร แก้

1.นายกิตติ สืบนุการณ์ (พ.ศ.2534-2543)

2.นายวรเชษฐ สุขแสวง (พ.ศ.2543-2551)

3.นายปริญญา พุ่มไหม (พ.ศ.2551-2554)

4.นายณรงค์ พรหมพัชรพล (พ.ศ.2554-2560)

5.ดร.ไพชยนต์ จันทเขต (พ.ศ.2560-2561)

6.นายพิทักษ์ สุปิงคลัด (พ.ศ.2561-2564)

7.นายสมศักดิ์ บุญโต (พ.ศ.2564-2565)

8.นายเสกสันต์ สัมฤทธิ์ (พ.ศ.2565-ปัจจุบัน​)

อ้างอิง แก้

  1. "กลุ่มบริหารงานวิชาการ". sites.google.com. สืบค้นเมื่อ 27 April 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้