โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์

โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (อังกฤษ: Mathayomwatsing school) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขึ้นกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 35ก หมู่3 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีเนื้อที่ 37 ไร่ ถือเป็นโรงเรียนรัฐบาลที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี

โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
ละติน: Mathayomwatsing school
แผนที่
พิกัด13°41′07″N 100°26′50″E / 13.685144°N 100.447330°E / 13.685144; 100.447330
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ว.ส.
ประเภทสหศึกษา
คำขวัญลูกสิงห์ ขิงเก่ง เด่นสง่า การศึกษา ริษยา
สถาปนา18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส00103502
ผู้อำนวยการเทพพร อาจเวทย์
สี   ชมพู-เขียว
ดอกไม้ชมพูพันธุ์ทิพย์
เว็บไซต์www.mws.ac.th
มัธยมวัดสิงห์ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
มัธยมวัดสิงห์
มัธยมวัดสิงห์
มัธยมวัดสิงห์ (กรุงเทพมหานคร)

ประวัติ แก้

โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2496 ตั้งอยู่บนเลขที่ 35 ก. หมู่ 3 ถนนเอกชัย ตำบลบางขุนเทียน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี

โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ ( ม.ว.ส) แต่เดิมชื่อ โรงเรียนวัดสิงห์ (ว.ส) เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสิงหราชพิทยาคม (ส.พ.) เมื่อปี พ.ศ. 2514 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ (ม.ว.ส)เมื่อ ปี พ.ศ. 2538

ในปัจจุบันเป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 35 ก. หมู่ 3 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 37 ไร่ 100 ตารางวา โดยเช่าที่ดินของวัดสิงห์ (จอมทอง)ส่วนหนึ่ง และเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์อีกส่วนหนึ่ง โดยบริเวณรอบข้างโรงเรียนประกอบไปด้วยสถานที่ราชการสำคัญต่างๆ เช่น ศาลแขวงธนบุรี ศาลอาญาธนบุรี ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอุทธรณ์ภาค9 สำนักงานคดีแพ่งธนบุรี สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุดธนบุรี ที่ทำการไปรษณีย์บางขุนเทียน สถานีตำรวจบางขุนเทียน สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27 เป็นต้น

โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ก่อเกิดขึ้นจากการผลักดันของบุคคลอำเภอบางขุนเทียนที่ต้องการให้มีสถานศึกษาในเขตพื้นที่ทางตะวันตก และพื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอบางขุนเทียน เพื่อทดแทนโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคม(โรงเรียนวัดราชโอรส) ที่ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกของอำเภอบางขุนเทียน และพื้นที่ทางตอนบนของอำเถอบางขุนเทียน และพื้นที่รอบข้างในจังหวัดธนบุรีซึ่งตั้งอยู่ก่อนแล้ว โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ก่อตั้งโดยบุคคลากรสำคัญ ในอำเภอบางขุนเทียนที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลานในอำเภอ ได้แก่ พระครูอุดมสิกขกิจ เจ้าอาวาสวัดสิงห์ในสมัยนั้น นายไข่ บุนปาน ศึกษาธิการอำเภอบางขุนเทียน นายหงิม เก็บไว้ เป็นต้น

โรงเรียนเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 เริ่มต้นเปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียนมีนักเรียน 47 คน ครู 4 คน โดยมี ครูหงิม เก็บไว้ เป็น ครูใหญ่คนแรก ในระยะแรกโรงเรียน มีอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวหลังคามุงจาก จำนวน 1 หลัง การทำกิจกรรมต่างๆ จึงต้องอาศัยศาลาโรงทึมที่วัดสิงห์อยู่เสมอซึ่งท่านพระครูฉ่อง (พระครูอุดมสิกขกิจ) เจ้าอาวาสวัดสิงห์ในสมัยนั้นท่านได้ให้ความกรุณา อุปถัมภ์โรงเรียนตลอดมา โรงเรียนได้พัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับ มีการก่อสร้าง อาคาร เรียนเพิ่มเติมหลายหลัง

ในช่วงแรกเริ่ม อาจกล่าวได้ว่าโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ตั้งอยู่ในสวนแถบชานเมือง ของจังหวัดธนบุรี รอบบริเวณเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ส้มบางมด ฝรั่งและผลไม้อื่นๆสภาพโรงเรียนยังเป็นเรือนไม้ พื้นที่ยังมีลักษณะเป็นสวน ทำนา การเดินทางมาโรงเรียนสมัย ก่อนต้องอาศัยรถไฟ รถราง ซึ่งวิ่งตั้งแต่สถานีวงเวียนใหญ่ จนถึงสถานีมหาชัยหรือไม่ฉะนั้นก็เดินทางมาทางเรือโดยมีคลองวัดสิงห์ คลองบางบอน คลองสนามชัยหรือไม่ก็เดินมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2506 มีการสร้างถนนรถยนต์ขึ้น เรียกว่า ถนนเอกชัย ซึ่งตัดถนน ตั้งแต่ถนนจอมทองในจังหวัดธนบุรี(กรุงเทพในปัจจุบัน) ถึงถนนพระรามที่ 2 ช่วงอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร บรรดาลูกสิงห์จึงเปลี่ยนความนิยมมาใช้บริการรถยนต์โดยสารกันเป็น ส่วนใหญ่ จึงทำให้มีนักเรียนทั่วพื้นที่ธนบุรี และในพื้นที่มหาชัยในจังหวัดสมุทรสาคร เข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก

ส่วนสภาพพื้นที่ของโรงเรียน ก็ได้รับการปรับปรุงเรื่อยมาจากท้องร่องสวนที่มีน้ำเจิ่งนอง ก็กลายเป็นสนามฟุตบอล กว้างใหญ่ จากทางดินที่เป็นดินโคลน ก็กลายมาเป็นถนนคอนกรีต และได้รับการปรับแต่งบรรยากาศสภาพแวดล้อมมีต้นไม้ ที่ร่มรื่น สวยงาม

 
ปูชนียบุคลานุสรณ์ผู้ก่อตั้งโรงเรียน (จากซ้าย) ครูหงิม เก็บไว้ พระครูอุดมสิกขกิจ นายไข่ บุนปาน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2551

อาคารเรียนในปัจจุบัน แก้

 
เรือนพิมพ์รำลึกในปัจจุบัน

เรือนพิมพ์รำลึก แก้

  • เรือนไม้สองชั้นทรงไทย ตั้งอยู่ในสระน้ำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2505 ซึ่งคุณยายพิมพ์ จันแต้ เป็นผู้บริจาคเงินก่อสร้าง แต่เดิมเป็นห้องดนตรีไทย ปัจจุบันเป็นอาคารรุ่นบุกเบิกอาคารเดียวที่ดำรงคงอยู่ และกลายเป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงจิตใจ "ลูกสิงห์" มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

อาคาร 1 แก้

  • เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 เป็นอาคารเรียนแบบตึกหลังแรก ตั้งขวางอยู่กึ่งกลางของพื้นที่ เป็นที่ตั้งของสำนักงานผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารวิชาการ ห้องสมุด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ และห้องเรียนวิชาบริหารธุรกิจ

อาคาร 2 แก้

  • เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2520 ตั้งอยู่ริมสระน้ำ เป็นอาคารต่อเชื่อม ระหว่างอาคาร 1 กับอาคาร 3 เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มวิชาภาษาฝรั่งเศส วิชาภาษาจีน วิชาภาษาญี่ปุ่นและห้องเรียน English Program

อาคาร 3 อาคารอุดมสิกขกิจ แก้

  • เป็นอาคาร 4 ชั้นสร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นที่ตั้งของสำนักงาน English Program กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสร์ กลุ่มวิชาเกษตรกรรม ห้องแนะแนว และวิชาสุขศึกษา

อาคาร 4 อาคารอุตสาหกรรม แก้

  • เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 ตั้งอยู่ริมรั้วทางด้านทิศตะวันออกขนานกับอาคาร 2 เป็นที่ตั้งของกลุ่มวิชาอุตสาหกรรมและการออกแบบ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

อาคาร 5 แก้

  • เป็นอาคาร 2 ชั้น และเป็นอาคารเรียนที่เก่าแก่ที่สุด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2516–2517 ตั้งอยู่ขนานกับรั้วทางเข้าวัดสิงห์แต่เดิมเป็นอาคารวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

อาคาร 6 อาคารวิบูลวัฒนวิธาน แก้

  • เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 ตั้งอยู่ริมรั้วติดทางรถไฟขนานกับตึกอุดมสิกขกิจ เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

อาคาร 7 แก้

  • อาคารวิทยาศาสตร์ เป็นอาคาร 4 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2551 ตั้งอยู่ริมรั้วด้านทิศตะวันออกขนานกับสนามหญ้า เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (Gifted education program in science math and english:GEPSME)

เรือนประชาสัมพันธ์ แก้

  • สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 ตั้งอยู่ริมประตูทางเข้าโรงเรียนด้านซอยวัดสิงห์ โดยอาจารย์แสงอรุณ ปานฑุเดช เป็นผู้บริจาคเงินค่าก่อสร้าง ต่อมาได้รับการต่อเติมในปี พ.ศ. 2524 โดยได้รับเงินบริจาคจากอาจารย์ดิลก เอี่ยมพิภักดิ์ และเมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้ทุบและสร้างเรือนประชาสัมพันธ์ขึ้นใหม่

อาคารหอประชุม แก้

  • สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 เมื่อปี 2552 ได้ทำการปรับปรุงทั้งภายใน และภายนอก โดยชั้นล่างเป็นห้องดนตรีสากล และห้องเทควันโด

อาคารอเนกประสงค์ (โรงยิม) แก้

  • ตั้งอยู่ริมรั้ว หลังอาคารหอประชุม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ส่วนชั้นบนเป็นโรงยิม และห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ภายในบริเวณโรงเรียน แก้

โรงเรียนมีสนามกีฬามากมาย เช่น สนามฟุตบอล สนามฟุตซอล สนามวอลเล่ย์บอล สนามเทนนิส สนามเปตอง เป็นต้น มีสระบัวขนาดใหญ่ 2 สระ ที่บริเวณอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ และบริเวณระหว่างสวนธรรมมะ และอาคาร 2 สวนวิทย์ฯ สวนธรรมมะ ลานประดู่ คือบริเวณที่นักเรียน มักจะมาไปพักผ่อน แปลงเกษตร อยู่บริเวณข้างอาคาร 4

รายชื่อผู้บริหารโรงเรียน แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายหงิม เก็บไว้ พ.ศ. 2496–2503
2 นายยงยุทธ โคตมะ พ.ศ. 2503–2505
3 นายจรันต์ เศรษฐบุตร พ.ศ. 2505–2511
4 นางกตัญญู ยอแสงรัตน์ พ.ศ. 2511–2512
5 นางกรรณี หังสนาวิน พ.ศ. 2512–2516
6 นางวรณี ศิริบุญ พ.ศ. 2516–2520
7 นางประจวบ ชำนิประศาสน์ พ.ศ. 2520–2526
8 นายสำราญ รัตนวิทย์ พ.ศ. 2526–2531
9 นายไพบูลย์ ฉิ่งทองคำ พ.ศ. 2531–2539
10 นายครรชิต ตรานุชรัตน์ พ.ศ. 2539–2543
11 นายประเสริฐ กมลนาวิน พ.ศ. 2543–2545
12 นายไพโรจน์ สุวรรณภักดี พ.ศ. 2546–2548
13 นายสมศักดิ์ โคกทอง พ.ศ. 2548–2555
14 นายประมาณ ชูพิพัฒน์ พ.ศ. 2555–2558
15 นายสุพจน์ หล้าธรรม พ.ศ. 2558–2561
16 ดร.บุณยพงศ์ โพธิวัฒน์ธนัต พ.ศ. 2561–2563
17 นายเทพพร อาจเวทย์ พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน

เหตุการณ์บุกรุกโรงเรียนวัดสิงห์ ปี พ.ศ. 2562 แก้

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เกิดเหตุการณ์วัยรุ่นจำนวนมาก ได้บุกรุกเข้าไปในโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ระหว่างดำเนินการสอบ GAT-PAT ทำให้ทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก มีการทำร้ายร่างกายครู นักเรียน และ บุคลากรจำนวนหนึ่ง รวมทั้งยังมีการกระทำอนาจารกับนักเรียนหญิงด้วย สาเหตุที่ก่อเหตุคือไม่พอใจ ที่ทางโรงเรียนขอความร่วมมือไม่ให้เปิดเพลงเสียงดังในงานบวช กลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวจึงก่อเหตุอุกอาจ เพื่อเป็นการระบายอารมณ์ที่ไม่พอใจที่ถูกห้ามไม่ให้เปิดเพลง กอปรกับการดื่มสุราด้วย[1]

ในวันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ศาลอาญาธนบุรีอนุมัติหมายจับ ซึ่งรายชื่อบุคคลตามหมายจับ มีดังนี้:

1.นายวัลลภ นุชแฟง อายุ 32 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.108/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

2.นายจีรศักดิ์ นีละเสวี อายุ 41 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.109/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

3.นายสมชาย แก้วสิมมา อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.110/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

4.นายชัชศิริ แซ่โง้ว อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.111/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

5.นายธวัช สดำพงษ์ อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.112/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

6.นายณัฐพงศ์ นุชแฟง อายุ 18 ปีเศษ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.113/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

7.นายมนตรี พูลทรัพย์ อายุ 32 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ 114/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

8.นายวรภัทร พินิจปรีชา อายุ 28 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.115/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

9.นายอนุกูล สังข์ศรี อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ 116/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

10.นายจิรายุทธ อาจอาสา อายุ 25 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.117/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

11.นายธิติ ไวยสุกรี อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ 118/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

12.นายเมืองแมน นิลโพธิ์ทอง อายุ 18 ปีเศษ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.119/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

13.นายชาติสยาม จันทรวิภาค อายุ 24 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.120/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

14.นายวิโรจน์ คำชาย อายุ 28 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ 121/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

15.นายดลราม เก่งวิชา อายุ 27 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.122/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

16.นายขวัญชัย สุขเสมอ อายุ 29 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ 123/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

17.นายศรายุทธ นุชแฟง อายุ 24 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.124/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

18.นายเอกลักษณ์ พูลทรัพย์ อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.125/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

19.นายไน้ท จ้อยเจริญ อายุ 20 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.126/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

20.นายชนะชัย ใจหล้า อายุ 25 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรีที่ จ.127/2562 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562[2]

โดยทั้งหมดถูกออกหมายจับในความผิดฐาน ”ร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป”

ในวันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาทั้งหมด 24 คน โดยแบ่งเป็นผู้ต้องหาทั่วไป 20 คน และ ผู้ต้องหาเยาวชน 4 คน โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการทั้งหมด 6 ข้อหา อาทิเช่น:

1.ร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี

2.ร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

3.ร่วมกันทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี

4.ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย ต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

5.มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6.บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลในวัด มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[3][4]

ในส่วนของผู้ต้องหาที่ถูกผู้เสียหายชี้ตัวในคดีลวนลามจะถูกแจ้งข้อหากระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใด หรือใช้กำลังประทุษร้ายโดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ตำรวจจะทำการสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อสืบหาผู้ต้องหาที่ได้กระทำผิดต่อไป

และในเหตุการณ์ครั้งนั้นถือเป็นสังเวียนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตกรุงเทพฝั่งธนบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากผู้ปกครองของนักเรียนสาวที่ถูกลวนลามนั้นเป็นสมาชิกกลุ่มใจถึงผึ่งได้ของวัน อยู่บำรุง โดยสองสกุลอดีตศิษย์เก่าโรงเรียนเป็นผู้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นดังกล่าว และต่างต้องการกลับมาชิงอำนาจในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น สกุลม่วงศิริ(พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย) สกุลอยู่บำรุง(พรรคเพื่อไทย) ซึ่งต่างเป็นอริทางการเมืองกันอยู่แล้ว และยังมีผู้ลงสมัครพรรคภูมิใจไทยเขตบางคอแหลมอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย เหตุการดังกล่าวทำให้การลงชิงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วพื้นที่กรุงเทพฝั่งธนบุรี และจังหวัดสมุทรสาครนั้นดุเดือดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เขตบางบอน เขตจอมทอง เขตบางขุนเทียน เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตบางคอแหลม และจังหวัดสมุทรสาคร

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

  • สายบันเทิง
  1. รุ่งรัตน์ เหม็งพานิช (ไข่มุก) นักร้อง
  2. พรชนก เลี่ยนกัตวา (ปิ่น) รองชนะเลิศเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 12
  3. กิติพัฒน์ พิมพ์เกษมโสภณ (เพียว) พิธีกรรายการ ช่อง9 การ์ตูน และรายการ Mcot kids club
  4. ฌิน ศุรศิริน (ชิน) อดีตพิธีกรรายการ OIC แชมป์แข่งขันคณิตศาสตร์ รายการไอคิว180
  5. ศรายุทธ ลูกอิน นักร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์
  6. ภวัต โอภาสสิริโชติ (เบนซ์) นักร้องนำ/กีตาร์ วง Dept
  7. นันทกร พันธ์วุ้น (เกม) มือเบส วง Blackbeans
  8. วรพัทธ์ การะเกตุ (พี) มือกีตาร์ วง Yew และนักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์
  9. อักษร เบ็ญจนิรัตน์ (ใบเตย) ผู้เข้าประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2022 ตัวแทนมิสแกรนด์สตูล
  • สายข้าราชการและนักการเมือง
  1. พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ (บิ๊กบี้) ผู้บัญชาการทหารบก
  2. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  3. อาจารย์ ลำเนา อยู่บำรุง ภรรยาของร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง อดีตที่ปรึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร
  4. นวรัตน์ อยู่บำรุง อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตหนองแขม
  5. สัก กอแสงเรือง อดีตสมาชิกวุฒิสภา
  6. อุดมศักดิ์ นิติมนตรี อดีตประธานกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, อดีตรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งและพาณิชย์
  7. ประเสริฐ ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
  8. กำนัน ประพันธ์ ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางบอน
  9. สุเทพ ม่วงศิริ ประธานสภาวัฒนธรรมเขตบางบอน
  10. วันทิพย์ เครือคล้าย ประธานสภาวัฒนธรรมเขตจอมทอง
  11. นิธิกร บุญยกุลเจริญ (ปาล์ม) ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานครพรรคก้าวไกล เขตบางบอน
  12. ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย
  • สายกีฬา
  1. นาวาเอก ประพันธ์ ด้วงชะอุ่ม นักมวยสากลสมัครเล่น เหรียญทองรุ่นไลท์ฟลายเวท กีฬาเอเชียนเกมส์ คนแรกของประเทศไทย
  2. เถลิง อยู่บำรุง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บอสส์ บ๊อกซิ่ง 2000 จำกัด และ กรรมการผู้จัดการเวทีมวยสยามอ้อมน้อย
  3. ณัฐกร โพธิ์ขาว (ปลากัด ป.พีณภัทร) แชมป์มวยรอบฟุ๊กเทียนกรุ๊ฟ ตรั้งที่12
  4. นิคม น้อยพันธ์ (เพชร ลูกมะขามหวาน) อดีตแชมป์มินิมั้มเวต 105 ป. ราชดำเนิน, อดีตแชมป์แชมป์S-1วันธงชัย 108 ป., อดีตแชมป์118 ป. เวทีอ้อมน้อย, อดีตแชมป์ 122 ป.ช่อง7สี
  5. ภาคภูมิ ศรีหาวงศ์ (นิล ลูกมะขามหวาน) อดีตแชมป์ Max Muay Thai รุ่น61กิโลกรัม
  6. ผไทมาส เหมือนวงศ์ นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภททีมหญิงและทีมชาย ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ณ ประเทศเวียดนาม
  7. นันทกานต์ ยอดไพสง นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภททีมหญิงและทีมชาย ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ณ ประเทศเวียดนาม

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้