โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย

โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย (Phrapathom Witthayalai School ; อักษรย่อ : พ.ป. / P.T.) เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทสหศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนครปฐม ก่อตั้งเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2452 เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) เป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง และยังเป็นโรงเรียนศูนย์สะเต็มศึกษาภาคกลางตอนล่างและโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา STEM สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งปัจจุบัน 117/2 ถ.เทศา ต.พระปฐมเจดีย์ เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รหัสไปษรณีย์ 73000 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 42 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา

โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
ละติน: Phrapathom Witthayalai School
Phrapathomwitthayalai school logo
ที่ตั้ง
แผนที่
117/2 ถ.เทศา ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม รหัสไปษรณีย์ 73000
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญเราจะทำดีที่สุด
(มีวินัย ใฝ่การเรียน เพียรทำดี มีความสุข)
สถาปนา23 มกราคม พ.ศ. 2452 (114 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชทานนามโรงเรียนพ.ศ. 2452)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการสถานศึกษาชัชวาลย์ สิงหาทอง
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาไทย
สี   น้ำเงิน-เหลือง
เพลงมาร์ชพระปฐมวิทยาลัย
เว็บไซต์http://phrapathom.ac.th/

ประวัติ แก้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช โปรดเสร็จเมืองนครปฐม และทรงประทับที่วังของสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ พระองค์สนใจประวัติศาสตร์ โบราณคดี โดยเฉพาะนครปฐม เป็นเมืองเก่าพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก ดังปรากฏตมคำประพันธ์นิทานโบราณคดี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสร็จเข้าตรวจเยี่ยมเรือนจำนครปฐมเสมอ และได้ทรงก่อตั้งโรงเรียนขึ้นมาโดยมี ครูอั้น สารีบุตร(หลวงวิศาลดรุณการ) เป็นครูใหญ่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนวิชาชำนะโฉด" เมื่อ พ.ศ. 2452

โรงเรียนวิชาขำนะโฉด คำว่า "วิชา" แปลว่า วิชา คำว่า "ชำนะ" แปลว่า ชนะ คำว่า "โฉด" แปลว่า โง่เขลา จึงรวมกันได้ว่า "โรงเรียนวิชาชนะความโง่เขลา" พระพุทธเกษตรานุรักษ์ได้ทำป้ายชื่อตามนามพระราชทานว่า "โรงเรียนวิชาชำนะโฉด" อยู่ใต้พระลัญจกรของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ในตู้ไม้บานกระจกติดตั้งที่หน้าจั่วอาคารโรงเรียนและใช่ตราพระเกี้ยวเป็นตราของโรงเรียน

หนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครปฐม ได้กล่าว ถึงประวัติด้านการศึกษาว่า ผู้บุกเบิกการศึกษาคนแรกที่มีบทบาทในด้านการศึกษาของจังหวัดนครปฐม คือ พระพุทธเกษรานุรักษ์ พัศดีเรือนจำมณฑลนครชัยศรี พระพุทธเกษตรานุรักษ์ เป็นผู้เห็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาอย่างยิ่งได้สร้างอาคารเรียนในเรือนจำขึ้นหลังหนึ่ง เพื่อให้ความรู้ด้านหนังสือและวิชาการช่างให้แกนักโทษในเรือนจำ

พระพุทธเกษตรานุรักษ์ เมื่อรับราชการ ตำแหน่ง พะทำมะรงเรือนจำมณฑลนครชัยศรี ได้ทำคุณวิเศษนอกหน้าที่อย่างหนึ่ง คือ คิดตั้งโรงเรียนสอนเด็กชาวบ้านขึ้นในบริเวณชั้นนอกเรือนจำ อันเป็นที่อยู่ของพระเกษตรฯ ซึ่งสนใจและบำรุงโรงเรียนนั้นให้เจริญขึ้นโดยลำดับ มีผู้นิยมส่งเด็กเข้าเล่าเรียนมาก จนเป็นโรงเรียนใหญ่แห่งแรกในนครปฐม พ.ศ. 2452 ทางข้าราชการจะตั้งโรงเรียน "ดัดสันดาร" เพื่ออบรมเด็กที่ต้องโทษ จึงได้ซื้อที่ดินที่ตำบลห้วยจระเข้ สร้างอาคาร มีห้องครัง ห้องฝึกอบรม ห้องนอน ห้องเจ้าหน้าที่ เมื่อสร้างเสร็จมีผู้กราบังคมทูลว่าโรงเรียนไม่ควรอยู่ในเมืองใกล้กรุงเทพฯ จึงย้ายไปสร้างใหม่ที่เกาะสีชัง อาคารที่สร้างไว้จึงโปรดเกล้าให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียรรัฐบาล กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) จึงรับโอนนักเรียนจากโรงเรียนวิชาขำนะโฉดมาเรียนแทนและใช้ชื่อว่า โรงเรียนตัวอย่างมณฑลนครชัยศรีพระปฐมวิทยาลัย ทำพิธีมอบนักเรียนมา และครูโรงเรียนวิชาขำนะโฉดมอบให้หมด

เมื่อปี พ.ศ. 2542 กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ)ได้รับโอนกิจการโรงเรียนวิชาชำนะโฉดซึ่งตั้งอยู่บริเวณเรือนจำ ระหว่างกำแพงชั้นนอกกับชั้นในด้านตะวันตกมาดำเนินมีชื่อว่า โรงเรียนตัวอย่างมณฑลนครชัยศรีพระปฐมวิทยาลัยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงชั้นระถมปีที่ 4 ตั้งแต่แรกจนถึงปี พ.ศ. 2456

ใน พ.ศ. 2462 ได้เปิดสอนแผนกฝึกหัดครู ต่อมาได้ยุบ เลิก หรือแยกไปที่ใดไม่ปรากฏหลักฐาน และทางโรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนให้สูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงชั้น ม.6 ต่อมาใน พ.ศ. 2464 มีการเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำมณฑลนครชัยศรีพระปฐมวิทยาลัย จนกระทั่งใน พ.ศ. 2475 ทางราชการสั่งยุบมณฑลนครชัยศรี โรงเรียนจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อเพื่อให้สอดคล้องกับการยุบมณฑลฯ ชื่อว่าโรงเรียนประจำจังหวัดนครปฐมพระปฐมวิทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2479 ได้รับโอนอาคารสถานที่จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตำบลห้วยจรเข้ ซึ่งมีเขตติดต่อกับโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ทางโรงเรียนได้แยกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ไปเรียนอาคารที่ได้รับโอน ต่อมาใน พ.ศ. 2487 ได้โอนอาคารสถานที่ของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย แต่เดิมให้เป็นโรงเรียนฝึกหัดครู (ชาย) นครปฐม และให้นักเรียนทั้งหมดเรียนรวมกันที่อาคารเรียนที่ได้รับโอนมาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ใน พ.ศ. 2494 กระทวงศึกษาธิการสั่งเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศโรงเรียนจึงต้องเปลี่ยนชื่ออีกครั้งชื่อว่า โรงเรียนนครปฐมพระปฐมวิทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2495 อาคารที่ได้รับโอนมาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจชำรุดทรุดโทรมมาก ประกอบกับทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสำหรับสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ในพื้นที่เดิมซึ่งเป็นอาคารไม้สองชั้น 12 ห้องเรียน และใน พ.ศ. 2499 รับโอนอาคารสถานที่ซึ่งได้ให้โรงเรียนฝึกหัดครูไป กลับคืนมาและปีนี้โรงเรียนได้เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษาขึ้นเป็นปีแรก เปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนใหม่อีกครั้งว่า โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย โดยตัดคำนำหน้าว่า นครปฐมออก และชื่อนี้เองที่ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน[1]

ใน พ.ศ. 2504 ได้ยุบชั้น ม.1 ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 ต่อมาใน พ.ศ. 2505 เริ่มมีชั้นเรียนระดับ ม.ศ.4 ตามหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2504 ต่อมาใน พ.ศ. 2506 โรงเรียนเปิดสอนชั้น ม.ศ.4-ม.ศ.5 เต็มรูปแบบ ต่อมาใน พ.ศ. 2515 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ระดับ 5 ขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2515 และใน พ.ศ. 2536 ได้เปิดเป็นโรงเรียนสหศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยรับนักเรียนหญิงในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรกและต่อมาได้กลายเป็นโรงเรียนสหศึกษาทั้งหมด

รายนามผู้บริหารโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 หลวงวิศาลดรุณการ (อั้น สาริกบุตร) พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2456
2 ขุนกิติวิทย์ (สินธุ์) พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2457
3 หลวงอนุพันธุ์ ศิษยานดิษฏ์(คง สีละผลิน) พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2461
4 ขุนชิตพิทยกรรม (เนาว์ รัตนวิมล) พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2463
5 ขุนประสิทธิวิทยกร (ฮก คุปตะวณิช) พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2466
6 ขุนโกศลเวทย์ (โกศล ไพศาลศรี) พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2468
7 ขุนจรรยาวิจารย์ (อุ่น บูรณบุตร) พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2475
8 นายผล หังสสูต พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2488
9 นายไพโรจน์ ผาสุก พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2491
10 นายพิพัฒน์ บุญสร้างลม พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2508
11 นายเข็บ พฤกษพิทักษ์ พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2517
12 นายไพบูลย์ ฉิ่งทองคำ พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2529
13 นายไพบูลย์ ภู่พงศ์พันธุ์ พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2534
14 นายถนอม ตะกรุดแก้ว พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2543
15 นายโอสถ ทองมี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2549
16 นายชัยรัตน์ เผดิมรอด พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2556
17 นายสามารถ รอดสำราญ พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2566
18 นายชัชวาลย์ สิงหาทอง พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

แผนการเรียนที่เปิดสอน แก้

ปัจจุบันโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยได้ทำการเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา 1-6

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ห้องเรียนพิเศษโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub)
  • ห้องเรียนพิเศษ(Gifted)
  • ห้องเรียนปกติทั่วไป
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ห้องเรียนพิเศษ(Gifted)
    • ห้องเรียนพิเศษ พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ)
    • ห้องเรียนพิเศษ(SMTE) คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
    • ห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  • ห้องเรียนปกติทั่วไป
    • คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
    • คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-คอมพิวเตอร์
    • คณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
    • ภาษาอังกฤษ-ภาษาอังกฤษ
    • ภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
    • ภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี
    • ภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส
    • ภาษาอังกฤษ-ภาษารัสเซีย
    • การจัดการธุรกิจสมัยใหม่-ธุรกิจอาหาร

คณะสี แก้

กิจกรรมกีฬาสีโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยจะจัดขึ้นในทุกๆปี ภายในโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย โดยจะมีคณะสีของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 4 คณะสี ได้แก่

  •  สีเขียว-ธำรงพล
  •  สีฟ้า-ถกลกิจ
  •  สีอิฐ(ส้ม)-วิทย์วิโรจน์
  •  สีม่วง-โชติสิริ

ศิษย์เก่าผู้มีชื่อเสียง แก้

การเมือง
กีฬา
วงการบันเทิง
ศิลปินแห่งชาติ

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติโรงเรียน". www.phrapathom.ac.th.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

|}