โรงเขียนหนังสือ

โรงเขียนหนังสือ หรือ โรงคัดหนังสือ (อังกฤษ: Scriptorium[2]) แปลตรงตัวว่า “สถานที่สำหรับเขียนหนังสือ” มักจะใช้สำหรับห้องหรือโถงในสำนักสงฆ์ที่ใช้ในการก็อปปีหนังสือโดยนักคัด (scribe) ของสำนักสงฆ์ จากหลักฐานที่บันทึกไว้ และจากสิ่งก่อสร้างที่ยังคงมีให้เห็น หรือจากการขุดค้นทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไปว่าเป็นห้องที่มักจะมีในสำนักสงฆ์นั้นแทบจะไม่มีกันเท่าใดนัก การเขียนหรือคัดหนังสือในสำนักสงฆ์จึงมักจะทำกันในคอกเช่นคอกที่ลึกเข้าไปในผนังของระเบียงคดหรือในห้องเล็กที่เป็นที่พำนักของนักบวชเอง การพูดถึง “โรงเขียนหนังสือ” โดยนักวิชาการในปัจจุบันโดยทั่วไปมักจะหมายถึงการเขียนหรือผลิตงานของสำนักสงฆ์แทนที่จะกล่าวถึงโครงสร้างที่เป็น “โรงเขียน” จริงๆ

จุลจิตรกรรมโดย Jean Miélot จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15[1] เป็นภาพของนักเขียนที่กำลังทำงานรวบรวม “ปาฏิหาริย์แห่งโนเทรอดาม” ที่มีภาพนี้รวมอยู่ด้วย

“โรงเขียนหนังสือ” เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับห้องสมุด ถ้าที่ใดมีห้องสมุดก็สรุปได้ว่าต้องมี “โรงเขียนหนังสือ” หรือ “โรงคัดหนังสือ” [3] “โรงเขียนหนังสือ” ตามธรรมเนียมแล้วหมายถึงห้องที่กำหนดไว้ให้ใช้ในการเขียนหนังสือและก็คงจะมีอยู่ไม่นานนัก เมื่อผู้ใดหรือสถาบันใดต้องการจะคัดหนังสือสำหรับการสะสมในห้องสมุดก่อนที่จะมีการพิมพ์ เมื่อห้องสมุดมีหนังสือพอเพียงแล้วโรงเขียนก็ยุบเลิก เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เกิดร้านบริการคัดหนังสือโดยฆราวาสขึ้น นักคัดอาชีพก็อาจจะมีห้องพิเศษที่ใช้ในการคัดหนังสือ แต่โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเป็นเพียงโต๊ะใกล้หน้าต่างในบ้านของตนเอง

อ้างอิง แก้

  1. Christopher De Hamel, Scribes and Illuminators, (Toronto: U Toronto Press, 1992), 36.
  2. Scriptorium, from the medieval Latin script-, scribere (to write), where -orium is the neuter singular ending for adjectives describing place.
  3. "Since the early medieval days of the foundling monastic orders, the library and the scriptorium had been linked. for the most part, the library was a storage space. Reading was done elsewhere." (Christopher S. Celenza, "Creating Canons in Fifteenth-Century Ferrara: Angelo Decembrio's "De politia litteraria," 1.10" Renaissance Quarterly 57.1 (Spring 2004:43-98) p. 48

ดูเพิ่ม แก้