โรงละครบอลชอย (รัสเซีย: Большой театр /บัลชอย เตียอาเตรอะ/; อังกฤษ: Bolshoi Theatre) เป็นโรงละครบัลเล่ต์ และโอเปร่า ที่มีชื่อเสียงระดับโลก โรงละครตั้งอยู่ที่กรุง มอสโก ของรัสเซียโรงละครแห่งนี้เปิดการแสดงเฉพาะบัลเล่ต์ และโอเปร่าเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

บอลชอย
Большой театр
ที่อยู่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์55°45'37"N, 37°37'07"E
ชนิดโรงละครในร่ม
ก่อสร้างพ.ศ. 2324, พ.ศ. 2326, พ.ศ. 2498
รื้อถอนไฟไหม้ ในปี พ.ศ. 2352, พ.ศ. 2496

การวางรากฐานของโรงละครบอลชอยเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1776 ภายใต้การมอบหมายโดยสมเด็จพระราชินีเยกาเจรีนาที่ 2 มหาราชินี เจ้าชาย ปิออตร์ อูรุสนอฟ จัดตั้งคณะละครขึ้นโดยการสนับสนุนทางด้านการเงินจากนาย ไมเคิล แม็ดด็อกซ์ ชาวอังกฤษ ในเบื้องต้นคณะละครนี้จะไปเปิดการแสดงตามบ้านเรือนคหบดี ในปี 1780 คณะละครได้เข้าซื้อโรงละคร เปตรอฟก้า และเริ่มผลิตละครและโอเปร่าเป็นของตัวเอง[ต้องการอ้างอิง]

ปี ค.ศ. 1805 โรงละครเปตรอฟก้าถูกไฟไหม้และเสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ โดยขณะนั้นแมดด็อกซ์หมดเงินทุน สิทธิในโรงละครจึงถูกโอนมาเป็นของรัฐ และต่อมาก็ตกเป็นของมอสโก[ต้องการอ้างอิง]

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โรงละครบอลชอยเปิดอีกครั้งหนึ่งหลังการบูรณะนานหกปีซึ่งคิดเป็นมูลค่าราว 21,000 ล้านรูเบิล (ราว 680 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ)[1]

ไฟและไฟ กำเนิดบอลชอย แก้

โรงละคร ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1825 หรือ 7 ปีหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้มอสโกครั้งใหญ่ ที่สร้างความเสียหายไปทั้งเมือง มันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปรับภูมิทัศน์ของมอสโกหลังไฟไหม้ โดยมันตั้งอยู่ที่ จัตุรัสเตรียอาตรัลนายา ที่ก็ถูกสร้างขึ้นใหม่หลังเหตุการณ์เพลิงไหม้มอสโกเช่นกัน

โรงละครถูกออกแบบโดย อันเดรย์ มีไคลอฟ สถาปนิกรัสเซีย โรงละครบอลชอยเปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อ 6 มกราคม ค.ศ. 1825 โดยมีชื่อเริ่มแรกว่า โรงละครบอลชอยหลวงแห่งมอสโก ในเบื้องต้นนำเสนอเฉพาะงานของศิลปินรัสเซียเท่านั้น และเริ่มนำเสนองานของศิลปินต่างประเทศในปี ค.ศ. 1840

ที่มาชื่อ บอลชอย แก้

ในยุคนั้น ทั้งที่มอสโก และ เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ต่างก็มีโรงละครกันเมืองละ 2 แห่งเท่านั้น โดยแห่งหนึ่งจะเป็นเวทีสำหรับโอเปร่า และบัลเล่ต์ ส่วนอีกแห่งจะเป็นสำหรับละครสุขและโศกนาฏกรรม และเนื่องจากโอเปร่า และบัลเล่ต์ ถือกันว่าเป็นศิลปะชั้นสูงกว่าละครดราม่า โรงละครที่แสดงบัลเล่ต์ และโอเปร่า จึงถูกเรียกว่า โรงละครใหญ่ หรือ โรงละครบอลชอย ส่วนโรงละครสำหรับดราม่า ก็จะเรียกว่าโรงละครเล็ก หรือ โรงละครมาลึย โดยมาลึย นั้นแปลว่าเล็ก แต่ปัจจุบันโรงละครบอลชอยที่เซนต์ปีเตอส์เบิร์กถูกทุบทิ้งไปตั้งแต่ ค.ศ. 1886

ไฟไหม้อีก ของใหม่สวยงามกว่าเดิม แก้

ปี ค.ศ. 1853 เกิดไฟไหม้โรงละครบอลชอยครั้งใหญ่อีก เพลิงได้ลุกไหม้อยู่นานหลายวัน ภายในโรงละครเสียหายเกือบทั้งหมด จนต้องซ่อมแซมปรับปรุงครั้งใหญ่ ภายใต้การดูแลของ สถาปนิก อัลเบิร์ต คาวอส และเปิดทำการได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1856

โรงละครบอลชอยใหม่ ถือเป็นงานชิ้นเอกของศิลปะยุคนีโอคลาสสิกรัสเซียแห่งศตวรรษที่ 19 [ต้องการอ้างอิง]ด้านหน้าเป็นเสาขนาดใหญ่ทรงโรมัน 8 ต้น พร้อมด้วยเทพอะพอลโล เทพแห่งศิลปะ ที่ทรงราชรถม้าอยู่ด้านบน ส่วนภาพในมีการตกแต่งวิจิตรตระการตาด้วยโคมไฟระย้า พรมและม่านสีแดง สลับกับลายปูนปั้นสีทอง โรงละครบอลชอยสามารถรองรับผู้ชมได้คราวละกว่า 2 พันคน โถงสำหรับการแสดงนั้นสูงถึง 21 เมตร กว้าง 26 เมตร และยาว 25 เมตร ทำให้มันเป็นโรงละครที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

นอกจากเรื่องความสวยงาม หรูหราอลังการของตัวโรงละครแล้ว โรงละครบอลชอยก็ยังมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในเรื่องการแสดง ที่นี่เคยเป็นที่เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ครั้งประวัติศาสตร์ของคีตกวีชื่อดังระดับโลกหลายคนชิ้น[ต้องการอ้างอิง] เคยเป็นเวทีของนักแสดงระดับโลกหลายคน

บอลชอยกับการเมือง แก้

วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1922 โรงละครบอลชอยถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดการประชุมสภาโซเวียตทั่วสหภาพครั้งแรก ซึ่งในการประชุมนี้เป็นการยอมรับการเกิดขึ้นมาของสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ[ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงละครก็ได้รับความเสียหายจากระเบิดเยอรมัน แต่ไม่มากนัก [ต้องการอ้างอิง]

โรงละครบอลชอยนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องบัลเล่ต์มาตั้งแต่เริ่มต้น และเป็นบ้านของคณะบัลเล่ต์บอลชอย อันมีชื่อเสียง โดย บัลเล่ต์ สวอนเลค ของคีตกวี ปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี ก็เปิดการแสดงรอบปฐมทัศน์ที่นี่เมื่อ ค.ศ. 1877[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

55°45′37″N 37°37′07″E / 55.76028°N 37.61861°E / 55.76028; 37.61861