โรงพยาบาลสกลนคร

โรงพยาบาลสกลนคร เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย ซึ่งจัดอยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะโรงพยาบาลระดับภูมิภาค ขนาดจำนวนเตียง 909 เตียง[1]

โรงพยาบาลสกลนคร
Sakon Nakhon Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง1041 ถนนเจริญเมือง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000, ประเทศไทย
หน่วยงาน
ประเภทภูมิภาค
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง909 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการ24 มิถุนายน พ.ศ. 2496
ลิงก์
เว็บไซต์www.sknhospital.go.th

ประวัติ แก้

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2496 ได้ทำการเปิดโรงพยาบาลสกลนครในบริเวณวัดสระแก้ว ข้างทะเลสาบหนองหาน โดยหลายปีที่ผ่านมา ได้เห็นพัฒนาการที่สำคัญโดยเฉพาะจากการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ท้องถิ่นที่ได้รับความเคารพนับถือ ทั้งหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และพระภาวนาวิสุทธิญาณเถร (แบน ธนากโร) ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคที่มีความจุ 909 เตียงผู้ป่วยใน ณ พ.ศ. 2565[2][3]

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ แก้

  • ศูนย์โรคหัวใจ

ซึ่งเปิดบริการผ่าตัดหัวใจ สวนหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งจี้ไฟฟ้าหัวใจ รับส่งต่อจากจังหวัดสกลนคร,นครพนม,และบึงกาฬ

  • ศูนย์โรคมะเร็ง

บริการผ่าตัดและฉายรังสีรักษา

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก แก้

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันจัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อสนับสนุนการเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์หลักของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตศาสตร์ ของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตศาสตร์ ในระดับชั้นคลินิก [4] โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแผนจะเปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกในปีการศึกษา 2567 จำนวน 48 คน [5][6][7][8]

หลักสูตรการศึกษา แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสกลนคร จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน 1 หลักสูตร ภายหลังเปิดรับนิสิต ปีการศึกษา 2567 เป็นรุ่นแรก จำนวน 48 คน/รุ่น[9] โดยเป็นส่วนของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลสกลนคร จำนวน 24 คน/รุ่น และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จำนวน 24 คน/รุ่น มีรายละเอียด คือ

หลักสูตร
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) สาขาวิชาแพทยศาสตร์

ระยะเวลาในการศึกษา แก้

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด!! ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (ณ เดือนเมษายน 2566)[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  2. "ความเป็นมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
  3. "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 ณ กุมภาพันธ์ 2565". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.
  4. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566
  5. ไทยรัฐ ออนไลน์, มก.จับมือ สธ.ตั้งศูนย์แพทย์สุพรรณบุรี-สกลนคร, 31 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  6. สยามรัฐ, มก. MOU สธ. พัฒนาศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก ณ โรงพยาบาลหลัก ผลิตแพทย์ให้ประเทศไทย, 29 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  7. มติชน, ม.เกษตรฯ จับมือ สธ.พัฒนาศูนย์แพทย์ศึกษาชั้นคลินิก ที่ รพ.หลัก เล็งรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกปี’67 วันที่ 2 มิถุนายน 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  8. เดลินิวส์ ออนไลน์ ครบรอบ 4 ปี ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชเดินหน้าดูแลปชช., 10 สิงหาคม 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  9. แพทยสภา, ประกาศแพทยสภา เรื่อง แพทยสภาให้การรับรองคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ 2567 ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2566 สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566

แหล่งข้อมูลอื่น แก้