โรงพยาบาลด่านขุนทด

โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลหลักของอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

โรงพยาบาลด่านขุนทด
Dankhunthod Hospital
ประเภทโรงพยาบาลชุมชน (M2)
ที่ตั้งถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ
ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด
จังหวัดนครราชสีมา 30210
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2518 (สถานีอนามัยชั้น 1)
พ.ศ. 2522 (ยกระดับเป็นโรงพยาบาล)
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนพ.ชวิศ เมธาบุตร
จำนวนเตียง90 เตียง (เตียงจริง 126 เตียง)
แพทย์13 คน
บุคลากร363 คน
เว็บไซต์http://www.dkthos.com

ประวัติโรงพยาบาล แก้

อำเภอด่านขุนทดมีสถานีอนามัยชั้น 1 (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปัจจุบัน) เพื่อบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในเขตอำเภอด่านขุนทดมานาน

ปี พ.ศ. 2518 นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์ ได้เสนอตัวเข้ามาทำงานในสถานีอนามัยแห่งนี้ เมื่อมีแพทย์มาปฏิบัติงานสถานีอนามัยได้ยกระดับเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย ภายหลังเจ้าหน้าที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทางศูนย์การแพทย์ได้ขยายสำนักงานแบ่งออกเป็น ห้องคลอด ห้องผ่าตัด และแผนกผู้ป่วยใน

ปี พ.ศ. 2519 กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญของสถานบริการจึงได้อนุมัติงบประมาณในการสร้างโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โรงพยาบาลด่านขุนทดได้เปิดบริการ โดยยกระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง

ปี พ.ศ. 2530 โดยพระเทพปริยัติสุธี (ท่านเจ้าคุณเสรี) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ และหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ (วัดบ้านไร่) เป็นผู้ริเริ่มที่ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ขึ้นเนื่องจากอาคารเดิมที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการบริการ โดยได้รับความร่วมมือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายประสาน ด่านกุล (สส.สมัยนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณของจังหวัดนครราชสีมาให้โรงพยาบาลด่านขุนทด 1 ล้านบาท และนายสมบูรณ์ จิระมะกร (สส.สมัยนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณมาอีก 4 แสนบาท รวมเป็นเงิน 1 ล้าน 4 แสนบาท ส่วนค่าก่อสร้างตึกผู้ป่วยในนั้นราคาประมาณ 7 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจึงต้องหาเงินมาจากการบริจาคทั้งหมด ทั้งนี้เพราะกระทรวงฯไม่มีงบประมาณจัดสรรให้ และด้วยความร่วมมือของข้าราชการ พ่อค้าประชาชนและห้างร้านบริษัทต่างๆจึงทำให้การก่อสร้างสำเร็จลง[1]

ปี พ.ศ. 2559 ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก-อุบัติเหตุ เป็นอาคาร 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,721 ตารางเมตร ในพื้นที่โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่

ปี พ.ศ. 2564 ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน เป็นอาคาร 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 4,797 ตารางเมตร ในพื้นที่โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่ โดยจะพร้อมเปิดให้บริการในปี 2566

วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโรงพยายาลด่านขุนทดแห่งใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อจาก โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็น โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 100 ปีชาตกาล หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ ของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ที่มีต่อโรงพยาบาลและงานสาธารณสุข พร้อมรับมอบเงินบริจาคสมทบปรับปรุงอาคารและจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับอาคารผู้ป่วยในที่ก่อสร้างใหม่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,320,000 บาท[2][3] [4]


การยกระดับโรงพยาบาลด่านขุนทด แก้

กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับโรงพยาบาลด่านขุนทด ดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2522 โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง (อาคารเดิม )
  • ปี พ.ศ. 2533 โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง (เพิ่มอาคาร 60 ปี ภูมิพล )
  • ปี พ.ศ. 2537 โรงพยาบาลขนาด 90 เตียง (เพิ่มอาคารสมเด็จพระเทพฯและอาคารสิริกิติ์)
  • ปัจจุบัน โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลชุมชน (M2) ขนาด 90 เตียง แต่มีจำนวนเตียงจริง 126 เตียง[1]

พื้นที่ของโรงพยาบาล แก้

พื้นที่เก่า (โรงพยาบาลด่านขุนทด) แก้

อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด มีเนื้อที่แบ่งเป็น 4 ส่วน

ส่วนแรก เนื้อที่ 12 ไร่ เป็นอาคารสำนักงานทั้งหมด
ส่วนที่ 2 เป็นบริเวณบ้านพัก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงพยาบาลมีเนื้อที่ 6 ไร่
ส่วนที่ 3 นั้นอยู่หลังที่ว่าการอำเภอด่านขุนทดมีเนื้อที่ 3 ไร่ (ส่วนนี้เป็นสถานที่สร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ อาคารโรงซักฟอกและโรงรถ)
ส่วนที่ 4 อยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำหนองกะจะมีเนื้อที่ 2 ไร่ เป็นบริเวณสร้างน้ำประปาสำหรับโรงพยาบาลโดยมีโรงสูบน้ำ กรองน้ำอยู่บริเวณนี้ทั้งหมด

สรุปแล้วเนื้อที่ของโรงพยาบาลรวมทั้งหมด 25 ไร่[1]

พื้นที่ใหม่ (โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) แก้

อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวอำเภอด่านขุนทด มีพื้นที่ จำนวน 124 ไร่[5]

รายนามผู้อำนวยการโรงพาบาลด่านขุนทด แก้

ทำเนียบรายนามผู้อำนวยการโรงพาบาลด่านขุนทด[1]
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์ 2518-2520
2. นพ.บุญนำ ลิ้มมงคล 2520-2522
3. นพ.สมบูรณ์ นันทานิช 2522-2531
4. นพ.พิทยาคม พงศ์เวทย์พาณิชย์ 2531-2538
5. นพ.ดนัย อดุลยศักดิ์ 2538-2541
6. นพ.วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์ 2541-2549
7. พญ.ต้องตา ชนยุทธ 2549-2566
8. นพ.ชวิศ เมธาบุตร 1 มีนาคม 2566 ถึงปัจจุบัน

อาคารสถานที่ แก้

อาคารต่าง ๆ ในโรงพยาบาลด่านขุนทด

พื้นที่เก่า (โรงพยาบาลด่านขุนทด)
  • อาคารผู้ป่วยนอก
  • อาคารประชารักษ์
  • อาคาร 60 พรรษาภูมิพลมหาราช (เปิดบริการปี พ.ศ. 2533)
  • อาคาร 36 พรรษาสมเด็จพระเทพฯ (เปิดบริการปี พ.ศ. 2534)
  • อาคาร 60 พรรษามหาราชินี (เปิดบริการปี พ.ศ. 2537)[1]
พื้นที่ใหม่ (โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)
  • อาคารผู้ป่วยนอก-อุบัติเหตุ 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,721 ตารางเมตร (ปีงบประมาณ 2559)[6]
  • อาคารผู้ป่วยใน 5 ชั้น จำนวน 114 เตียง[7] พื้นที่ใช้สอย 4,797 ตารางเมตร[8] (กำลังก่อสร้างและจะเปิดให้บริการได้ต้นปี 2566)[9]
  • อาคารวินิจฉัยและบำบัดรักษา 4 ชั้น (อยู่ในแผน)[5]

การบริการทางการแพทย์ แก้

โรงพยาบาลแม่ข่าย แก้

โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย (M2) และรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่าย 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และคลินิกหมอครอบครัว ได้แก่

  1. โรงพยาบาลเทพารักษ์ (โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (F3))
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 15 แห่ง
  3. คลินิกหมอครอบครัว (PCC) 5 แห่ง[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "โรงพยาบาลด่านขุนทด".
  2. "พิธีเปิดโรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ". บ้านเมือง ออนไลน์.
  3. "พิธีเปิดโรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ". ข่าวสด ออนไลน์.
  4. "โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ชื่อทางการของโรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่". ข้อมูลบริการสุขภาพของไทย.
  5. 5.0 5.1 "โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่ (โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)". สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ.
  6. "โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่ (โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)". สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.
  7. "ข้อมูลอาคารหอผู้ป่วยใน 5 ชั้น โรงพยาบาลด่านขุนทด" (PDF). สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05.
  8. "ข้อมูลอาคารหอผู้ป่วยใน 5 ชั้น โรงพยาบาลด่านขุนทด" (PDF). ประกาศจังหวัดนครราชสีมา.
  9. "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลด่านขุนทด" (PDF). เขตสุขภาพที่ 9 หน้าที่ 60.[ลิงก์เสีย]
  10. "หน่วยการบริการทางการแพทย์โรงพยาบาลด่านขุนทด".