โมไอ (ราปานูอี: mo‘ai; สเปน: moái) คือ รูปปั้นหินซึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์และส่วนศีรษะมีขนาดใหญ่เด่นชัด โมไอถูกพบมากกว่า 600 ตัว กระจายอยู่ทั่วเกาะอีสเตอร์ อุทยานแห่งชาติราปานูอี ประเทศชิลี โมไอเกือบทั้งหมดที่พบนั้นถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียว แต่บางตัวก็มีของประดับลักษณะคล้ายหมวกหรือมวยผมซึ่งเรียกว่า "ปูเกา" (pukao) เป็นชิ้นต่างหากอยู่บนศีรษะ โมไอเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากเหมืองหินที่ปล่องภูเขาไฟราโนรารากู (Rano Raraku) ซึ่งเป็นที่ที่พบโมไออยู่กว่า 400 ตัว อยู่ในกระบวนการแกะสลักซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์ -โพเนกรีฟ(ตัวหินนั้นใช้แร่แม่เหล็กผสมกับโลหะไททาเนียม จะได้ส่วนผสมชนิดใหม่)

อุทยานแห่งชาติราปานูอี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
โมไอแห่งราโนรารากู
ประเทศชิลี
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i), (iii), (v)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2533 (คณะกรรมการสมัยที่ 14)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
รูปปั้นโมไอจำนวน 15 ตัว ที่อาฮูโตงารีกี (Ahu Tongariki) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ หันหลังให้ทะเล ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยนักโบราณคดีชื่อ เกลาดีโอ กริสตีโน (Claudio Cristino)

จากการค้นพบรูปปั้นที่ยังแกะสลักอยู่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั้น ทำให้มีการสันนิษฐานว่าเหมืองหินได้ถูกทิ้งร้างไปอย่างกะทันหัน นอกจากนั้นในการค้นพบ โมไอเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้อมนอน ซึ่งเชื่อว่าชาวพื้นเมืองบนเกาะเป็นผู้ทำให้มันล้ม

ลักษณะที่เด่นชัดของโมไอ คือ ส่วนหัว แต่ก็มีโมไอหลายตัวซึ่งมีส่วนหัวไหล่, แขน และลำตัว ซึ่งเป็นโมไอที่พบหลังจากถูกฝังมานานนับปี ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมไอนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดและมีการสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา

ข้อสันนิษฐานที่แพร่หลายมากที่สุดข้อหนึ่ง คือ รูปปั้นโมไอถูกแกะสลักโดยชาวโปลินีเซียซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะนี้เมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ข้อสันนิษฐานนี้เชื่อว่า พวกโปลินีเซียอาจสร้างโมไอขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรืออาจจะเป็นผู้ซึ่งมีความสำคัญ ณ สมัยนั้น หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของครอบครัว

เห็นได้ชัดว่าการสร้างโมไอ (ขนาดทั่วไปสูงประมาณ 3.5 เมตร หนัก 20 ตัน) นั้นต้องลงทุนลงแรงและใช้เวลาเป็นอย่างมาก หลังจากสร้างเสร็จแล้วยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ การขนย้ายโมไอซึ่งหนักและใหญ่นั้นทำอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยชาวพื้นเมืองของเกาะนั้นมีความเชื่อว่า โมไอนั้นเดินได้เอง

ในตำนานของเกาะนั้นกล่าวถึงหัวหน้าเผ่าซึ่งเสาะหาที่ตั้งบ้านใหม่ และเขาได้เลือกหมู่เกาะอีสเตอร์ หลังจากที่หัวหน้าเผ่าตายไป เกาะก็ได้ถูกแบ่งให้เหล่าลูกชายของเขาเพื่อให้เป็นหัวหน้าเผ่าใหม่ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนใดตายไปก็มีการนำโมไอไปตั้งไว้ ณ สุสาน ชาวเกาะทั้งหลายเชื่อว่ารูปปั้นโมไอจะรักษาจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าเหล่านั้นไว้ เพื่อให้นำสิ่งดี ๆ มาสู่เกาะ เช่น ฝนตก พืชพรรณสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ตำนานนี้อาจมีการบิดเบือนไปจากความจริงเนื่องจากได้มีการเล่าสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก แก้

โมไอได้ถูกรับเลือกเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยมีเหตุผลดังนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

อ้างอิง แก้

  • Rediscovering Easter Island by Kathy Pelta, Copyright 2001 Lerner Publications Company, North Minneapolis, USA
  • Ancient Mysteries by Rupert Matthews, Copyright 1988 Wayland Limited East Sussex, England

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 27°6′51.23″S 109°21′50.38″W / 27.1142306°S 109.3639944°W / -27.1142306; -109.3639944