โพรโทพลาสซึม (อังกฤษ: protoplasm) เป็นสารกึ่งของเหลวอยู่ภายในของเซลล์ทั้งหมด ซึ่งประกอปด้วย นิวเคลียส (Nucleus) และ ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) มีความหนืด โปร่งแสง ไม่มีสี ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ หากเป็นของพืชจะมีคลอโรพลาสต์(Chloroplast) รวมอยู่ด้วย เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะแสดงคุณสมบัติการมีชีวิตได้[1][2]

คุณสมบัติของทางเคมี แก้

  1. ส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำประมาณ 75-90 เปอร์เซ็นต์
  2. เป็นสารประกอบเชิงซ้อนซึ่งจะอยู่ในรูปของ colloid
  3. ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆประมาณ 36 ธาตุในปริมาณต่างๆกัน

คุณสมบัติทางกายภาพ แก้

  1. มีลักษณะเป็นของเหลวโปร่งใสดูภายนอกคล้ายวุ้น
  2. สามารถเปลี่ยนจากลักษณะเหลวเป็นแข็งสลับไปมาได้
  3. นำไฟฟ้าได้ต่ำ
  4. มีแรงตึงผิวสูง

คุณสมบัติทางชีวภาพ แก้

  1. สืบพันธุ์ได้โดยการแบ่งตัว
  2. มีเมตตาบอลิซึมและต้องการพลังงาน
  3. เจริญเติบโตได้
  4. กรณีปกติโพรโทพลาสซึมมีชีวิตในรูปของเซลล์
  5. เคลื่อนไหวได้เช่น การเคลื่อนไหวของ chloroplast ในสาหร่ายหางกระรอก หรือการเคลื่อนไหวของอาหารใน Paramecium.
  6. สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้
  7. สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้

อ้างอิง แก้

  1. "องค์ประกอบของเซลล์พืช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-10. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  2. โพรโทพลาสซึม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้