โบเน็งไก (ญี่ปุ่น: 忘年会โรมาจิbōnenkaiแปลว่า "ชุมนุมลืมปี") เป็นงานเลี้ยงดื่มสุราของญี่ปุ่นที่จัดขึ้นในช่วงปลายปี และโดยทั่วไปจะจัดขึ้นในหมู่เพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนฝูง[1][2] จุดประสงค์ของงานเลี้ยงตรงตามชื่อคือเพื่อลืมความทุกข์ยากและปัญหาในปีที่ผ่านมา และมองไปยังปีใหม่อย่างมีความหวัง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก โบเน็งไกไม่ได้จัดขึ้นในวันใดวันหนึ่งโดยเฉพาะ แต่โดยปกติแล้วจะจัดขึ้นภายในเดือนธันวาคม[1]

โบเน็งไก
忘年会
งานเลี้ยงโบเน็งไกเริ่มต้นด้วยการดื่มอวยพรด้วยเบียร์
ประเภทงานเลี้ยง
วันที่ธันวาคม
ความถี่ทุกปี
ประเดิมศตวรรษที่ 15

โบเน็งไกจัดขึ้นโดยกลุ่มของเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน หรือได้รับการสนับสนุนจากบริษัทหรือสำนักงานธุรกิจสำหรับพนักงาน โบเน็งไกไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองตรุษญี่ปุ่นซึ่งกินเวลาถึงวันที่ 3 มกราคม แต่เป็นวิธีส่งท้ายปีด้วยการเฉลิมฉลองเป็นกลุ่ม[3] ประเพณีนี้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 15 ในช่วงสมัยมูโรมาจิเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ในเวลานั้นงานเลี้ยงนี้เรียกว่าโนไก (納会, "ชุมนุมความสำเร็จอันยิ่งใหญ่") ในศตวรรษที่ 18 งานเลี้ยงกลายเป็นที่รู้จักในชื่อโบเน็งไกหรืองานเลี้ยงสิ้นปี[4]

โบเน็งไก ถือกันว่าว่าเป็นเวลาสำหรับบูเรโก (無礼講) หรือการปล่อยผมสยายและไม่ถือกันเกี่ยวกับความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างเจ้านาย/ลูกจ้างหรือการแบ่งชั้นยศและอายุ[5]

เมื่อองค์กรธุรกิจตัดสินใจที่จะมีโบเน็งไก จะคำนึงถึงหลายสิ่งหลายอย่างก่อนที่จะวางแผนจัดงานเลี้ยง ข้อกังวลบางประการคือพนักงานและผู้บริหารที่เข้าร่วมงานเลี้ยงต้องมีจำนวนพอสมควรและต้องพยายามจำกัดค่าใช้จ่ายทั่วไปไม่เกิน 5,000 เยนต่อคน ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของงานเลี้ยงและเพื่อที่พนักงานจะได้เข้าร่วมงานเลี้ยงที่ไม่แพงจนเกินไป[5] บริษัทบางแห่งออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดของงานเลี้ยงและในบางครั้งอาจเลือกที่จะไม่จัดงานเลี้ยงที่ร้านอิซากายะ (ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มักใช้เป็นที่จัดงานโบเน็งไก) และจัดงานเลี้ยงในสถานที่ธุรกิจแทนเพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก[5]

ประวัติ แก้

ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 งานเลี้ยงสังสรรค์ถูกจัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์คล้ายกับงานโบเน็งไกในยุคปัจจุบัน ในวันที่ 30 ธันวาคม กลุ่มขุนนางซามูไรจะรวมตัวกันเพื่อทำสิ่งที่เรียกว่า "การลืมประจำปี" ประกอบด้วยกิจกรรมของชนชั้นสูงทั่วไป เช่น การเขียนและท่องบทกวี และตามด้วยงานเลี้ยงขนาดใหญ่[6] งานเลี้ยงเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องสามัญในหมู่ประชาชนทั่วไปของญี่ปุ่น จนกระทั่งมีการยกเลิกระบอบการปกครองแบบศักดินาในปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงเวลาเดียวกัน เรื่องราวที่เขียนโดยนักเขียนชาวญี่ปุ่น สึโบอูจิ โชโย ชื่อ โบเน็งไก (忘年会) ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บรรยายถึงงานเลี้ยงรูปแบบนี้ ซึ่งประกอบด้วยการพูดคุยอย่างอึกทึกครึกโครม การดื่มอย่างมากมาย และเกอิชาผู้ให้ความบันเทิง[6] [7] ในญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม "ระบบการจ้างงานตลอดชีพ" ที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทบางแห่งได้รวมเอากิจกรรมที่บริษัทจัดขึ้นจำนวนมาก โดยงานหนึ่งมักจะเป็นงานโบเน็งไกสิ้นปีในเดือนธันวาคม[6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "GURUNAVI is Japan's leading gourmet & restaurant guide. Quickly search for restaurants by a variety of criteria, such as cuisine, location, nearest station, and budget. You can also find evens offering an authentic Japanese gourmet experience and discount coupons. Enhance your trip to Japan with amazing meals!".
  2. "YEN FOR LIVING - News".
  3. "Bonenkai and Shinnenkai".
  4. "忘年会の語源について、日本で最初にこの言葉が使われたのは、夏目漱石の『吾輩は猫である』とインターネッ".
  5. 5.0 5.1 5.2 "新年会や忘年会の飲食代を会社の経費に? | 大阪税理士". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-27. สืบค้นเมื่อ 2011-12-06.
  6. 6.0 6.1 6.2 "'Begin Japanology' Parties and Gatherings (TV Episode 2013)". IMDb.
  7. 青木, 稔弥. "「忘年会」から「松のうち」へ--坪内逍遥と新聞小説 (江戸から明治への文学 )." (1985).