โตโยต้า เซ็นจูรี

(เปลี่ยนทางจาก โตโยต้า เซ็นทูรี)

โตโยต้า เซ็นจูรี (อังกฤษ: Toyota Century) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดใหญ่ แบบซีดาน 4 ประตู ที่ผลิตขึ้นเฉพาะตลาดในประเทศญี่ปุ่น ในฐานะรถธงของโตโยต้า จัดเป็นรถยนต์รุ่นที่มีเกียรติภูมิสูงสุดในบรรดารถโตโยต้า, เล็กซัส รวมถึงยี่ห้อในเครือโตโยต้าทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบัน เซ็นจูรียังเป็นหนึ่งในรถประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ร่วมกับ เล็กซัส แอลเอส 600เอชแอล รุ่นปัจจุบัน), รถในขบวนรัฐพิธี, รถรับรองแขกบ้านแขกเมือง และนอกจากนี้ยังมีรุ่นพิเศษ โตโยต้า เซ็นจูรี รอยัล ซึ่งเป็นพระราชพาหนะในสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ และยานพาหนะเพื่อการรับรองพระราชอาคันตุกะในสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีญี่ปุ่นอีกด้วย[1]

Toyota Century
โตโยต้า เซ็นจูรี รุ่นแรก
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เริ่มผลิตเมื่อ
  • พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 – มกราคม พ.ศ. 2560;มิถุนายน พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน (ลีมูซีน)
  • มิถุนายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน (รถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูง)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภท
รูปแบบตัวถัง
โครงสร้าง
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าToyota Crown Eight (G10)

การผลิตรุ่นแรกเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1967 ตลอดเวลาที่ผ่านมา รูปลักษณ์ของเซ็นจูรีได้ปรับเปลี่ยนไปเพียงน้อยมาก ซึ่งเซ็นจูรีเอง จัดว่าเป็นรถยนต์ซีดานญี่ปุ่นที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นลำดับที่สาม ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยที่ชื่อ "เซ็นจูรี" นั้น มาจากการครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 100 ของซะกิชิ โทะโยะดะ ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นและผู้ก่อตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมโตโยต้า

เซ็นจูรีรุ่นแรกสุดนั้นมาพร้อมกับเครื่องยนต์ V8 ในขณะที่รุ่นปัจจุบัน เป็นเครื่องยนต์ V12 จัดว่าเป็นรถยนต์ซีดานเพียงรุ่นเดียวของญี่ปุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ขนาดนี้ แม้ว่าเซ็นจูรีจะเป็นรถยนต์ซีดานหรูขนาดใหญ่ที่มีความพิเศษ แต่ก็ไม่ได้มีจำหน่ายในนามหรือศูนย์ฯของเล็กซัส ที่จัดเป็นตรารถยนต์ชั้นหรูของโตโยต้า แต่มีจำหน่ายเฉพาะในศูนย์เครือ Toyota Store เท่านั้น

ลักษณะภายนอกของเซ็นจูรีทั้งสองรุ่นนั้น มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เค้าโครงทั้งหมดยังคงความเป็นเซ็นจูรีแบบรุ่นแรก เนื่องจากเซ็นจูรี่เป็นรถยนต์แสดงถึงการประสบความสำเร็จในเชิงอนุรักษนิยมและความเป็นญี่ปุ่นอย่างเข้มข้น รูปโฉมของเซ็นจูรีเป็นที่โดดเด่นในประเทศเอเชียตะวันออก จากการที่มันมีสีดำเงา แม้ว่าในอดีต นิสสัน พรีซิเดนท์ ซึ่งเป็นรถระดับเดียวกัน จัดเป็นคู่แข่งโดยตรงกับเซ็นจูรี แต่พรีซิเดนท์จะประสบความสำเร็จในแนวของความร่วมสมัยและมีความเป็นตะวันตกมากกว่าเซ็นจูรี

เดิมทีนั้น โตโยต้า คราวน์ คือรถยนต์ที่หรูหราที่สุดที่โตโยต้ามี แต่คราวน์นั้นถือเป็นรถประเภทหรูหราขนาดกลาง (ระดับเดียวกับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส, นิสสัน เซดริค, พรินซ์ กลอเรีย) แต่ต่อมา เมื่อตลาดรถญี่ปุ่นเริ่มมีบุคคลชั้นสูงต้องการยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีและความหรูหรามากขึ้นจนกระทั่งรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นเท่าที่มีขณะนั้นยังไม่สามารถตอบสนองได้ ดังนั้น ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหลายรายจึงเริ่มสร้างรถยนต์ที่มีความหรูหรามากขึ้น ให้เทียบเท่ารถยนต์ประเภทหรูหราขนาดใหญ่ โดยช่วงแรกมักจะเป็นรุ่นพิเศษของรถยนต์รุ่นที่มีอยู่แล้วไปก่อน เช่น "นิสสัน เซดริก สเปเชียล" เป็นต้น สำหรับโตโยต้าก็เช่นกัน ในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) ได้เปิดตัวรุ่นพิเศษคือ "โตโยต้า คราวน์ 8" ซึ่งมีพื้นฐานมาจากโตโยต้า คราวน์ รุ่นที่สอง (S40) แต่จะมีขนาดตัวถังใหญ่กว่าคราวน์รุ่นปกติ (โดยขนาดขึ้นไปใกล้เคียงกับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส-คลาส W111 ในยุคเดียวกัน) เครื่องยนต์ 2.6 ลิตร V8 รหัส 3V

นอกจากนี้ Crown 8 ยังติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานมาเป็นจำนวนมาก คือ กระจกหน้าต่างไฟฟ้า, ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ (Cruise Control), ระบบประตูดูดด้วยแม่เหล็ก, เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด และอีกมากมาย ซึ่งนับเป็นอุปกรณ์ที่หาได้ยากยิ่งในรถยนต์ยุค พ.ศ. 2507 ต่อมา โตโยต้าได้พัฒนาคราวน์ 8 รุ่นที่สอง แต่รุ่นใหม่นี้จะแยกออกมาเป็นรุ่นอิสระไม่ใช้ชื่อคราวน์ 8 อีกต่อไป โดยตั้งชื่อใหม่ว่า เซ็นจูรี นั่นเอง

รุ่นแรก (G20/G30/G40; ค.ศ. 1967-1997) แก้

รุ่นแรก (G20/G30/G40)[2]
 
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ1967–1997
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4-ประตู ซีดาน
โครงสร้างFR layout
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์3.0L 3V V8 (1967-1973)
3.4L 4V-U V8 (1973-1982)
4.0L 5V-EU V8 (1982-1997)
ระบบเกียร์3-สปีด ธรรมดา
4-สปีด ธรรมดา
3-สปีด อัตโนมัติ
4-สปีด อัตโนมัติ
มิติ
ระยะฐานล้อ112.2  in (2860  mm)
118.5  in (3010  mm) (L-Type)
ความยาว201.6  in (5120  mm)
207.5  in (5270  mm) (L-Type)
ความกว้าง74.4 in (1890 mm)
ความสูง57.1  in (1450 mm)
น้ำหนัก3885 lb (1760 kg)

เซ็นจูรีปี 1967 มีการติดตั้งเครื่องยนต์ 3.0 L 3V และในปี 1973 แทนที่ด้วยเครื่องยนต์ 3.4 L 4V-U และก็มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์อีกครั้งเป็น 4.0 L 5V-EU ในปี 1982 พร้อมกับการติดตั้งหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ตัวเลขด้านหน้า เช่น 3V, 4V-U และ 5V-EU ไม่ได้หมายถึงจำนวนของลูกสูบในเครื่องยนต์ เป็นเพียงชื่อรุ่นของเครื่องยนต์โตโยต้าเท่านั้น

โตโยต้า เซ็นจูรี รุ่นแรกสามารถครองความประทับใจจากผู้โดยสารเป็นเวลานานกว่า 30 ปีตลอดช่วงเวลาของมัน และไม่ถูกแก้ไขใดๆนอกจากการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์และรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเพื่อความงดงาม เซ็นจูรีมีการผลิตในจำนวนจำกัด และในด้านการผลิตนั้น เซ็นจูรียังเข้าข่ายค่านิยมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ "เกือบทำมือ" ด้วยความเป็นที่สุดของเซ็นจูรีนี้เอง ทำให้มันถูกใช้เป็นรถยนต์สำหรับสมาชิกพระราชวงศ์, นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น, บุคคลสำคัญในรัฐบาล และผู้บริหารระดับสูง

การพัฒนาที่สำคัญในรุ่นแรก แก้

  • 1973: VG21; ระบบการล็อกแม่เหล็กไฟฟ้า, ไฟท้าย และ จานเบรกด้านหน้ามีการเปลี่ยนแปลง
  • 1975: แผนการยกเลิกระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา
  • 1982: การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจำนวนมากทั้งภายในและภายนอก อาทิเปลี่ยนมาเป็นเครื่องยนต์ 3400cc แบบ 4V-EU และ 4000cc แบบ 5V-EU
  • 1987: การเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก และระบบเกียร์ นำมิเตอร์แบบดิจิตอลมาใช้
  • 1992: ปรับแต่งกระจังหน้าและล้อ, โปรแกรมควบคุมถุงลมนิรภัย
  • 1994: เสาอากาศในตัวบริเวณหน้าต่างหลัง

รหัสแชสซีของรุ่นแรก แก้

  • VG20: 3.0 L 3V V8, 1967-1973
  • VG21: 3.4 L 4V-U V8, 1973
  • VG30: 3.4 L 4V-U V8, 1973-1977
  • C-VG30: 1977
  • E-VG35: 1978-1982
  • VG40: 4.0 L 5V-EU V8, 1982-1997
  • VG45: 4.0 L 5V-EU V8 (L-Type) 1990-1997

รุ่นที่สอง (G50; ค.ศ. 1997-2016) แก้

รุ่นที่สอง (G50)[3]
 
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อเมษายน 1997 – มกราคม 2017
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4-ประตู ซีดาน
โครงสร้างFR layout
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์5.0 L 1GZ-FE V12, 280 PS (206 kW; 276 hp)
ระบบเกียร์5-สปีด อัตโนมัติ
6-สปีด อัตโนมัติ
มิติ
ระยะฐานล้อ3,025 mm (119.1 in)
ความยาว5,270 mm (207 in)
ความกว้าง1,890 mm (74 in)
ความสูง1,475 mm (58.1 in)
น้ำหนัก1,990 kg (4,390 lb)

เซ็นจูรีได้รับการออกแบบอย่างสมบูรณ์ในปี 1997 แม้ว่ารูปลักษณ์ใหม่จะมีลักษณะคล้ายกับรุ่นแรกมาก แต่ในรุ่นปัจจุบันนี้ ถูกขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 280 PS (206 kW; 276 แรงม้า) 5.0 L 1GZ-FE V12 ที่มาพร้อมกับเกียร์ 5-สปีด อัตโนมัติ และ 6-สปีด อัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีระบบช่วงล่างแบบถุงลม (air suspension) เซ็นจูรีรุ่นใหม่นี้ ถือเป็นรถยนต์ญี่ปุ่นรุ่นแรก ที่มีเครื่องยนต์ V12 อยู่ด้านหน้า

เนื่องจากเซ็นจูรี เป็นรถที่หรูหราที่สุดของโตโยต้าตลอดกาล ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 1967 แม้จะมีผู้ใช้งานน้อยมาก แต่โตโยต้าก็มีการบำรุงรักษาเซ็นจูรีเป็นอย่างดี เพื่อรักษาสถานภาพนี้ไว้แม้กระทั่งในปัจจุบัน ทุกวันนี้เซ็นจูรีมีเกียรติและศักดิ์ศรีเหนือกว่ารถญี่ปุ่นทุกรุ่นแม้กระทั่งเล็กซัส นอกจากนี้ เซ็นจูรียังแบ่งปันฐานะรถธง ร่วมกับคราวน์ มาเจสตา ที่มีขนาดเกือบจะเท่ากับเซ็นจูรี แต่มีลักษณะบางประการที่ดูทันสมัยมากขึ้นซึ่งสามารถดึงดูดลูกค้าที่มีอายุน้อยกว่า

เหมือนกับสุดยอดรถหรูอื่นๆ เซ็นจูรีได้รับการออกแบบให้เอาใจใส่ผู้โดยสารด้านหลังเป็นพิเศษ จะเห็นได้ว่าเบาะหลังสามารถปรับเอนได้และมีระบบนวดในตัว และมีแผงควบคุมระบบอำนวยความสะดวกต่างๆเกือบทุกอย่างในรถอยู่ในพนักพิงแขนด้านหลัง ประตูรถหลังสามารถเปิดเองได้ด้วยระบบไฟฟ้า เซ็นจูรี่รุ่นปัจจุบันนี้ ในปัจจุบันสนนราคาอยู่ที่ 12,080,000 เยน แต่ในทศวรรษที่แล้ว ราคาสูงกว่าปัจจุบันอยู่มาก

การพัฒนาที่สำคัญในรุ่นที่สอง แก้

  • 2003: มีเซ็นจูรี รุ่นใช้ก๊าซ CNG ที่ใช้เครื่องยนต์ 1GZ-FNE
  • 2005: ระบบส่งกำลังแบบ 6-สปีด อัตโนมัติ, เครื่องเล่นดีวีดี
  • 2006: ไฟเบรก แบบ แอลอีดี
  • 2008: ไฟหน้าแบบ Multi-reflex (ไฟต่ำเท่านั้น), มีเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์
  • 2010: ระบบนำทางด้วยเสียง, กระจกแบบพิเศษตัดรังสี UV และอินฟราเรด, ฉนวนกันเสียงคุณภาพสูง

เซ็นจูรี รอยัล (G51) แก้

Toyota Century Royal (G51)
 
เซ็นจูรี รอยัล ยามทำหน้าที่รถยนต์พระที่นั่ง
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4-ประตู ลีมูซีน
โครงสร้างFR layout
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
  • Petrol:
  • 5.0 L (4996 cc) 1GZ-FE V12 (GZG51)
ระบบเกียร์6-สปีด อัตโนมัติ (6 Super ECT)
มิติ
ระยะฐานล้อ3,025 mm (119.1 in))
ความยาว6,155 mm (242.3 in)
ความกว้าง2,050 mm (81 in)
ความสูง1,770 mm (70 in)
น้ำหนัก2,920 kg (6,440 lb)

โตโยต้า เซ็นจูรี รอยัล เป็นรถยนต์พระราชพาหนะประจำสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ

เซ็นจูรี รอยัล เป็นเซ็นจูรีที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ สนนราคาอยู่ที่ 52,500,000 เยน ซึ่งถูกผลิตตามคำร้องขอจากสำนักพระราชวังญี่ปุ่น[4] เพื่อใช้งานเป็นรถยนต์พระที่นั่งสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เซ็นจูรีรุ่นพิเศษนี้ ภายในห้องโดยสาร เบาะถูกหุ้มด้วยหนังสัตว์ชนิดพิเศษ รองเยื้องก้าวตรงขอบประตูด้วยแกรนิต หลังคาถูกบุด้วยกระดาษสา ในด้านสมรรถนะ ใช้เครื่องยนต์ร่วมกับเซ็นจูรี รุ่นที่สอง 5.0 L-V12 280 แรงม้า (206 kW; 276 bhp) ในด้านการรักษาความปลอดภัยก็เป็นไปตามมาตรฐานของรถสำหรับผู้นำประเทศ

เดิมที โตโยต้าจะผลิตเซ็นจูรี รอยัล เป็นจำนวนเพียง 5 คันตามคำร้อง แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูงและเกินความจำเป็น จึงได้ผลิตออกมาเพียง 4 คันเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในสี่นี้ เป็นรถสำหรับรับ-ส่งผู้นำต่างประเทศ หรือแขกในพระองค์ มายังพระราชวังโตเกียว ในโอกาสที่เข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิ

รหัสตัวถัง แก้

 
ขบวนเสด็จ มหาจักรพรรดิ (Emperor Emeritus) ในรถ Century ทั่วไป, ชื่อ จักรพรรดินีที่ 8

รุ่นที่สาม (G60; พ.ศ. 2561–ปัจจุบัน) แก้

รุ่นที่สาม (G60)
 
เซ็นจูรี รุ่นที่ 3
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อมิถุนายน พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน
แหล่งผลิตJapan: Susono, Shizuoka (Higashi Fuji plant)
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4-ประตู ลีมูซีน
โครงสร้างเครื่องวางหน้า ขับเคลื่อนล้อหลัง
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์5.0 L 2UR-FSE V8 (ไฮบริด)
มอเตอร์ไฟฟ้า165 kW (221 hp; 224 PS) 1KM AC synchronous
กำลัง280 kW (375 hp; 381 PS) (เครื่องยนต์เบนซิน)
317 kW (425 hp; 431 PS) (รวมทั้งระบบ)
ระบบเกียร์eCVT[5]
ระบบขับเคลื่อนรถไฮบริดไฮบริดแบบผสมผสาน (THS II)
มิติ
ระยะฐานล้อ3,090 mm (122 in)
ความยาว5,335 mm (210.0 in)
ความกว้าง1,930 mm (76 in)
ความสูง1,505 mm (59.3 in)

โตโยต้า เซนทูรีดังกล่าว นับเป็นเจเนอเรชั่นที่ 3 แล้ว โดยจะยังคงมีวางจำหน่ายเฉพาะตลาดญี่ปุ่นเท่านั้น ชูจุดเด่นด้วยดีไซน์ภายนอกเหลี่ยมสันสไตล์คลาสสิก แต่ถูกติดตั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่มากมาย เช่น ไฟหน้าแบบ LED, ระบบควบคุมเสียงรบกวน Active Noise Control, เครื่องเสียงระดับพรีเมียมพร้อมลำโพง 20 ตำแหน่ง, ระบบความปลอดภัย Safety Sense P เป็นต้น ตัวถังของ Century 2018 มีขนาดความยาว 5,335 มิลลิเมตร ความกว้าง 1,930 มิลลิเมตร ความสูง 1,505 มิลลิเมตร ความยาวฐานล้ออยู่ที่ 3,090 มิลลิเมตร จึงทำให้ห้องโดยสารมีขนาดใหญ่ ติดตั้งเบาะนั่งด้านหลังแบบแยกที่นั่ง พร้อมหน้าจอ LCD บริเวณที่วางแขน สำหรับปรับตำแหน่งเบาะนั่ง, เครื่องเสียงและระบบปรับอากาศ รวมถึงโต๊ะทำงานสำหรับผู้บริหาร ภายในตกแต่งด้วยวัสดุคุณภาพสูง ปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดขุมพลังของ Century 2018 ใหม่ แต่จะมาพร้อมเครื่องยนต์เบนซิน V8 ขนาด 5.0 ลิตร พร้อมมอเตอร์ไฮบริด ซึ่งโตโยต้าระบุว่ามีอัตราสิ้นเปลืองดีที่สุดในรถระดับเดียวกัน Toyota Century 2018 จะถูกเปิดตัวครั้งแรกที่งานโตเกียวมอเตอร์โชว์ ในวันที่ 25 ตุลาคมนี้[6]

Century GRMN (Gazoo Racing Masters of Nurburgring) แก้

 
Toyota Century GRMN
 
Toyota Century GRMN at 2019 Tokyo Auto Salon

โตโยต้า เซนทูรี GRMN เป็นรถหรูแต่งแนว Sport ที่สุดของรถยนต์ลีมูซีนสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง Toyota Century ซึ่งเปิดตัวไปไม่กี่เดือนที่ผ่านมา อาจจะมีตัวแรงตามมาในอนาคต หลัง Akio Toyoda ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ของบริษัทนั่ง Toyota Century แต่งสไตล์ตัวแรง GRMN คือชื่อเต็มของ Gazoo Racing Masters of Nurburgring มาประชุมงาน Japan Automobile Manufacturers Association (JAMA). Akio Toyoda หัวเรือใหญ่ของ Toyota เคยนำ Toyota Century GRMN มาสร้างกระแสครั้งหนึ่งในปีที่แล้ว หลังเขาใช้รถยนต์คันนี้ในการเดินทางไปประชุม ล่าสุด เขาใช้อัครยานยนต์คันนี้ออกงานอีกครั้ง ทั้งยังนั่งเข้าไปในสนามแข่งเพื่อเปิดตัวตนเองในงาน Toyota Gazoo Racing Festival โดยมี Kamui Kobayashi แชมป์ระดับ Endurance ในชุดนักแข่งเต็มยศพร้อมหมวดโชเฟอร์ มาเป็นสารถีให้อย่างมีสไตล์

รถสำหรับขบวนแห่ของราชวงศ์ (Royal Parade Car) แก้

นอกจาก Toyota Century จะมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ญี่ปุ่นมายาวนานเนื่องจากถูกใช้ในการเดินทางของพระจักรพรรดิ์ญี่ปุ่นแล้ว ล่าสุดทาง Toyota ยังได้ทำรถรุ่นนี้ในแบบเปิดประทุนออกมาเป็นพิเศษสำหรับพิธีฉลองการครองราชของพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ในวันที่ 22 ตุลาคมที่จะถึงนี้

จาก Japanese Nostalgic Car ได้บอกว่า Century เปิดประทุนถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า Royal Parade Car หรือรถสำหรับขบวนแห่ของราชวงศ์ ซึ่งจะถูกใช้เพื่อการเดินทางของพระจักรพรรดิ์นารูฮิโตะบนเส้นทางยาว 4.6 กิโลเมตรจากพระราชวังอิมพีเรียลผ่านถนนในโตเกียวไปยังพระราชวัง Akasaka ซึ่งเวลาประมาณ 30 นาที โดยมีรายงานว่า Century เปิดประทุนเป็นรถขบวนแห่ของราชวงศ์คันใหม่ในรอบ 30 ปี โดยมาแทนที่ Rolls-Royce Corniche ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งเคยถูกใช้ไปเพียง 2 ครั้งเท่านั้น อย่างไรก็ตามรถคันใหม่จะถูกกำหนดให้ใช้ในพิธีต่างๆ มากขึ้นซึ่งจะเป็นการใช้ในระหว่างงานพิธีระดับสูง รวมทั้งในระหว่างโอลิมปิกที่โตเกียวปีหน้า และในระหว่างไม่ได้ใช้งานจะถูกจัดแสดงไว้ที่พระราชวังทั้งที่เกียวโตและโตเกียว

การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ แก้

เปิดตัว Century SUV สำหรับตลาดส่งออก SUV model (G70; 2023) แก้

SUV model (G70)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อSeptember 2023 – present[7]
แหล่งผลิตJapan: Tahara, Aichi (Tahara plant)[8]
ผู้ออกแบบ
  • Ryota Nakai, Shota Asano and Soto Shirouzu (exterior)[9]
  • Shin Numoto, Takaaki Katou and Yutaro Yamamoto (interior)[9]
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์ครอสโอเวอร์ประเภทหรูหราขนาดใหญ่ (Full-size luxury crossover SUV)
รูปแบบตัวถัง5-door SUV
โครงสร้างTransverse front-engine, four-wheel-drive (E-Four Advanced)
แพลตฟอร์มTNGA: GA-K
รุ่นที่คล้ายกัน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
มอเตอร์ไฟฟ้า
กำลัง
  • 193 kW (259 hp; 262 PS) (2GR-FXS engine)
  • 134 kW (180 hp; 182 PS) (5NM motor)
  • 80 kW (107 hp; 109 PS) (1YM motor)
  • 303 kW (406 hp; 412 PS) (combined system output)
ระบบเกียร์eCVT
ระบบขับเคลื่อนรถไฮบริดPlug-in
แบตเตอรี่51-Ah lithium-ion
ระยะทางที่รถไฟฟ้าวิ่งได้69 km (43 mi)
มิติ
ระยะฐานล้อ2,950 mm (116.1 in)
ความยาว5,205 mm (204.9 in)
ความกว้าง1,990 mm (78.3 in)
ความสูง1,805 mm (71.1 in)
น้ำหนัก2,570 kg (5,666 lb)

Toyota Century เปิดตัวครั้งแรกในโลกตั้งแต่ปี 1967 หรือราว 56 ปีที่แล้ว ในฐานะซาลูนสุดหรูระดับเรือธงของค่าย จัดเป็นรถยนต์รุ่นสูงสุดในบรรดา Toyota, Lexus และรุ่นอื่นๆ ภายในเครือเดียวกัน ตลอดจนระเวลาครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา Century ทำหน้าที่เป็นรถประจำตำแหน่งของบุคคลสำคัญ ตลอดจนรถที่ใช้สำหรับต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง อีกทั้งยังมีรุ่นพิเศษอย่าง Century Royal ฐานล้อยาว ประตู coach door ซึ่งเป็นพระราชพาหนะในสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น และยานพาหนะเพื่อการรับรองพระราชอาคันตุกะในสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีญี่ปุ่นอีกด้วย

Toyota Century รุ่นปัจจุบัน เจเนอเรชั่นที่ 3 เปิดตัวเมื่อเดือน ตุลาคม 2017 และจะยังคงทำตลาดต่อไปกับอีกหนึ่งเวอร์ชั่นที่เพิ่งจะมีการเปิดตัวออกสู่สายตาสาธารณชนในวันนี้ นั่นคือ Toyota Century SUV (อันที่จริงแล้ว Toyota ใช้ชื่อเรียกในงานเปิดตัวว่า New Century) สร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับความต้องการตลาดในยุคปัจจุบันที่มีความหลากหลายมากขึ้น

Toyota Century SUV ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานงานวิศวกรรมแพลตฟอร์ม TNGA ครอบด้วยเปลือกตัวถังภายนอกที่รักษาเอกลักษณ์ความเรียบง่ายของ Century ดั้งเดิมเอาไว้

ขนาดและมิติตัวถัง มีดังนี้ ยาว 5,205 มิลลิเมตร กว้าง 1,990 มิลลิเมตร สูง 1,805 มิลลิเมตร ฐานล้อ 2,950 มิลลิเมตร นำ้หนักตัวรถ 2,570 กิโลเมตร เปรียบเทียบขนาดตัวถังกับ Century Sedan (ยาว x กว้าง x สูง / ฐานล้อ)

Century SUV : 5,205 x 1,990 x 1,805 / 2,950 มิลลิเมตร Century Sedan : 5,335 x 1,930 x 1,505 / 3,090 มิลลิเมตร

ดีไซน์ภายนอกของ Century SUV ด้านหน้ามาพร้อมชุดไฟหน้า LED 2 ชั้น ทรง C-shaped คั่นกลางด้วยกระจังหน้า 3 มิติ ประดับด้วยโลโก้นกฟีนิกส์โลหะแกะสลักมือปิดทับด้วยกระจกใสราบเนียนไปกับลวดลายกระจัง เส้นสายด้านข้างยังคงความเรียบหรูด้วยเส้น Shoulder line ที่ลากจากด้านหน้ามาบรรจบกับชุดไฟท้ายแบบ LED 2 ชั้น พร้อมกับดีไซน์กระจกหน้าต่างแบบ 6-window ที่ล้อไปกับเส้นแนวหลังคา ไร้องค์ประกอบที่ซับซ้อนไร้ความจำเป็น

ล้ออัลลอยแบบมาตรฐาน มีขนาด 20 x 8 นิ้ว พ่นด้วยสี Hyperchrome Metallic พร้อมฝาครอบดุมล้อสีดำและสัญลักษณ์นกฟีนิกส์ สามารถเลือกอ็อพชั่นเสริมเป็นล้ออัลลอย ขนาด 22 x 9 นิ้ว ทำสีด้วยกระบวนการเคลือบด้วยฟิล์มบาง (sputtering process) ให้มาดดุเข้มขึ้น สเป็คอย่างเป็นทางการของ Cantury SUV ที่ถูกเผยแพร่ออกมาในขณะนี้ มีเพียงรุ่นปกติ Century V6 3.5 PHEV ราคา 25,000,000 เยน ทว่าในงานเปิดตัว มีการนำรุ่น GR มาเผยโฉมเป็นนำ้จิ้ม เผยให้เห็นความแตกต่างบริเวณ ชุดตกแต่งคาร์บอนแอโร่พาร์ทรอบคัน ล้อ Forged Aluminum สีดำ ชุดเบรก Performance ตลอดจนประตูด้านข้างที่เป็นบานสไลด์ด้วยไฟฟ้า คาดว่าจะถูกเพิ่มเป็นรุ่นย่อยทางเลือกสำหรับผู้บริหารผู้มีใจรักการขับในอนาคต ภายในห้องโดยสาร มีโทนสีให้เลือก 3 รูปแบบ ได้แก่ สีเบจ สีนำ้ตาลอ่อน และสีดำ ห้องโดยสารตอนหน้าได้รับการออกแบบให้ความหรูหรา มีการประดับด้วยไม้ซะพีลี (Sapele) ซึ่งเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติทางเสียงใกล้เคียงกับมะฮอกกานี อีกทั้งจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ให้ง่ายต่อการใช้งาน เห็นได้จากการติดตั้งหน้าจอกลางแบบกึ่งลอยตัว พร้อมแป้นควบคุมระบบสัมผัส แยกสวิตช์ควบคุมเครื่องปรับอากาศออกมาอยู่บริเวณใต้ช่องแอร์บนคอนโซลหน้า ในยามคำ่คืนสามารถเพิ่มสีสันภายในห้องโดยสารด้วยไฟสร้างบรรยกาศ หรือ Ambient Light ที่ปรับได้ถึง 64 เฉดสี ขณะที่ห้องโดยสารตอนหลังมาพร้อมเบาะนั่ง 2 ตำแหน่ง คั่นกลางด้วยคอนโซลกลางซึ่งเป็นแหล่งรวมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หน้าควบคุมแบบสัมผัส กล่องเก็บของ 2 ตำแหน่ง และช่องทำความเย็น เบาะนั่งทั้ง 2 ตำแหน่ง สามารถปรับเอนนอนได้จนเกือบราบเป็นระนาบเดียวกัน เสริมการทำงานด้วยระบบระบายความร้อนและระบบอุ่นเบาะ ตลอดจนระบบนวดไฟฟ้า ตามสไตล์ห้องโดยสารแบบ First Class

เพื่อความสบายสูงสุดของผู้โดยสารด้านหลัง บานประตูถูกออกแบบให้เปิดได้กว้าง 75 องศา เมื่อประตูออกมาจะมีบันไดด้านข้างที่เสริมด้วยแผ่นยางกันลื่นและประดับด้วยโลโก้นกฟีนิกส์กางออกมาต้อนรับ นอกจากนี้ เบาะนั่งผู้โดยสารด้านหน้ายังสามารถเลื่อนไปสุดขอบราง และโน้มพนักพิงศีรษะและหน้าจอความบันเทิงลง เพิ่มทัศนวิสัยการมองเห็นของผู้โดยสารด้านหลัง หรือหากต้องการความเป็นส่วนตัว ก็ยังมีฟังก์ชั่นปรับกระจกหน้าต่างทึบแสงด้วยระบบไฟฟ้าให้ใช้งานด้วย

อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ทำให้ Century SUV เกิดความองค์ประสงค์สูงสุดตามแนวทางหลักของการสร้างรถรุ่นนี้ นั่นคือ ห้องเก็บสัมภาระด้านหลังซึ่งถูกบุด้วยพรมคุณภาพดี ความจุโดยรวมอยู่ที่ 350 ลิตร ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการใช้งาน อาทิ ช่องชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้า Power outlet ปลั๊กไฟ 1,500 วัตต์ ไฟส่องสว่างแบบ LED และม่านบังสายตา ขุมพลังขับเคลื่อน เป็นเครื่องยนต์ 2GR-FXS เบนซิน V6 DOHC 24 วาล์ว 3.5 ลิตร 3,456 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก : 94.0 x 83.0 มิลลิเมตร จ่ายเชื้อเพลิงแบบ Direct-injection (D-4S) กำลังสูงสุด 262 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 335 นิวตันเมตร ที่ 4,600 รอบ/นาที ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าของระบบ Plug-in Hybrid พละกำลังรวมสูงสุด 412 แรงม้า (PS) จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ E-CVT ส่งกำลังลงล้อด้วยระบบขับเคลื่อน E-FOUR Advanced ปรับการกระจายกำลังหน้า – หลัง ได้อย่างอัตโนมัติ ตั้งแต่ 100 : 0 ไปจนถึง 20 : 80

ช่วงล่างด้านหน้า เป็นแบบอิสระ MacPherson Strut พร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังเป็นแบบอิสระ Multi-link พร้อมเหล็กกันโคลง เสริมการทำงานด้วยระบบปรับความหนืดชองโช๊คอัพด้วยไฟฟ้า เมื่อเปิดใช้งานโหมด Rear Comfort จะช่วยเพิ่มความนุ่มนวลของช่วงล่างหลังได้มากขึ้น

นอกจากนี้ เพื่อให้การบังคับเลี้ยวสำหรับรถ Crossover SUV ที่มีขนาดใหญ่เกิดความคล่องตัวมากขึ้น ทีมวิศวกรจึงติดตั้งระบบบังคับเลี้ยว 4 ล้อ (Dynamic Rear Steering) มาให้ใน Century SUV ด้วยเช่นกัน

อ้างอิง แก้

  1. Japanese Emperor's Limousine : Toyota Century Royal
  2. Toyota Century, Japanese sales brochure, circa 1990
  3. Toyota Century (second generation), Japanese sales brochure, #TB0018-0105 (2001)
  4. "Goryō new vehicles - the Imperial Household Management Division" (ภาษาญี่ปุ่น). 2006-07-12. สืบค้นเมื่อ 2009-11-14.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ goo-net-2018
  6. Toyota Century 2018 ซีดานหรูสไตล์คลาสสิกเตรียมเผยโฉมที่ญี่ปุ่น
  7. "トヨタ 取扱説明書 センチュリー" [TOYOTA INSTRUCTION MANUAL CENTURY] (ภาษาญี่ปุ่น). Toyota. สืบค้นเมื่อ 2023-09-05.
  8. 8.0 8.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ centurysuv
  9. 9.0 9.1 "Century Design Sketches". Toyota Motor Corporation Official Global Website. Toyota. 2023-09-06. สืบค้นเมื่อ 2023-09-06.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้