9°45′N 45°58′E / 9.750°N 45.967°E / 9.750; 45.967

สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์

Jamhuuriyadda Soomaaliland (โซมาลี)
ตราแผ่นดินของโซมาลีแลนด์
ตราแผ่นดิน
      ดินแดนที่ควบคุม       ดินแดนที่อ้างสิทธิ์แต่ไม่ได้ควบคุม
      ดินแดนที่ควบคุม
      ดินแดนที่อ้างสิทธิ์แต่ไม่ได้ควบคุม
ที่ตั้งของ โซมาลีแลนด์  (เขียวอ่อน) ในแอฟริกา  (ฟ้า)
ที่ตั้งของ โซมาลีแลนด์  (เขียวอ่อน)

ในแอฟริกา  (ฟ้า)

สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง; สหประชาชาติรับรองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโซมาเลียโดยนิตินัย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ฮาร์เกย์ซา
9°33′N 44°03′E / 9.550°N 44.050°E / 9.550; 44.050
ภาษาราชการโซมาลี
ภาษาที่สองอาหรับ,[1] อังกฤษ
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐในระบบประธานาธิบดี
Muse Bihi Abdi
Abdirahman Saylici
Abdirisak Khalif[2][3]
Adan Haji Ali
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
House of Elders
สภาผู้แทนราษฎร
ความเป็นอิสระที่ไม่ได้รับรอง 
ป. 2500 ปีก่อน ค.ศ.
1185
1750–1884
• การจัดตั้งบริติชโซมาลีแลนด์
1884
• รัฐโซมาลีแลนด์เป็นเอกราช
26 มิถุนายน 1960[1]
1 กรกฎาคม 1960[1]
18 พฤษภาคม 1991[1]
พื้นที่
• รวม
177,000[4] ตารางกิโลเมตร (68,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2020 ประมาณ
4,171,898[5] (อันดับที่ 113)
28.27[4] ต่อตารางกิโลเมตร (73.2 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2018 (ประมาณ)
• รวม
2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
675 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
สกุลเงินชิลลิงโซมาลีแลนด์
เขตเวลาUTC+3 (เวลาแอฟริกาตะวันออก)
รูปแบบวันที่ว/ด/ปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+252 (โซมาเลีย)

โซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Somaliland; โซมาลี: Soomaaliland; อาหรับ: صوماليلاند, أرض الصومال) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Republic of Somaliland; โซมาลี: Jamhuuriyadda Soomaaliland; อาหรับ: جمهورية صوماليلاند) เป็นรัฐโดยพฤตินัยในจะงอยแอฟริกา ซึ่งนานาชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโซมาเลีย[7][8][9] โซมาลีแลนด์ตั้งอยู่ที่จะงอยแอฟริกาซึ่งอยู่ทางใต้ของอ่าวเอเดน มีชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจิบูตี ทางใต้และตะวันตกติดกับเอธิโอเปีย และทางตะวันออกติดกับบริเวณที่ไม่มีข้อพิพาทของโซมาเลีย[10] ดินแดนที่อ้างสิทธิ์นี้มีพื้นที่ 176,120 ตารางกิโลเมตร (68,000 ตารางไมล์)[11] และพลเมืองประมาณ 5.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2021[12] ดินแดนนี้มีฮาร์เกย์ซาเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด รัฐบาลโซมาลีแลนด์ถือตนเองเป็นรัฐสืบทอดจากบริติชโซมาลีแลนด์ซึ่งเป็นรัฐโซมาลีแลนด์ที่เป็นเอกราชช่วงหนึ่งแล้วรวมเข้ากับดินแดนในภาวะทรัสตีโซมาเลีย (อดีตอิตาเลียนโซมาลีแลนด์) ใน ค.ศ. 1960 ก่อให้เกิดสาธารณรัฐโซมาลี[13]

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ดินแดนนี้ได้รับการบริหารจากรัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยที่ต้องการการยอมรับจากนานาชาติในฐานะรัฐบาลสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์[14][15][16][17] รัฐบาลกลางยังคงความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการกับรัฐบาลต่างชาติบางประเทศที่ส่งคณะผู้แทนไปที่ฮาร์เกย์ซา[18][19][20] เอธิโอเปียยังคงมีสำนักงานการค้าในภูมิภาคนี้[21] อย่างไรก็ตาม ไม่มีประเทศใดหรือองค์การนานาชาติใด ๆ ยอมรับคำประกาศเอกราชของโซมาลีแลนด์อย่างเป็นทางการ[18][22][23] ดินแดนนี้เป็นสมาชิกองค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทนซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีสมาชิกประกอบด้วยชนเผ่าพื้นเมือง ชนกลุ่มน้อย และดินแดนที่ถูกยึดครองหรือไม่ได้รับการรับรอง[24]

ประวัติศาสตร์ แก้

สิ่งประดิษฐ์มนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ ภาพเขียนที่ถ้ำ Laas Geel เมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่การเกษตร[25] ชาวมุสลิม ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในบริเวณนี้เมื่อศตวรรษที่ 7-10 และรัฐอาหรับเล็ก ๆ ก็ถูกก่อตั้งขึ้น ใน ค.ศ. 1548 อาณาจักรออตโตมัน ได้เข้ายึดครองบริเวณโซมาลีแลนด์ตะวันตกในปัจจุบัน หลังการลงนามสนธิสัญญาที่ต่อเนื่องกับการพิพากษาแล้วภาษาโซมาลี Sultans เช่น Mohamoud Ali ไชร์ของรัฐสุลต่าน อังกฤษก่อตั้งดินแดนนี้ เรียกว่า บริติชโซมาลีแลนด์[26]

การเมือง แก้

การเมืองปกครองภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ ปกครองแบบระบอบสาธารณรัฐ

พรรคการเมือง แก้

  • พรรคสหประชาธิปไตย
  • พรรคสันติภาพ สามัคคี และการพัฒนา
  • พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ แก้

โซมาลีแลนด์ ได้ทำการสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เช่น เอธิโอเปีย[27][28] จิบูตี[29] เบลเยียม[30] ฝรั่งเศส[31] กานา[32] เคนยา[33] แอฟริกาใต้[34] สวีเดน[35][36] สหราชอาณาจักร[37] และไต้หวัน เป็นต้น

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

 
แผนที่สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์

สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 แคว้น ได้แก่ เอาดัล, ซาฮิล, Maroodi Jeeh, Togdheer, ซะนากและซูล แคว้นเหล่านี้แบ่งออกเป็น 18 เขต

แคว้นและอำเภอ แก้

แคว้นด้านล่างนี้นำข้อมูลจาก Michael Walls: State Formation in Somaliland: Bringing Deliberation to Institutionalism ใน ค.ศ. 2011 Somaliland: The Strains of Success ใน ค.ศ. 2015 และ ActionAID องค์กรมนุษยชนที่ดำเนินกิจการในโซมาลีแลนด์[38][39][40]

แคว้น พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) เมืองหลัก เขต
 
เอาดัล 16,294 Borama Baki, Borama, Zeila, Lughaya
ซาฮิล 13,930 Berbera Sheikh, Berbera
Maroodi Jeeh 17,429 Hargeisa Gabiley, Hargeisa, Salahlay, Baligubadle
Togdheer 30,426 Burao Oodweyne, Buhoodle, Burao
ซะนาก 54,231 Erigavo Garadag, El Afweyn, Erigavo, Lasqoray
ซูล 39,240 Las Anod Aynabo, Las Anod, Taleh, Hudun

ภูมิศาสตร์ แก้

 
ภูเขาคัล มาดาว (Cal Madow)

อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโซมาเลีย ละติจูดที่ 08°00' – 11°30' ลองจิจูดที่ 42°30' – 49°00' มีชายฝั่งยาว 740 กิโลเมตร พื้นที่ 137,600 ตารางกิโลเมตร ฤดูกาลในโซมาลีแลนด์ ได้แก่ ฤดูแล้ง และ ฤดูฝน ภาคเหนือเป็นหุบเขา สูง 900-2,100 จากระดับน้ำทะเล

เศรษฐกิจ แก้

โซมาลีแลนด์ใช้เงินทั้งสกุลชิลลิงโซมาลีแลนด์ (อังกฤษ: Somaliland shilling, โซมาลี: Soomaaliland shilin) ซึ่งประเทศอื่นโดยส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับเงินสกุลนี้ และเงินสกุลชิลลิงโซมาเลีย ที่ได้รับการยอมรับนอกประเทศมากกว่า

ประชากร แก้

ประชากรในอดีต
ปีประชากร±%
1899246,000—    
1960650,000+164.2%
19972,000,000+207.7%
20063,500,000+75.0%
20134,500,000+28.6%
20215,700,000+26.7%
ข้อมูล: หลายแหล่ง[41][42][43][44]

ดินแดนนี้ไม่มีสำมะโนอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่สำมะโนโซมาเลียใน ค.ศ. 1975 โดยข้อมูลสำมะโน ค.ศ. 1986 ยังไม่ได้รับการเผยแพร่เป็นสาธารณสมบัติ[45] กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติจัดการประมาณการประชากรใน ค.ศ. 2014 โดยประมาณการว่ามีประชากรในโซมาลีแลนด์ที่ 3.5 ล้านคน[46] รัฐบาลโซมาลีแลนด์ระบุจำนวนประชากรโดยประมาณที่ 5.7 ล้านคนใน ค.ศ. 2021[12]

นอกจากนี้ยังมีผู้พลัดถิ่นจากโซมาลีแลนด์ประมาณ 600,000[47] ถึงล้านคน[48] ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในยุโรปตะวันตก ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ และประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง[47][48]

ศาสนา แก้

 
แผ่นกุรอาน

ชาวโซมาลีในโซมาลีแลนด์และที่อื่น ๆ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ส่วนใหญ่อยู่ในนิกายซุนนีและสำนักชาฟิอี[49]

วัฒนธรรม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 website, Somallilandlaw.com – an independent non-for-profit. "Somaliland Constitution". www.somalilandlaw.com. สืบค้นเมื่อ 2017-07-02.
  2. "Somaliland parliament elects Abdirisak khalif as new speaker". 3 August 2021.
  3. "Golaha Wakiilada Somaliland oo doortay guddoomiye".
  4. 4.0 4.1 4.2 "Republic of Somaliland - Country Profile 2021" (PDF). March 2021.
  5. Somaliland Central Statistics Department เก็บถาวร 2022-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, retrieved 2 July 2022.
  6. "The Somaliland Health and Demographic Survey 2020". Central Statistics Department, Ministry of Planning and National Development, Somaliland Government: 35.
  7. Mylonas, Harris. "De Facto States Unbound - PONARS Eurasia". ponarseurasia.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
  8. Ker-Lindsay, James (2012). The foreign policy of counter secession: preventing the recognition of contested states (1st ed.). Oxford University Press. pp. 58–59. ISBN 978-0-19-161197-1. OCLC 811620848.
  9. Samkharadze, Nikoloz (2021). Russia's recognition of the independence of Abkhazia and South Ossetia : analysis of a deviant case in Moscow's foreign policy behavior. Stephen Neil MacFarlane. Stuttgart. p. 83. ISBN 978-3-8382-1414-6. OCLC 1225067431.
  10. "Analysis: Time for jaw-jaw, not war-war in Somaliland". สืบค้นเมื่อ 28 March 2016.
  11. Lansford, Tom (2015-03-24). Political Handbook of the World 2015 (ภาษาอังกฤษ). CQ Press. ISBN 9781483371559.
  12. 12.0 12.1 "Republic of Somaliland: Country Profile 2021" (PDF). gollisuniversity.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
  13. The New Encyclopædia Britannica (2002), p. 835.
  14. "Country Profile". somalilandgov.com. Government of Somaliland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2013. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
  15. "De Facto Statehood? The Strange Case of Somaliland" (PDF). Journal of International Affairs. Yale University. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 April 2010. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  16. Schoiswohl, Michael (2004). Status and (Human Rights) Obligations of Non-Recognized De Facto Regimes in International Law. University of Michigan: Martinus Nijhoff Publishers. p. 351. ISBN 978-90-04-13655-7.
  17. "Regions and Territories: Somaliland". BBC News. 25 September 2009. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  18. 18.0 18.1 Lacey, Marc (5 June 2006). "The Signs Say Somaliland, but the World Says Somalia". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  19. "Chronology for Issaq in Somalia". Minorities at Risk Project. United Nations Refugee Agency. 2004. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  20. "Interview with Ambassador Brook Hailu Beshah". International Affairs Review. 8 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2009. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  21. "Trade office of The FDRE to Somaliland- Hargeysa". mfa.gov.et. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2012.
  22. "Reforming Somaliland's Judiciary" (PDF). UN.org. United Nations. 9 January 2006. สืบค้นเมื่อ 2 February 2010.
  23. "Arab League condemns Israel over Somaliland recognition". ethjournal.com. 7 มีนาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2010.
  24. "UNPO REPRESENTATION: Government of Somaliland". UNPO.org (ภาษาอังกฤษ). 2017-02-01. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  25. http://wysinger.homestead.com/punt.html
  26. Hugh Chisholm (ed.), The encyclopædia Britannica: a dictionary of arts, sciences, literature and general information, Volume 25, (At the University press: 1911), p.383.
  27. http://somalilandpress.com/9356/ethiopia-appoints-new-representative-to-somaliland-upgrades-the-office/
  28. http://www.afrol.com/articles/25633
  29. http://www.afrol.com/articles/23556
  30. http://www.afrol.com/articles/25633
  31. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-30.
  32. http://www.afrol.com/articles/25633
  33. http://somalilandpress.com/10344/kenyan-deputy-speaker-addresses-somaliland-parliament/
  34. http://www.afrol.com/articles/25633
  35. http://www.afrol.com/articles/25633
  36. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-10. สืบค้นเมื่อ 2012-06-30.
  37. http://www.publications.parliament.uk/pa/cm200304/cmhansrd/vo040204/halltext/40204h03.htm
  38. "Somaliland: Where we Work". Action Aid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2017. ActionAid International Somaliland (AAIS) supports poor and marginalised communities in three of six Somaliland administrative regions...
  39. State Formation in Somaliland: Bringing Deliberation to Institutionalism. Michael Walls, Planning Unit, UCL February 2011
  40. "Somaliland: The Strains of Success Crisis Group Africa Briefing N°113 Nairobi/Brussels, 5 October 2015" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
  41. Drake-Brockman, Ralph Evelyn (1912). British Somaliland (ภาษาอังกฤษ). Hurst & Blackett. p. 18.
  42. "Somaliland MDG Report, 2010" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
  43. Ambroso, Guido (August 2002). "Pastoral society and transnational refugees: population movements in Somaliland and eastern Ethiopia 1988 - 2000" (PDF). UNHCR.
  44. "Post-Conflict Education Development in Somaliland" (PDF).
  45. "POPULATION ESTIMATION SURVEY 2014". NBS. Somalia NSB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
  46. "UNFPA Population Estimate" (PDF). UNFPA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
  47. 47.0 47.1 "Member Profile Somaliland: Government of Somaliland" (PDF). Unrepresented Nations and Peoples Organization: 4. January 2017.
  48. 48.0 48.1 "When is a nation not a nation? Somaliland's dream of independence". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-07-20. สืบค้นเมื่อ 2022-03-04.
  49. Mohamed Diriye Abdullahi, Culture and Customs of Somalia, (Greenwood Press: 2001), p.1

แหล่งข้อมูลอื่น แก้