โจว ซื่อหมิง (จีนตัวย่อ: 邹市明; จีนตัวเต็ม: 鄒市明; พินอิน: Zōu Shìmíng; มักนิยมเรียกกันอย่างไม่ถูกต้องว่า ซู ชิหมิง;[1] เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 ที่เมืองซุนอี้ มณฑลกุ้ยโจว) เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาเป็นผู้ชนะรายการระดับโลกใน ค.ศ. 2005, 2007 และ 2011 รวมถึงได้รับเหรียญทองในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในรุ่นไลท์ฟลายเวท[2]

โจว ซื่อหมิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1981-05-18) 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 (42 ปี)
ซุนอี้ มณฑลกุ้ยโจว
ส่วนสูง164 เซนติเมตร (5 ฟุต 5 นิ้ว)​
น้ำหนัก49 กก. (110 lb)
กีฬา
กีฬามวยสากล
ประเภทไลท์ฟลายเวท
สโมสรกุ้ยโจว

ประวัติ แก้

แต่เดิมนั้น พ่อแม่ของโจว ซื่อหมิง ได้คาดหวังว่าลูกชายตนเองจะเป็นนักกีฬาวูซูที่ประสบความสำเร็จ แต่ โจว ซื่อหมิง กลับสนใจมวยสากลมากกว่า ซึ่งแม่ของเขาไม่อนุญาตให้ชกมวย จนในที่สุดโค้ชของ โจว ซื่อหมิง ได้มาขออนุญาตและอธิบายว่ามวยสากลสมัครเล่นเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศ หลังจากนั้น โจว ซื่อหมิงก็ได้ชกมวยในเวลาต่อมา[3]

โจวได้เข้าแข่งขันในเอเชียนเกมส์ 2006 และได้เหรียญทองโดยเป็นฝ่ายชนะ สุบรรณ พันโนน จากประเทศไทย ด้วยคะแนน 21-1 ในรอบชิงชนะเลิศ[4] ต่อมาใน พ.ศ. 2550 ได้เหรียญทองในการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก โดยเป็นฝ่ายชนะ ดาวิด ไอราเปเตียน ชาวรัสเซีย ด้วยคะแนน 23-6 ในรอบรองชนะเลิศและเป็นฝ่ายชนะ แฮร์รี ทานามอร์ จากประเทศฟิลิปปินส์ ในรอบชิงชนะเลิศ จากนั้น ได้เหรียญเงินจากการแข่งขันรายการ เอเชียนแชมเปี้ยนชิปเกมส์ ในอูลานบาตาร์ โดยแพ้พิวเรพดอร์จิน เซอร์แดมบานักชกชาวมองโกเลีย

ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่กรุงปักกิ่ง โจว ซื่อหมิงได้เป็นชาวจีนคนที่ 50 ที่ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นรุ่นไลท์ฟลายเวทโดยเป็นชนะพิวเรพดอร์จิน เซอร์แดมบา จากประเทศมองโกเลียในรอบชิงชนะเลิศซึ่งถูกตัดสินให้แพ้เนื่องจากบาดเจ็บที่ไหล่[5] นับเป็นเหรียญทองโอลิมปิกเหรียญแรกของประเทศจีนที่ได้มาจากมวยสากล

ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โจว ซื่อหมิงพบกับ แก้ว พงษ์ประยูร ในรอบชิงชนะเลิศ[6][7] โดยเป็นฝ่ายชนะแก้วไปได้ด้วยคะแนน 13-10[8] แต่ชัยชนะครั้งนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในประเทศไทย[9] จนมีภาพล้อเลียนตามสื่อต่าง ๆ[10] แม้ว่าไอบาจะรับรองว่าการตัดสินเกิดขึ้นโดยยุติธรรมแล้วก็ตาม[11]

ด้านชีวิตส่วนตัว โจว ซื่อหมิง สมรสกับ หราน อิ๋งอิ่ง ซึ่งเป็นอดีตนางแบบ และเป็นผู้ประกาศประจำช่องข่าวตลาดหุ้น ของสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี และมีลูกชาย 2 คน[12][13]

ผลการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นโอลิมปิก แก้

  ค.ศ. 2004 (เอเธนส์ ประเทศกรีซ)

  ค.ศ. 2008 (ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน)

  ค.ศ. 2012 (กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร)

ผลการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก แก้

  ค.ศ. 2003 (กรุงเทพ ประเทศไทย)

  ค.ศ. 2005 (เหมียนหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีน)

  ค.ศ. 2007 (เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา)

  ค.ศ. 2011 (เมืองบากู อาเซอร์ไบจาน)

มวยสากลอาชีพ แก้

หลังจากได้รับเหรียญทองโอลิมปิก 2012 แล้ว โจว ซื่อหมิง ได้เปลี่ยนมาชกมวยสากลอาชีพ โดยหวังที่จะเป็นแชมป์โลกคนแรกของประเทศจีน[1] (แต่แชมป์โลกมวยสากลอาชีพชาวจีนคนแรก คือ สฺยง เฉาจง ซึ่งเป็นแชมป์โลกในรุ่นมินิมัมเวท ของสภามวยโลก (WBC) โดยชนะคะแนนมาจากการชกชิงแชมป์ที่ว่างในปลายปี ค.ศ. 2012 ที่คุนหมิง) โดยโจว ซื่อหมิง ได้เซ็นสัญญาเป็นนักมวยในสังกัดท้อป แรงค์ โปรโมชั่น ของบ็อบ แอรัม โปรโมเตอร์ชาวอเมริกัน โดยเข้าค่ายฝึกซ้อมที่สหรัฐอเมริกา โดยมี เฟร็ดดี โรช เป็นเทรนเนอร์ ซึ่งการชกครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2013 ที่เดอะเวเนเชียนมาเก๊า[14] โดยที่ โจว ซื่อหมิง สามารถเอาชนะคะแนน 4 ยก อีเลียสซา วาเลนซูเอล่า นักมวยชาวเวเนซุเอลา อายุ 18 ปีไปได้[15]

ต่อมาได้เป็นแชมป์อินเตอร์เนชั่นแนลรุ่นฟลายเวท ขององค์กรมวยโลก (WBO) ได้แชมป์โดยชนะคะแนนไปแบบเอกฉันท์ 10 ยก ต่อ ลุยส์ เดอ ลา โลซา นักมวยชาวโคลัมเบีย[16] โดยการชกครั้งที่ 6 นั้น เป็นการเอาชนะคะแนน ขวัญพิชิต 13 เหรียญเอ็กซ์เพรส นักมวยชาวไทยไปได้ ในปลายปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นการชกเพื่อหาผู้ชนะเพื่อไปชิงแชมป์โลกตัวจริงต่อไป ถึงแม้โจว ซื่อหมิง จะเป็นฝ่ายชนะขวัญพิชิตไปได้อย่างขาดลอยก็ตาม และได้นับ 8 ถึง 4 นับ แต่ก็มีแผลบวมแตกจากการถูกศีรษะชนและถูกหมัดของขวัญพิชิต[17]

โจว ซื่อหมิง ได้ขึ้นชกชิงแชมป์โลกครั้งแรกในรุ่นฟลายเวท ของสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) กับ อำนาจ รื่นเริง เจ้าของตำแหน่งชาวไทย ซึ่งเคยเป็นคู่ปรับเก่ากันมาก่อนสมัยชกมวยสากลสมัครเล่น ที่เดอะเวเนเชียนมาเก๊า ในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2015 โดยเป็นรายการใหญ่ภายใต้ชื่อรายการว่า "โชว์ดาว์แอตแซนด์" (Showdown at Sands) ซึ่งทั้งคู่ในการชกมวยสากลสมัครเล่นเคยพบกันทั้งหมด 3 ครั้ง และโจว ซื่อหมิง เป็นฝ่ายเอาชนะอำนาจไปได้ 2 ครั้ง และแพ้ 1 ครั้ง[18] ผลการชกปรากฏว่า อำนาจเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้อย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อครบ 12 ยก ด้วยคะแนน 116-111 จากกรรมการทั้ง 3 ท่าน ถึงแม้ว่าโจว ซื่อหมิง จะได้นับ 8 อำนาจในช่วงยกที่ 2 ก็ตาม ทำให้ โจว ซื่อหมิง แพ้เป็นครั้งแรกในการชกมวยสากลอาชีพ ทำให้มีสถิติชก 7 ครั้ง ชนะ 6 ครั้ง แพ้ 1 ครั้ง เป็นการชนะน็อก 1 ครั้ง[19]

ต่อมาในปลายปี ค.ศ. 2016 โจว ซื่อหมิง ได้ชิงแชมป์โลกเป็นครั้งที่สอง โดยชิงในรุ่นฟลายเวท ขององค์กรมวยโลก (WBO) ที่ว่าง โดยพบกับขวัญพิชิต 13 เหรียญเอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นคู่ปรับเก่า ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา และคราวนี้เป็นฝ่ายเอาชนะคะแนนไปได้เป็นเอกฉันท์เมื่อครบ 12 ยก ด้วยคะแนน 120-107, 120-107 และ 119-108 เพิ่มสถิติชกอาชีพเป็น 10 ครั้งชนะ 9 ครั้ง และทำให้เป็นแชมป์โลกไปในครั้งนี้[20] แต่ในการป้องกันตำแหน่งครั้งแรกกับ โช คิมูระ ผู้ท้าชิงชาวญี่ปุ่น ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 ที่โอเรียลทอลสปอร์ตส์เซนเตอร์ ในนครเซี่ยงไฮ้ ปรากฏว่าเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอ​ในยกที่ 11 ทำให้เสียตำแหน่งแชมป์โลกไปทันที และเสียสถิติการชกเป็นการแพ้ครั้งที่ 2[21]

สถิติการชกมวยสากลอาชีพ แก้

ก่อนหน้า โจว ซื่อหมิง ถัดไป ชนะ 6 ครั้ง (ชนะน็อก 1 ครั้ง, กรรมการตัดสิน 5 ครั้ง), แพ้ 1 ครั้ง, เสมอ 0 ครั้ง[22]
ผล สถิติบันทึก คู่ชก การชนะ ยก วันที่ สถานที่ หมายเหตุ
แพ้ 6–1   อำนาจ รื่นเริง กรรมการตัดสิน 12 2015-03-07   เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า แพ้รายการรุ่นฟลายเวท ของสหพันธ์มวยนานาชาติ
ชนะ 6–0   ขวัญพิชิต 13 เหรียญเอ็กซ์เพรส กรรมการตัดสิน 12 2014-11-22   เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า ชนะรายการรุ่นฟลายเวท ขององค์กรมวยโลก
ชนะ 5–0   ลุยส์ เด ลา โรซา กรรมการตัดสิน 10 2014-07-19   เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า ชนะรายการรุ่นฟลายเวทนานาชาติ ขององค์กรมวยโลก
ชนะ 4–0   หยกทอง ก่อเกียรติยิม ชนะน็อก 7 (8) 2014-02-22   เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า
ชนะ 3–0   ควน ตอซกาโน กรรมการตัดสิน 6 2013-11-23   เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า
ชนะ 2–0   เคซัส ออร์เตกา กรรมการตัดสิน 6 2013-07-27   เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า
ชนะ 1–0   เอเลียซาร์ บาเลนซวยลา กรรมการตัดสิน 4 2013-04-06   เดอะเวเนเชียนมาเก๊า มาเก๊า เปิดตัวในระดับอาชีพ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 มวยสยามรายวัน. ปีที่ 20 ฉบับที่ 6926. วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555. หน้า 7
  2. "Zou and Campbell hit the heights". August 11, 2012.[ลิงก์เสีย]
  3. ซู ชิ หมิง จิ้งจอกจีนอันตราย. มติชน. ปีที่ 35 ฉบับที่ 12574. วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555. ISSN 1686-8188. หน้า 32
  4. Light flyweight final results
  5. Leslie Hook (June 9, 2012). "The Olympians: Zou Shiming, China". Financial Times Magazine.
  6. ตามลุ้น! ค่ำนี้เชียร์ "แก้ว พงษ์ประยูร" ล้มนักมวยรัสเซีย-ชนะได้เข้าชิงเหรียญทอง
  7. ""แก้ว" ล้มหมีชิงทอง "ซู ชิง หมิง" เช้ามืดวันแม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-13. สืบค้นเมื่อ 2012-08-12.
  8. Olympics boxing: China's Zou Shiming retains light flyweight title จากบีบีซี (อังกฤษ)
  9. "Thai boxer Kaew Pongprayoon robbed of Olympic gold medal by bizarre officiating". Combat Asia. August 12, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ August 12, 2012.
  10. เผยภาพล้อเลียนสุดฮาของ"ซู ซิ หมิง"หลังต่อยชนะ "แก้ว พงษ์ประยูร"
  11. ""ไอบา" ตอบข้อความ MGR SPORT ยัน "แก้ว" แพ้ยุติธรรม". ผู้จัดการ. 12 สิงหาคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-14. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. 'โจวซื่อหมิง'นักชกบัญชีดำในใจไทย
  13. ‘ซู ชิหมิง′ ชีวิตที่ถูกกำหนด. ศุภชัย วุฒิชูวงศ์. คมชัดลึก. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3953. วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16851390. หน้า 3
  14. 'ซูชิหมิง' เซ็น 'ท็อปแรงก์' จ่อชกอาชีพไฟต์แรก เม.ย. จากไทยรัฐ
  15. 'โรช' ปลื้ม 'ซู ชิหมิง' ประเดิมสวยชกอาชีพ ยกว่าที่แชมป์โลก จากไทยรัฐ
  16. "Champions of Gold Results: Rigondeaux, Ramirez, and Zou Shiming Win Easily". boxinginsider.com. 19 July 2014. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  17. "ชลธารโดนยำชวดแชมป์, ขวัญพิชิต4นับพ่ายหมิง". สยามสปอร์ต. 23 November 2014. สืบค้นเมื่อ 23 November 2014.
  18. หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, 'อำนาจ' กร้าวดับ 'ซูชิหมิง' . เดลินิวส์ฉบับที่ 23,812: วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 2 ปีมะเมีย
  19. หน้า 16 ต่อ 14 กีฬา, 'อำนาจ'สุดเจ๋งดับซ่า'ซูชิหมิง' . เดลินิวส์ฉบับที่ 23,887: วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558 แรม 4 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย
  20. "ซู ชิหมิง ต่อยชนะ ขวัญพิชิต คว้าแชมป์โลก WBO". เรื่องเล่าเช้านี้. 2016-11-7. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  21. "โถๆๆ ชมคลิป "ซู ซิหมิง" แพ้หมดท่าแก่กำปั้นยุ่น เสียเข็มขัดส่อยุติชกอาชีพ". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-07-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
  22. "Zou Shiming - Boxer". Boxrec.com. 1981-03-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 2014-05-08.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้