โครมาติน เป็นโครงสร้างย่อยของนิวเคลียส โครโมโซม 1 แท่งประกอบด้วยโครมาตินหรือโครมาทิด (Chromatid) ที่เหมือนกันซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองขึ้นมาโดยโครมาตินหรือโครมาทิดทั้งสองจะติดกันตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)”เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ (DNA) พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” [มาจากคำว่า Nucleic + Protein ซึ่งดีเอ็นเอ(DNA)เป็นพวก Nucleic acid ส่วนฮิสโตน(histone) เป็นโปรตีน] นอกจากนี้ในโครมาทิน(chromatin)ยังประกอบด้วยโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน (nonhistone)อีกด้วย โดยโครมาทิน(chromatin) จะพบในส่วนของนิวเคลียส เมื่อทำการย้อมสีเซลล์ของเซลล์แบบทั่วๆไป ในส่วนของโครมาทิน(chromatin) จะสามารถติดสีได้ดีและมีรูปร่างคล้ายเส้นใยตาข่าย (chromatin network) ละเอียดๆ จึงทำให้เห็นส่วนของนิวเคลียสได้ชัดเจน โดยโครมาทิน(chromatin)มักพบได้ในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase)

Fig. 1: The major structures in DNA compaction; DNA, the nucleosome, the 10nm "beads-on-a-string" fibre, the 30nm fibre and the metaphase chromosome.
    ในการย้อมสีของ โครมาทิน(chromatin) จะติดสีที่มีความเข้มต่างกัน คือในส่วนที่ติดสีเข้มจะเป็นส่วนที่ไม่มียีน(gene)อยู่เลย หรือมีก็น้อยมาก เรียกว่า เฮเทอโรโครมาทิน (heterochromatin) ส่วนที่ย้อมติดสีจาง เรียกว่า ยูโครมาทิน (euchromatin) ซึ่งเป็นส่วนของตำแหน่งของยีน(gene)ในขณะที่เซลล์กำลังมีการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งถ้าโครมาทิน(chromatin) มีการขดตัวสั้นจนมีลักษณะเป็นแท่งจะเรียกว่า โครโมโซม(chromosome)และเมื่อโครโมโซม(chromosome)ได้จำลองตัวเองจนมีลักษณะเป็นเส้นคู่ จะเรียกว่า โครมาทิด หรือ โครมาติด (chromatid)