แหลมพรหมเทพ

แหลมบนเกาะภูเก็ต ประเทศไทย

แหลมพรหมเทพ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ห่างจากหาดราไวย์ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของจังหวัดภูเก็ต มีทัศนียภาพที่สวยงาม และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินที่ได้รับความนิยม เป็นที่ตั้งของประภาคารกาญจนาภิเษก สุดปลายของแหลมพรหมเทพ มีชื่อว่าแหลมเจ้า บริเวณตัวแหลมซึ่งยื่นออกไปในทะเล มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วยต้นตาลที่ขึ้นอยู่กลุ่มใหญ่

แหลมพรหมเทพ

แหลมพรหมเทพ ถูกจัดเป็นหนึ่งในโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จุดเด่นคือ "ชมพระอาทิตย์ตกทะเล สวยที่สุดในประเทศไทย"[1]

ประภาคารกาญจนาภิเษก แก้

ประภาคารกาญจนาภิเษก
แหลมพรหมเทพ
 
 
ที่ตั้งตำบลราไวย์, ประเทศไทย  
พิกัด7°45′42.99″N 98°18′19.86″E / 7.7619417°N 98.3055167°E / 7.7619417; 98.3055167
หอคอย
การก่อสร้างคอนกรีต
ความสูง19 เมตร (62 ฟุต)
รูปร่างหอคอยสีขาว
แสงไฟ
ความสูงโฟกัส95 เมตร
พิสัย22 ไมล์ทะเล (41 กิโลเมตร)
ลักษณะวับเดียว สีขาว ทุก ๆ 9 วินาที
สว่าง 0.21 วินาที มืด 8.79 วินาที

ประภาคารกาญจนาภิเษก เป็นประภาคารที่แหลมพรหมเทพ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สร้างขึ้นโดยกองทัพเรือและประชาชนชาวภูเก็ต เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 นอกเหนือจากประโยชน์ในการเดินเรือแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูเก็ตด้วย

ข้อมูลจากบัญชีทำเนียบไฟของกองทัพเรือ ประภาคารกาญจาภิเษกตั้งอยู่ในพื้นที่ของแหลมพระเจ้า[2] (คาดว่าเป็นอีกชื่อของแหลมพรมเทพ) โดยสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2539 ลักษณะไฟของประภาคาร เป็นไฟวับเดี่ยวสีขาว ทุก ๆ 9 วินาที โดยเป็นช่วงสว่าง 0.21 วินาที และช่วงมืด 8.79 วินาที ตัวหอสร้างจากคอนกรีตรูปทรงหอคอยสีขาว ตัวโคมไฟสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 95 เมตร มีระยะมองเห็นได้ไกล 22 ไมล์ทะเล (ประมาณ 41 กิโลเมตร)[2]

อ้างอิง แก้

  1. "แหลมพรหมเทพ, ภูเก็ต". thai-tour.com. 10 April 2007. สืบค้นเมื่อ 1 February 2015.
  2. 2.0 2.1 ทำเนียบไฟและทุ่นในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2556 (PDF). กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 7°45′34″N 98°18′14″E / 7.759477°N 98.303938°E / 7.759477; 98.303938

ประภาคารกาญจนาภิเษก