แวมาฮาดี แวดาโอะ

นายแพทย์ แวมาฮาดี แวดาโอะ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ หมอแว (16 มิถุนายน พ.ศ. 2505 – [1]) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายสากล ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549 และได้รับการแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549

นายแพทย์ แวมาฮาดี แวดาโอะ
รองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)
หมู่บ้านยะกัง อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองพรรคเพื่อแผ่นดิน
พรรคมาตุภูมิ
พรรคแทนคุณแผ่นดิน
พรรคพลังประชารัฐ

ประวัติ แก้

นายแพทย์ แวมาฮาดี เป็นชาวจังหวัดนราธิวาส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2529[2] เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนลาออกไปเปิดคลินิก และขยายกิจการเป็นโรงพยาบาล และเป็นทำงานพัฒนาชุมชนร่วมกับองค์กรรัฐและอาสาสมัครจากชุมชนต่าง ๆ

นายแพทย์ แวมาฮาดีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมที่บ้านพัก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เนื่องจากถูกซัดทอดจากนายอาราฟิน บิน อาลี หรือบังริดวน ชาวสิงคโปร์ สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายเจมาห์ อิสลามิยาห์ (เจไอ) ว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกที่ร่วมวางแผนก่อวินาศกรรมระเบิดสถานทูต 5 แห่งในกรุงเทพ ในช่วงการประชุมเอเปค[3] นายแพทย์แวมาฮาดีถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นเวลาถึง 2 ปี จากนั้นก็ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และพนักงานอัยการไม่ยื่นอุทธรณ์

หลังได้รับอิสรภาพ นายแพทย์ แวมาฮาดีลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 และเมื่อวุฒิสภาสิ้นสภาพลงหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

นายแพทย์ แวมาฮาดี สมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เป็นหัวหน้ากลุ่มสัจจานุภาพ ต่อมาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคมาตุภูมิ[4] แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคแทนคุณแผ่นดิน โดยลงรับสมัครแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1[5] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง (ได้คะแนน 57,801 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.22) ต่อมาเขาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดนราธิวาส ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.
  2. ชีวิตพลิกผัน-ว่าที่ส.ว. แวมาฮาดี แวดาโอะจากจำเลยคดีเจไอสู่สภาสูง เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คอลัมน์ ทะลุคนทะลวงข่าว, หนังสือพิมพ์ข่าวสด
  3. พลิกแฟ้มคดีดัง : ปฏิบัติการนอกกฎหมาย...อุ้ม 'หมอแว' หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, 27 ธันวาคม 2551
  4. "พผ.ประชุมเช็คส.ส.เนื้อแท้ คุยมี 18 เสียงพร้อมหนุนรัฐบาลทำคลอดมากับมือ เผย 8 คนซบภท. 3 ร่วมมภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  5. 3 จังหวัดใต้ 11 ที่นั่ง 7พรรคชิงชัย จากเดลินิวส์
  6. ""หมอแว" ลงพื้นที่นราธิวาสหาเสียง เปิดใจลงเล่นการเมืองเพราะลุงป้อม". mgronline.com. 2023-04-04.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น แก้