แร็กนาการ์ด[b] เป็นเกมต่อสู้อาร์เคด 2 มิติที่พัฒนาโดยซอรัสและซิสเตมวิชันสำหรับอาร์เคดของนีโอจีโอ, นีโอจีโอ ซีดี และเซกา แซตเทิร์น ซึ่งตัวละครในเกมล้วนมีพื้นฐานมาจากเทพเจ้าชินโต[1]

แร็กนาการ์ด
ผู้พัฒนาซอรัส[a]
ผู้จัดจำหน่าย
  • ซอรัส (นีโอจีโอ ซีดี)
กำกับเรียวมิ โมโมตะ
อำนวยการผลิตโนบูยูกิ ทานากะ
ออกแบบฮิโรอากิ ฟูจิโมโตะ
โปรแกรมเมอร์ฮิเดกิ ซูซูกิ
ศิลปินเคียวซูเกะ โมโตยะ
โมโตฮิโระ โทชิโระ
เรียวมิ โมโมตะ
แต่งเพลงฮิเดกิ ซูซูกิ
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
13 มิถุนายน ค.ศ. 1996
แนวต่อสู้
รูปแบบ
ระบบอาร์เคดนีโอจีโอ เอ็มวีเอส

รูปแบบการเล่น แก้

 
ภาพจับหน้าจอรูปแบบการเล่นที่แสดงแมตช์ระหว่างซูซาโนะกับเบ็นเต็ง

แร็กนาการ์ดเป็นเกมต่อสู้ที่ใช้สไปรต์ที่เรนเดอร์ไว้ล่วงหน้าคล้ายกับเกมคิลเลอร์อินสติงต์ของบริษัทแรร์แต่มีกลไกรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกัน เกมดังกล่าวมีระบบการต่อสู้ทางอากาศซึ่งทำได้โดยการดันก้านควบคุมขึ้นและกดปุ่มต่อยเบาและเตะแบาพร้อมกันเพื่อให้สามารถทำคอมโบกลางอากาศและแดชกลางอากาศ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถชาร์จเกจพลัง (ขึ้นอยู่กับสี่ธาตุของน้ำ, ลม, ไฟ และสายฟ้า แม้ว่าตัวละครแต่ละตัวจะใช้เพียงสองในสี่ธาตุเท่านั้น) ซึ่งทำให้สามารถใช้สุดยอดท่าไม้ตาย บรรดาสุดยอดท่าไม้ตายสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อชีวิตของผู้เล่นเป็นสีแดงกะพริบ ซึ่งคล้ายกับซีรีส์เดอะคิงออฟไฟเทอส์

พอร์ตและรุ่นที่เกี่ยวข้อง แก้

เกมแร็กนาการ์ดได้รับการพอร์ตไปยังนีโอจีโอ เออีเอส ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นเวอร์ชันเครื่องเล่นภายในบ้านของนีโอจีโอ เอ็มวีเอส เวอร์ชันนี้มีคันทินิวแบบจำกัดและมีการตั้งค่าความยากต่างกัน โดยเวอร์ชันนี้เผยแพร่อีกครั้งผ่านเวอร์ชวลคอนโซลของวีเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น แร็กนาการ์ดยังได้รับการพอร์ตไปยังนีโอจีโอ ซีดี เฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เวอร์ชันนี้มีฉากเปิดที่ได้รับการปรับปรุง, ดนตรีประกอบที่ใสขึ้นเล็กน้อย และการปรับแต่งอื่น ๆ เล็กน้อย แร็กนาการ์ดเวอร์ชันนี้ได้รับการพอร์ตไปยังเซกา แซตเทิร์น ในภายหลัง เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน เวอร์ชันนี้มีโหมดใหม่และการปรับแต่งการควบคุมบางส่วน ในขณะที่กราฟิกรวมถึงรูปแบบการเล่นของเกมบางส่วนได้รับการปรับปรุงและปรับเปลี่ยน ต่างจากเวอร์ชันอาร์เคดและนีโอจีโอ ซึ่งผู้เล่นสามารถเล่นเป็นหนึ่งในบอสได้โดยการป้อนสูตรโกงเกม โดยเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี และเซกา แซตเทิร์น อนุญาตให้ผู้เล่นเล่นเป็นบอสได้โดยเข้าสู่โหมดเวอร์ซัสเท่านั้น

การตอบรับ แก้

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ออลเกม      (อาร์เคด)[2]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี4.675/10 (นีโอจีโอ)[3]
แฟมิซือ63/100 (เซกา แซตเทิร์น)[4]

เกมแร็กนาการ์ดได้รับการตอบรับที่หลากหลายจากนักวิจารณ์นับตั้งแต่เปิดตัว[4][7][8]

จากนักวิจารณ์สี่คนของนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี คริสปิน บอยเยอร์ มีปฏิกิริยาเงียบสงบ แต่อีกสามคนวิจารณ์อย่างรุนแรงต่อเกมดังกล่าว โดยชอว์น สมิธ และซูชิ-เอกซ์ พบว่ามันน่าเบื่อเนื่องจากการเคลื่อนไหวที่ขาด ๆ หาย ๆ ของตัวละคร และหน่วงเวลาระหว่างการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง รวมทั้งแดน ชู และซูชิ-เอกซ์ ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ว่าแอนิเมชันก่อนการต่อสู้จะน่าประทับใจ แต่กราฟิกก็ไม่โดดเด่นเมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น[3] นอกจากนี้ รอเบิร์ต แบนเนอร์ต จากแมน!เอซี ชมเชยการออกแบบตัวละคร แต่โดยรวมแล้วรู้สึกผสมปนเปต่อแร็กนาการ์ดเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของเซกา แซตเทิร์น ในแง่ของการออกแบบหลาย ๆ ด้าน[5] ส่วนคริสตอฟ เดลปิแอร์ จากเพลเยอร์วันได้เปรียบเทียบลักษณะภาพของเกมนี้กับคิลเลอร์อินสติงต์[6]

และในบทวิจารณ์ย้อนหลังสำหรับออลเกมนั้น ไคล์ ไนต์ รู้สึกแบบผสมในเรื่องของการนำเสนอด้วยภาพและการออกแบบเสียงที่แสดงผลไว้ล่วงหน้า แต่ติเตียนถึงปัญหาความสมดุลของตัวละครและรูปแบบการเล่น[2]

หมายเหตุ แก้

  1. งานเพิ่มเติมโดยซิสเตมวิชัน
  2. มีชื่อเรียกอีกอย่างคือญี่ปุ่น: ชิโนเค็งโรมาจิ神凰拳ทับศัพท์Shin'ōken; การแปลตามตัวอักษร "หมัดเทพฟีนิกซ์" หรือ "หมัดราชันย์ของแท้" ในประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิง แก้

  1. "Maximum News: 3D Rendering with a 2D Fighting Game? Enter Shinoken". Maximum: The Video Game Magazine. No. 5. Emap International Limited. April 1996. p. 123.
  2. 2.0 2.1 Knight, Kyle (1998). "Ragnagard [Japanese] (Arcade) - Review". AllGame. All Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  3. 3.0 3.1 Smith, Shawn; Hsu, Dan; Boyer, Crispin; Sushi-X (September 1996). "Review Crew: Neo•Geo - Ragnagard (SNK)". Electronic Gaming Monthly. No. 86. Ziff Davis. p. 28.
  4. 4.0 4.1 "NEW GAMES CROSS REVIEW: 神凰拳". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 434. ASCII Corporation. April 11, 1997. p. 31. สืบค้นเมื่อ 2020-05-22.
  5. 5.0 5.1 Bannert, Robert (June 1997). "Overseas – Sega Saturn: Ragnagard". MAN!AC (ภาษาเยอรมัน). No. 44. Cybermedia. p. 63.
  6. 6.0 6.1 Delpierre, Christophe (October 1996). "Vite Vu – Neo Geo CD: Ragnagard". Player One (ภาษาฝรั่งเศส). No. 68. Média Système Édition. p. 118.
  7. "Sega Saturn Soft Review - 神凰拳". Sega Saturn Magazine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 45. SoftBank Creative. March 28, 1997. p. 152.
  8. "NF編集部にまる - ネオジオゲームㇱインレビュー: 神凰拳". Neo Geo Freak (ภาษาญี่ปุ่น). No. 25. Geibunsha. June 1997. pp. 124–128.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้