แม่น้ำเชินเจิ้น

แม่น้ำในประเทศจีน

แม่น้ำเชินเจิ้น, ลำน้ำเชินเจิ้น หรือ แม่น้ำซั้มจัน (ในสำเนียงกวางตุ้ง) (จีน: 深圳河; พินอิน: Shēnzhèn Hé; ยฺหวิดเพ็ง: sam1 zan3 ho4; อังกฤษ: Sham Chun River, Shum Chum River, หรือ Shenzhen River) เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ร่วมกับแม่น้ำชาโถวเจี่ยว (Sha Tau Kok River), อ่าวเมิร์ส (Mirs Bay) และอ่าวลึก (Deep Bay; หรือเรียกอ่าวเชินเจิ้น)

แม่น้ำเชินเจิ้น
แม่น้ำซั้มจัน
แม่น้ำเชินเจิ้นเป็นแม่น้ำเขตแดนระหว่างฮ่องกงและเชินเจิ้น (ซ้ายในภาพ) และถนนตรงกลางคือถนนเชินเจิ้นปินเหอ
ชื่อท้องถิ่น深圳河
ที่ตั้ง
ประเทศธงของประเทศจีน จีน
มณฑลกวางตุ้ง และ ธงของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ฮ่องกง
นครระดับกิ่งมณฑลเชินเจิ้น
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำเขาอู่ถง
 • ตำแหน่งระหว่างเขตหลัวหูและเขตหยานเถียน ในเชินเจิ้น
ปากน้ำอ่าวเชินเจิ้น
 • ระดับความสูง
0 เมตร
ความยาว37 km (23 mi)
พื้นที่ลุ่มน้ำ312.5 ตารางกิโลเมตร (120.7 ตารางไมล์)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำเหลียนถัง (蓮塘河), แม่น้ำอู๋ถง (梧桐河), แม่น้ำผิงหยวน (平原河)
 • ขวาแม่น้ำชาวาน (沙灣河), แม่น้ำปู้จี๋ (布吉河), แม่น้ำฝูเถียน (福田河), แม่น้ำซินโจว (新洲河), แม่น้ำหฺวางกั่ง (皇崗河)
แม่น้ำเชินเจิ้นช่วงที่แบ่งเขต เมืองเชินเจิ้นและ เขตเหยิ่นหล่อง ของฮ่องกง
แม่น้ำเชินเจิ้น
ภาษาจีน深圳河
ความหมายตามตัวอักษรแม่น้ำเชินเจิ้น

แม่น้ำเชินเจิ้นเป็นส่วนหนึ่งของการจำกัดอาณาเขตการเช่า ‘เขตดินแดนใหม่’ (เขตนิวเทร์ริทอรีส์) ซึ่งสหราชอาณาจักรได้บีบบังคับให้จีนทำสัญญา ‘เช่าซื้อ’ พื้นที่ทางตอนใต้ของลำน้ำเชินเจิ้นใน ค.ศ. 1898 (เรียก อนุสัญญาว่าด้วยการขยายดินแดนฮ่องกง (中英展拓香港界址专条) หรือที่รู้จักในชื่ออนุสัญญาปักกิ่งครั้งที่สอง)

ภูมิประเทศ แก้

แม่น้ำเชินเจิ้นแบ่งเขตเหยิ่นหล่อง เขตเหนือ ของฮ่องกง และเมืองเชินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง มีแหล่งต้นน้ำอยู่ที่เขาอู่ถง ในเชินเจิ้นแม่น้ำสาขา ได้แก่ แม่น้ำเหลียนถัง (蓮塘河), แม่น้ำอู๋ถง (梧桐河), แม่น้ำผิงหยวน (平原河), แม่น้ำชาวาน (沙灣河), แม่น้ำปู้จี๋ (布吉河), แม่น้ำฝูเถียน (福田河), แม่น้ำซินโจว (新洲河) และแม่น้ำหฺวางกั่ง (皇崗河) น้ำล้นระบายจากอ่างเก็บน้ำเสินเจิ้นไหลลงสู่แม่น้ำนี้เช่นกัน ปากแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวเชินเจิ้น (Shenzhen Bay หรือเรียก Deep Bay และ Hau Hoi Wan) ที่ชะวากทะเลของแม่น้ำมีพื้นที่ชุ่มน้ำอนุรักษ์หมี่ผู่ (米埔自然护理区)[1][2][3]

ประวัติ แก้

แม่น้ำเชินเจิ้นมีชื่อเดิมว่า ลำน้ำหมิง (明溪) และได้เปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันตั้งแต่ "อนุสัญญาว่าด้วยการขยายดินแดนฮ่องกง" ใน ค.ศ. 1898 ซึ่งเป็นแม่น้ำเขตแดนของการเช่าฮ่องกงของอังกฤษ ในระยะเวลา 99 ปี (เขตนิวเทร์ริทอรีส์) และยังเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในฮ่องกงอีกด้วย ในช่วงสงครามเย็น ผู้อยู่อาศัยบนแผ่นดินใหญ่จำนวนมากหนีไปฮ่องกงผ่านทางแม่น้ำเชินเจิ้น ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า "กำแพงเบอร์ลินแห่งประเทศจีน"[4][5]

ปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 โค้งน้ำลั่วหม่าโจว (Lok Ma Chau Loop) เป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่ ต่อมาเมื่อมีความพยายามในการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและปัญหามลพิษด้วยงานวิศวกรรมชลประทาน เพื่อปรับแม่น้ำแม่น้ำเชินเจิ้นในช่วงนี้ที่คดเคี้ยวให้ตรง ทำให้พื้นที่ส่วนนี้เป็นข้อพิพาทในการครองที่ดิน[6] เนื่องเขตแดนทางธรรมชาติเคลื่อนไปทางเหนือจากลำน้ำที่ตัดใหม่ ด้วยข้อยุติจากการพัฒนาข้อตกลงของอุทยานนวัตกรรมและเทคโนโลยีฮ่องกง-เชินเจิ้น (จีน: 港深创新及科技园; Hong Kong-Shenzhen Innovation and Technology Park) รัฐบาลจีนได้โอนที่ราบภายในโค้งน้ำลั่วหม่าโจวให้แก่ฮ่องกงเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2017[7][8] ซึ่งจะเพิ่มพื้นที่เขตสำนักงาน 1.2 ล้านตารางเมตรสำหรับบริษัทในฮ่องกงและเชินเจิ้นอุทยานเทคโนโลยีนี้คาดว่าจะบริหารจัดการโดยองค์การอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง (Hong Kong Science and Technology Parks Corporation)[9]

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 深圳河流概况 (ภาษาจีนตัวย่อ). 深圳水务局. 26 มีนาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มิถุนายน 2015.
  2. 深圳河治理工程. 渠務署. 7 สิงหาคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2022.
  3. 丁时照 (6 ตุลาคม 2008). 深圳河:弯弯南流向大海. 深圳商报 (ภาษาจีนตัวย่อ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2022.
  4. "任仲夷力挽"中國柏林墻"不倒/余以為" (ภาษาจีน). 博訊新聞網. 22 พฤศจิกายน 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2019.
  5. "20190619_深圳經濟特區是被大逃港逼出來的?中國柏林牆的故事,逃港的大陸人和無路可逃的香港人" (ภาษาจีนตัวเต็ม). 江峰時刻. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2019.
  6. "HK, Shenzhen locked in territorial dispute over Lok Ma Chau Loop". EJ Insight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 14 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2017.
  7. "Deal signed for HK-SZ tech park". Hong Kong's Information Services Department. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2017.
  8. "Possible Future Land Uses For The Lok Ma Chau Loop" (ภาษาอังกฤษ). Planning Department, The Government of the Hong Kong Special Administration Region. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2022.
  9. "Hong Kong and Shenzhen settle border dispute as they join hands to develop technology park". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2017.