แมฮ์มูดแห่งแฆซนี

แอบู แอล-กอซีม แมฮ์มูด บิน แซบูกตีกีน (เปอร์เซีย: ابوالقاسم محمود بن سبکتگین, อักษรโรมัน: Abu al-Qāṣim Maḥmūd ibn Sabuktigīn; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 971 – 30 เมษายน ค.ศ. 1030) ส่วนใหญ่รู้จักในพระนาม แมฮ์มูดแห่งแฆซนี หรือ แมฮ์มูด แฆซแนวี (محمود غزنوی)[2] เป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิแฆซแนวีดที่ครองราชย์ใน ค.ศ. 998 ถึง 1030 ในรัชสมัยของพระองค์และข้อมูลสมัยกลาง พระองค์มักเป็นที่รู้จักด้วยพระนามฉายา ยะมีนุดเดาละฮ์ (یمین‌ الدوله, แปลว่า พระหัตถ์ขวาแห่งรัฐ) ในช่วงที่สวรรคต อาณาจักรของพระองค์กลายเป็นจักรวรรดิทหารกว้างขวางที่มีพื้นที่จากอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือถึงปัญจาบในอนุทวีปอินเดีย ฆวอแรซม์ในทรานโซเซียนา และแมกรอน

แมฮ์มูดแห่งแฆซนี
แมฮ์มูดแห่งแฆซนี (กลาง) ทรงรับเสื้อคลุมแห่งเกียรติยศจากเคาะลีฟะฮ์ อัลกอดิร จุลจิตรกรรมใน ญาเมียะอ์ อัตตะวารีค โดยเราะชีด-อัล-ดิน-ฮามาดานี
สุลต่านแห่งจักรวรรดิแฆซแนวีด
ครองราชย์
  • 1 มีนาคม ค.ศ. 998 – 30 เมษายน ค.ศ. 1030
ก่อนหน้าอีสมออีลแห่งแฆซนี
ถัดไปมูแฮมแมดแห่งแฆซนี
ประสูติ2 พฤศจิกายน ค.ศ. 971
กัซนี ซอบูลิสถาน จักรวรรดิซอมอนีด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน)
สวรรคต30 เมษายน ค.ศ. 1030(1030-04-30) (58 ปี)
กัซนี ซอบูลิสถาน จักรวรรดิแฆซแนวีด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน)
ฝังพระศพมัสยิดและสุสานสุลต่านแมฮ์มูด แฆซแนวี จังหวัดกัซนี ประเทศอัฟกานิสถาน [1]
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
ยะมีนุดเดาละฮ์ แอมีน แอล-มีลแลฮ์ แอบูล-กอซีม แมฮ์มูด บิน แซบูกตีกีน
เปอร์เซียیمین‌ الدوله امین‌الملة ابوالقاسم محمود بن سبکتگین
ราชวงศ์ราชวงศ์แกซแนวีด
พระราชบิดาแซบูกตีกีน
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี (ชาฟิอี)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ประจำการป. 998 – 1030
การยุทธ์

แมฮ์มูดยังคงใช้ระบบราชการ การเมือง และวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลเปอร์เซียอย่างมาก[3]ของจักรวรรดิซอมอนีดก่อนหน้า พระองค์สถาปนรากฐานสำหรับรัฐเปอร์เซียในอนาคตที่ปัญจาบ โดยมีจุดศูนย์กลางที่ลาฮอร์ นครที่พระองค์พิชิต[4] เมืองหลวงของพระองค์ที่กัซนีพัฒนาไปเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การค้า และภูมิปัญญาที่สำคัญในโลกอิสลามจนเกือบเทียบเท่ากับนครแบกแดด เมืองหลวงนี้ดึงดูดบุคคลสำคัญมากมาย เช่น อัลบีรูนีกับเฟร์โดว์ซี[4]

แมฮ์มูดขึ้นครองราชย์ตอนพระชนมพรรษา 27 พรรษา[5] เมื่อพระราชบิดาสวรรคต แม้จัดขึ้นหลังสงครามสืบทอดราชบัลลังก์กับอีสมออีล พระอนุชา เพียงช่วงหนึ่ง พระองค์เป็นผู้ปกครององค์แรกที่ถือตำแหน่ง สุลต่าน บ่งบอกถึงขอบเขตอำนาจของพระองค์ ในขณะเดียวกันก็รักษาความเชื่อมโยงทางอุดมการณ์กับการมีอำนาจเหนือประเทศราชของเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์รุกรานและเข้าปล้นนครที่ร่ำรวยและเมืองที่ตั้งวิหารหลายแห่ง เช่น มถุราและโสมนาถในอินเดียสมัยกลางถึง 17 ครั้ง และใช้ทรัพย์สินที่ปล้นได้ไปสร้างเมืองหลวงของพระองค์ที่กัซนี[6][7]

พระราชสมภพและภูมิหลัง แก้

แมฮ์มูดเสด็จพระราชสมภพที่เมืองกัซนีในภูมิภาคซอบูลิสถาน (ปัจจุบันคือประเทศอัฟกานิสถาน) ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 971 แซบูกตีกีน พระราชบิดา เคยเป็นผู้บัญชาการทาสเติร์กที่วางรากฐานแก่ราชวงศ์แฆซแนวีดที่กัซนีใน ค.ศ. 977 ซึ่งพระองค์ปกครองภายใต้การปกครองของจักรวรรดิซอมอนีดที่ปกครองโฆรอซอนกับทรานโซเซียนา พระราชมาดาของแมฮ์มูดเป็นหญิงชาวอิหร่านจากตระกูลขุนนางผู้ครองที่ดินที่มั่งคั่งในภูมิภาคซอบูลิสถาน[8][9] ทำให้บางครั้งข้อมูลบางส่วนระบุตัวพระองค์เป็น Mahmud-i Zavuli ("แมฮ์มูดจากซอบูลิสถาน")[9] ไม่มีข้อมูลชีวิตช่วงแรกของแมฮ์มูดมาก นอกจากว่าพระองค์เป็นเพื่อนในชั้นเรียนและพี่/น้องชายบุญธรรมของแอฮ์แมด แมย์แมนดี ชาวเปอร์เซียในซอบูลิสถาน[10]

เหตุการณ์และความท้าทาย แก้

 
ซากโสมนาถมนเทียรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาพถ่ายโดย Henry Cousens

ใน ค.ศ. 1025 แมฮ์มูดเข้ารุกรานคุชราต ปล้นทรัพย์ในโสมนาถมนเทียรและทำลาย ชโยติรลึงค์ ของมณเทียร พระองค์ได้ทรัพย์สินที่ยึดมาถึง 2 ล้านดีนาร หลังการพิชิตโสมนาถจึงตามมาด้วยการรุกรานแบบลงโทษที่ Anhilwara[11][12][13] นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีบันทึกการแสวงบุญมนเทียรใน ค.ศ. 1038 ที่ไม่ได้กล่าวถึงความเสียหายต่อมนเทียร[14] อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาตำนานอันทรงพลังเกี่ยวกับการจู่โจมของแมฮ์มูดพร้อมรายละเอียดที่ซับซ้อนในวรรณคดีเติร์ก-เปอร์เซีย[15] ซึ่ง Meenakshi Jain นักวิชาการ ระบุว่า "สร้างความช็อก" ต่อโลกมุสลิม[16]

ประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับโสมนาถ แก้

ความท้าทายทางการเมือง แก้

สวรรคต แก้

สุลต่านแมฮ์มูดสวรรคตในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1030 สุสานของพระองค์ตั้งอยู่ที่กัซนี ประเทศอัฟกานิสถาน

มุมมองศาสนาและสงคราม แก้

ในรัชสมัยของแมฮ์มูดแห่งแฆซนี ภูมิภาคนี้แยกออกจากเขตอิทธิพลของซอมอนีด พระองค์ได้รับตำแหน่งสุลต่านเพื่อยอมรับการเป็นเอกราช โดยพระองค์ยอมรับให้อับบาซียะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์พอเป็นพิธี

หลังได้รับการรับรองจากรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ใน ค.ศ. 999 พระองค์ให้คำปฏิญาณ ญิฮาด และรุกรานอินเดียทุกปี[17] ใน ค.ศ. 1005 แมฮ์มูดนำการทัพหลายครั้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้นับถืออิสมาอีลียะฮ์แห่งมุลตานถูกสังหารหมู่[18]

หลังภารกิจญิฮาดต่อคนนอกศาสนาแห่งอินเดีย แมฮ์มูด แฆซนีไม่เพียงแต่ทำลายโสมนาถมนเทียรและปล้นทรัพย์สมบัติเท่านั้น แต่ยังฆ่าผู้ศรัทธาทุกคนในเมือง พระองค์ยังทำสิ่งเดียวกันกับผู้ศรัทธาหญิง ด้วยการฆ่าหรือลักพาตัวเพื่อไปขายในตลาดทาสที่อัฟกานิสถานในภายหลัง[19]

แมฮ์มูดใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจากการปล้นมาใช้เป็นเงินทุนแก่กองทัพ ซึ่งรวมทหารรับจ้างด้วย ทหารอินเดียที่ Romila Thapar คาดการณ์ว่าเป็นชาวฮินดู เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของกองทัพพร้อมผู้บังคับบัญชาที่มีชื่อว่า sipahsalar-i-Hinduwan และอาศัยอยู่ในย่านของตนเองที่กัซนี โดยยังคงนับถือศาสนาของตนเอง ทหารอินเดียที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ Suvendhray ยังคงจงรักษ์ภักดีต่อแมฮ์มูด มีการใช้พวกเขาในการปราบกบฏเติร์ก โดยบัยฮากีรายงานว่ามีการให้คำสั่งแก่ชาวฮินดูนามว่า Tilak [20]

Mohammad Habib นักประวัติศาสตร์อินเดีย ระบุว่า ในรัชสมัยแมฮ์มูดแห่งแฆซนี ไม่มีการจัดเก็บภาษีญิซยะฮ์แก่ "ผู้มิใช่มุสลิม" หรือการกล่าวถึง "การบังคับเข้ารีต" ใด ๆ:

การส่งทหารไปนอกดินแดนของพระองค์ (แมฮ์มูด) ต่ออินเดียไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยศาสนา แต่ด้วยความรักในการปล้นชิง[21]

เอ. วี. วิลเลียมส์ แจ็กสัน ศาสตราจารย์กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขียนไว้ในหนังสือ History of India ของเขาเองว่า "แมฮ์มูดสาบานว่าพระองค์จะก่อสงครามศักดิ์สิทธิ์กับพวกนอกศาสนาในฮินดูสถานทุกปี"[22] ในช่วงปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระองค์ เหรียญกษาปณ์ของแมฮ์มูดจากลาฮอร์ระบุตัวพระองค์เป็น "Mahmud but-shikan" (แมฮ์มูดผู้ทำลายรูปปั้น)[23]

พระบุคลิกภาพ แก้

 
พระบรมสาทิสลักษณ์ของแมฮ์มูดแห่งแฆซนีจากลำดับวงศ์ตระกูล Zübdet-üt Tevarih (ค.ศ. 1598)

สุลต่านแมฮ์มูดทรงคิดถึงพระองค์เองเป็น "เงาของพระผู้เป็นเจ้าบนโลก"[24] อำนาจเด็ดขาดซึ่งมีเจตจำนงเป็นกฎหมาย พระองค์ใส่ใจในรายละเอียดเกือบทุกอย่าง โดยส่วนพระองค์ดูแลงานของดีวาน (ฝ่ายบริหาร) ทุกแผนก[25]

แมฮ์มูดแต่งตั้งรัฐมนตรีด้วยตัวพระองค์เองทั้งหมดโดยไม่ปรึกษาวะซีร (หัวหน้าที่ปรึกษา) หรือดีวาน แม้ว่าบางครั้งพระองค์ต้องรับคำปรึกษา เนื่องจากศาสนาของพระองค์ระบุว่ามุสลิมควรปรึกษาหารือกันทุกประเด็น[26] ส่วนใหญ่พระองค์สงสัยต่อรัฐมนตรีหลายคน โดยเฉพาะวะซีร และเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า: "วะซีรเป็นศัตรูของกษัตริย์..."[26] สุลต่านแมฮ์มูดมีสายลับจำนวนมาก (เรียกว่า mushrifs) ทั่วจักรวรรดิที่อยู่ภายใต้การดูแลของดีวานแผนกพิเศษ[27]

แมฮ์มูดทรงเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณกรรม โดยเฉพาะบทกวี และบางครั้งก็จัดตั้งกลุ่มนักกวีที่มีพรสวรรค์ทั้งในพระราชวังของพระองค์หรือในสวนหลวง พระองค์มักใจกว้างต่อพวกเขา โดยจ่ายเงินให้ผลงานตามความสามารถและคุณค่าของพวกเขาอย่างไม่หยุดยั้ง[26]

อ้างอิง แก้

  1. "Maḥmūd | king of Ghazna". ArchNet (ภาษาอังกฤษ).
  2. Sharma, Ramesh Chandra (1994). The Splendour of Mathurā Art and Museum (ภาษาอังกฤษ). D.K. Printworld. p. 39. ISBN 978-81-246-0015-3.
  3. Grousset 1970, p. 146.
  4. 4.0 4.1 Meri 2005, p. 294.
  5. "Maḥmūd | king of Ghazni". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
  6. Heathcote 1995, p. 6.
  7. Anjum 2007, p. 234.
  8. Bosworth 1991, p. 65.
  9. 9.0 9.1 Bosworth 2012.
  10. Nazim & Bosworth 1991, p. 915.
  11. I. H. Qureshi et al., A Short History of Pakistan (Karachi Division (Pakistan): University of Karachi, 2000), (p.246-247)
  12. Yagnik & Sheth 2005, pp. 39–40.
  13. Thapar 2005, pp. 36–37.
  14. Thapar 2005, p. 75.
  15. Thapar 2005, Chapter 3.
  16. Meenakshi Jain (21 March 2004). "Review of Romila Thapar's "Somanatha, The Many Voices of a History"". The Pioneer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-12-15.
  17. Qassem 2009, p. 19.
  18. Virani 2007, p. 100.
  19. Mehta, Jaswant Lal (1979). Advanced Study in the History of Medieval India (ภาษาอังกฤษ). Sterling Publishers Pvt. Ltd. ISBN 978-81-207-0617-0.
  20. Romila Thapar (2005). Somanatha: The Many Voices of a History. Verso. p. 40. ISBN 9781844670208.
  21. Habib 1965, p. 77.
  22. A. V. Williams Jackson. "Chapter 2 – The Idol-Breaker – Mahmud of Ghazni – 997–1030 A.D."
  23. Andre Wink (1991). Al-Hind the Making of the Indo-Islamic World: The Slave Kings and the Islamic Conquest : 11Th-13th Centuries (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 321. ISBN 9004102361.
  24. Ibn Qutaiba, Uyunu'l-Akhbar, p.3
  25. Nazim 1931, p. 127.
  26. 26.0 26.1 26.2 Nazim 1931, p. 128.
  27. Nazim 1931, p. 144.

ข้อมูล แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้