ทิเบตันแมสติฟฟ์

(เปลี่ยนทางจาก แมสทิฟทิเบต)

ทิเบตันแมสติฟฟ์ (อังกฤษ: Tibetan Mastiff) เป็นสุนัขบ้านพันธุ์โบราณในวงศ์ Canis lupus familiaris ซึ่งกำเนิดในหมู่ชนร่อนเร่ทางเอเชียกลาง

ทิเบตันแมสติฟฟ์
ประเทศกำเนิด ทิเบต (จีน)
ประเทศผู้อุปถัมภ์ F.C.I.[1]
คุณสมบัติ
หมา (Canis lupus familiaris)

ชื่อ แก้

ทิเบตันแมสติฟฟ์มีชื่อภาษาถิ่นว่า "โทชี" (Do-khyi) ซึ่งมีผู้แปลไว้ต่าง ๆ กัน เช่น ผู้เฝ้าเรือน (home guard), ทวารบาล (door guard), สุนัขที่พึงล่ามไว้ (doc which may be tied) และสุนัขที่พึงคุมขังไว้ (doc which may be kept) ทั้งนี้ เพราะสุนัขชนิดนี้นิยมผูกหรือล่ามไว้กับสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้รักษาสถานที่เหล่านั้น

ส่วนชื่อ ทิเบตันแมสติฟฟ์ นั้นความจริงแล้วสุนัขนี้มิใช่พันธุ์แมสติฟฟ์ แต่ที่เรียกแมสติฟฟ์เพราะคำแมสติฟฟ์เดิมมีความหมายเพียงว่า "หมาใหญ่" อนึ่ง ยังมีสุนัขอื่น ๆ ที่ชาวตะวันตกตั้งชื่อให้ผิดจากความจริงในทำนองเดียวกันอีก เช่น ทิเบตันเทร์เรียร์ (Tibetan Terrier) ซึ่งมิใช่พันธุ์เทร์เรียร์ และทิเบตันสแปเนียล (Tibetan Spaniel) ซึ่งมิใช่พันธุ์สแปเนียล

ลักษณะ แก้

ปัจจุบัน ผู้เพาะพันธุ์แบ่งทิเบตันแมสติฟฟ์ออกเป็นสองประเภท คือ โทชี (Do-khyi) กับซังชี (Tsang-khyi) ประเภทหลังซึ่งชื่อมีความหมายว่า สุนัขจากซัง (dog from Tsang) นั้นบางทีก็เรียกว่า หมาวัด (monastery dog) มีกายสูงและหนักกว่าประเภทแรก ทิเบตันแมสติฟฟ์สูงราว 61 ถึง 72 เซนติเมตร แต่เพศผู้สามารถสูงได้ถึง 81.28 เซนติเมตร ส่วนน้ำหนักนั้นผู้เพาะพันธุ์ในตะวันตกวัดไว้ว่าประมาณ 47.6272 กิโลกรัมถึง 82 กิโลกรัม แต่ยิ่งตัวใหญ่ก็ยิ่งเลี้ยงยากเพราะค่าใช้จ่ายสูงและไม่รับกับความต้องการใช้งานเพียงในฐานะผู้รักษาปศุสัตว์

ส่วนลักษณะทางกายภาพนั้น ทิเบตันแมสติฟฟ์มีขนสองชั้นหลายสี ตั้งแต่สีดำ สีแทน สีแดง สีทองแดง ไปจนถึงสีเทา ทั้งขนยังไม่มีกลิ่นสาบสุนัขดังที่สุนัขพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ชนิดอื่น ๆ มักมี และโดยปรกติแล้ว ทิเบตันแมสติฟฟ์ผลัดขนในราวปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ แต่บางทีในปลายฤดูร้อนหรือต้นฤดูใบไม้ร่วงก็มี

ทิเบตันแมสติฟฟ์นั้นถือกันว่าเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ชั้นต้น เพราะอดทนอยู่รอดในสภาพภูมิประเทศทิเบต เนปาล อินเดีย และภูฏาน ที่เป็นแต่เขาสูงชันได้ นอกจากนี้ ทิเบตันแมสติฟฟ์ยังเป็นสุนัขพันธุ์เพียงไม่กี่ชนิดที่ติดสัดปีละครั้ง ต่างจากชนิดอื่น ๆ ที่เป็นปีละสองครั้ง โดยทิเบตันแมสติฟฟ์นั้นถึงฤดูผสมพันธุ์ในปลายหน้าใบไม้ร่วง เป็นเหตุให้มักตกลูกระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคม[2]

อ้างอิง แก้

  1. Fédération Cynologique Internationale Standard เก็บถาวร 2005-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน No. 230 of March 23, 2004, translated April 2, 2004, retrieved 2009-04-12 (อังกฤษ)
  2. "American Kennel Club - Tibetan Mastiff Did You Know?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-28. สืบค้นเมื่อ 2013-06-07.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้